ไทยไลอ้อนแอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยไลอ้อนแอร์
IATA ICAO รหัสเรียก
SL TLM MENTARI
ก่อตั้ง4 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (10 ปี)
ฐานการบิน
จุดหมาย50
บริษัทแม่ไลอ้อนแอร์
สำนักงานใหญ่กรุงเทพ, ประเทศไทย
บุคลากรหลักอัศวิน ยังกีรติวร (CEO)
เว็บไซต์www.lionairthai.com

ไทยไลอ้อนแอร์ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย[1] เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสายการบินไลอ้อนแอร์ ประเทศอินโดนีเซีย และกลุ่มนักธุรกิจชาวไทย[2] โดยเริ่มต้นเปิดให้บริการจากกรุงเทพ - ดอนเมือง[3] มีสำนักงานหลักที่เขตดอนเมือง กรุงเทพ[4]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ภายในประเทศ[แก้]

ภายในโบอิ้ง 737 ของไทยไลอ้อนแอร์

ระหว่างประเทศ[แก้]

เส้นทางที่เคยให้บริการ[แก้]

ฝูงบิน[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน[แก้]

ไทยไลอ้อนแอร์โบอิง 737-800
ไทยไลอ้อนแอร์โบอิง 737-900ER

ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 ไทยไลอ้อนแอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[5]

ฝูงบินไทยไลอ้อนแอร์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
โบอิง 737-800 14 189
โบอิง 737-900อีอาร์ 4 209
รวม 18 -

ไทยไลอ้อนแอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 8 ปี

ฝูงบินในอดีต[แก้]

ไทยไลอ้อนแอร์เคยใช้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:[6]

อดีตฝูงบินไทยไลอ้อนแอร์
อากาศยาน รวม ใช้งาน เกษียณ หมายเหตุ
เอทีอาร์ 72-600 1 2557 2557
แอร์บัส เอ330-300 3 2560 2563
แอร์บัส เอ330-900 4 2562 2563 ส่งคืนบริษัทแม่

อุบัติการณ์[แก้]

  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – ไทยไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 8537 เครื่องบินโบอิง 737-900ER ทะเบียน HS-LTL บินจากท่าอากาศยานหาดใหญ่ ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง นักบินผู้ช่วยเกิดหมดสติ กัปตันจึงบินกลับมาลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานหาดใหญ่ เพื่อให้นำตัวนักบินผู้ช่วยส่งโรงพยาบาล แต่เขาก็ได้เสียชีวิตลงในที่สุด[7][8]
  • 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 – ไทยไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 8531 เครื่องบินโบอิ้ง 737-900ER บินจากท่าอากาศยานหาดใหญ่ ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง ระหว่างจะเตรียมนำเครื่องขึ้น ล้อด้านหนึ่งตกจากขอบรันเวย์ ลงไปบนพื้นผิวลาดยางมะตอยที่ไม่แข็งเท่าพื้นผิวรันเวย์ที่เป็นคอนกรีต แล้วพื้นเกิดทรุดตัวแตกร้าว ทำให้ล้อเครื่องบินติดหล่ม ต้องกู้เครื่องบินโดยดึงลากเครื่องบินให้พ้นจากร่องที่ล้อจมลงไป เที่ยวบินล่าช้าประมาณ 2 ชั่วโมง[9]
  • 10 เมษายน พ.ศ. 2559 – ไทยไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 539 เครื่องบินโบอิง 737-900ER ทะเบียน HS-LTM บินจากท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง หลังจากออกบินไปได้ประมาณ 20 นาที เกิดระบบความดันอากาศในห้องโดยสารขัดข้อง ทำให้ผู้โดยสารหายใจลำบาก และหน้ากากออกซิเจนบนแผงเหนือศีรษะผู้โดยสารตกลงมา กัปตันตัดสินใจบินมาลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีผู้โดยสารหมดสติ 2 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต[10][11]
  • 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 – ไทยไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 722 จากท่าอากาศยานดอนเมืองไปหาดใหญ่ เครื่องยนต์ขัดข้อง ต้องเปลี่ยนเป็นเครื่องบินอีกลำหนึ่งบินแทน เป็นเหตุให้เที่ยวบินล่าช้าไปเกือบ 4 ชั่วโมง[12]
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2559 – ไทยไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 525 จากเชียงใหม่ไปดอนเมือง ยกเลิกการบินขึ้นกะทันหันและเลี้ยวกลับไปจอดซ่อม ภายหลังตรวจสอบพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาณไฟบางส่วนของเครื่องบิน เครื่องล่าช้า 1 ชั่วโมง[13]
  • 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 – ไทยไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 621 เครื่องบินโบอิง 737-900ER จากท่าอากาศยานอุบลราชธานีไปดอนเมือง เครื่องยนต์ขวาขัดข้อง ต้องซ่อม เป็นเหตุให้เที่ยวบินล่าช้า[14]
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2560 – ไทยไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 620 เครื่องบินโบอิง 737-800 ทะเบียน HS-LUJ บินจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปยังท่าอากาศยานอุบลราชธานี หลังจากออกบินไปได้ไม่นานเกิดมีปัญหาความดันอากาศในห้องโดยสาร ทำให้ผู้โดยสารหายใจลำบาก และหน้ากากออกซิเจนบนแผงเหนือศีรษะผู้โดยสารตกลงมา กัปตันตัดสินใจบินกลับมาลงจอดฉุกเฉินที่ดอนเมืองและเปลี่ยนเป็นเครื่องบินอีกลำหนึ่งแทน[15] รวมเวลาเที่ยวบินล่าช้า 2 ชั่วโมงครึ่ง
  • 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 – ไทยไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 515 เครื่องบินโบอิง 737 Max 9 ทะเบียน HS-LSI จากท่าอากาศยานเชียงใหม่ไปดอนเมือง หลังจากออกบินไปได้ไม่นานเกิดมีเสียงดังคล้ายระเบิดสองครั้งจากบริเวณเครื่องยนต์ กัปตันตัดสินใจบินกลับมาลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และเปลี่ยนเป็นเครื่องบินลำอื่นบินแทน[16]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Lion Air new Thailand affiliate plans late 2013 launch, providing new competition for AirAsia & Nok".
  2. "Lion Air Sees 32m Passengers This Year on Rising Incomes - Jakarta Globe". 25 September 2013.
  3. Limited, Bangkok Post Public Company. "Lion Air to launch Thai subsidiary".
  4. "Contact." Thai Lion Air. Retrieved on 12 April 2014. "Head Office Address: 89/46 Vibhavadi Rangsit Road, Sanambin Sub-District, Don Mueang District, Bangkok 10210, Thailand" and " Airport Office Address: Room 4313A, 4th floor, Terminal 1 Building, Don Mueang International Airport 222 Vibhavadi Rangsit Road, Sanambin Sub-District, Don Mueang District, Bangkok 10210, Thailand" - Addresses in Thai: "สำนักงานใหญ่ 89/46 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210" and " สำนักงานท่าอากาศยานดอนเมือง: ห้อง 4313A ชั้น 4 อาคารผู้โดยสาร 1 ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เลขที่ 222 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210"
  5. "Please refresh this page | Planespotters.net". www.planespotters.net.
  6. "Thai Lion Air Fleet in Planespotters.net". planespotters.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2018. สืบค้นเมื่อ 2015-06-16.
  7. "ร่อนจอดฉุกเฉิน 'ไทยไลอ้อนแอร์' นักบินผู้ช่วยหมดสติ". ไทยรัฐ. 2014-08-20. สืบค้นเมื่อ 2017-05-27.
  8. http://avherald.com/h?article=47918717&opt=0
  9. "ระทึก! ล้อเครื่องบินไลออนแอร์ ตกร่องรันเวย์ หาดใหญ่". ไทยรัฐ. 2015-05-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-05.
  10. "ไลอ้อนแอร์ จอดฉุกเฉินเชียงใหม่ ความดันอากาศขัดข้อง ผู้โดยสารเป็นลม 2 ราย". ไทยรัฐ. 2016-04-10. สืบค้นเมื่อ 2017-05-27.
  11. http://avherald.com/h?article=496b17e6&opt=0
  12. "ไลอ้อนแอร์แจงปม เที่ยวบินหาดใหญ่ ดีเลย์เกือบ 4 ชั่วโมง". สนุกดอตคอม. 2016-05-22. สืบค้นเมื่อ 2017-06-02.
  13. "ไทยไลอ้อนแอร์ทำเสียว! กัปตันยกเครื่องไม่ขึ้น จอดซ่อมนานกว่า 1 ชม". เนชั่นทีวี. 2016-09-24. สืบค้นเมื่อ 2017-05-27.
  14. "ไลอ้อนแอร์เครื่องขัดข้อง จากอุบลฯ บินไปดอนเมืองไม่ได้ ผู้โดยสารรออื้อ". ไทยรัฐ. 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-27.
  15. "กัปตัน "ไทยไลอ้อนแอร์" ย้ำไม่มีใครอยากให้เกิด เหตุเที่ยวบินไปอุบลฯ ขัดข้องเพราะความกดอากาศต่ำ". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-09-20. สืบค้นเมื่อ 2017-10-07.
  16. "จอดฉุกเฉิน!! เครื่องไลอ้อนแอร์เสียงดังบึม กำลังบินไปดอนเมือง". ไทยรัฐ. 2018-05-12. สืบค้นเมื่อ 20187-05-19. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]