เทศบาลนครนครราชสีมา
เทศบาลนครนครราชสีมา | |
---|---|
(จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา) อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา, เดอะมอลล์ โคราช, ประตูเมือง, และสถานีรถไฟนครราชสีมา | |
สมญา: โคราช | |
พิกัด: 14°58′N 102°6′E / 14.967°N 102.100°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
อำเภอ | เมืองนครราชสีมา |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ประเสริฐ บุญชัยสุข (ตั้งแต่ พ.ศ. 2564) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 37.50 ตร.กม. (14.48 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2560)[1] | |
• ทั้งหมด | 129,680 คน |
• ความหนาแน่น | 3,458.13 คน/ตร.กม. (8,956.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03300102 |
สนามบิน | ท่าอากาศยานนครราชสีมา |
ทางหลวง | |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา เลขที่ 635 ถนนโพธิ์กลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 |
เว็บไซต์ | www |
นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดให้เป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์กลางการค้า การพาณิชย์ การคมนาคมทางบก และอุตสาหกรรม โดยปี พ.ศ. 2560 ในเขตเทศบาลมีประชากรจำนวน 129,680 คน[1]
ประวัติ
[แก้]เมืองนครราชสีมาเดิมเป็นแคว้นศรีจนาศะหรือเมืองเสมา ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้ย้ายเมืองมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นในพื้นที่ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2217 โดยสร้างให้มีป้อมปราการ และคูน้ำล้อมรอบ แล้วพระราชทานนามว่า "เมืองนครราชสีมา"
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงจัดแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งมณฑลนครราชสีมาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2436 เป็นมณฑลแรกของประเทศสยาม จากนั้นได้มีพระบรมราชโองการให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล รศ.127 กับตำบลโพกลาง (โพธิ์กลาง) ขึ้นในมณฑลนครราชสีมา จึงกลายเป็น "สุขาภิบาลเมืองนครราชสีมา" เมื่อที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2451[2]
และในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศจากกระทรวงมหาดไทยให้รวมตำบลในเมืองในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมาเข้าอยู่ในสุขาภิบาลเมืองด้วยอีกตำบลหนึ่ง[3] และได้พระราชทานเงินภาษีโรงร้าน ยานพาหนะ และค่าเช่าที่ดิน ต่าง ๆ ที่เก็บจากตำบลในเมือง ให้รวมเข้าเป็นผลประโยชน์สำหรับใช้จ่ายในการบำรุงสุขาภิบาลเมืองนครราชสีมาต่อไปอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีตราพระราชกฤษฎีกาเทศบาลขึ้น จึงมีผลให้มีการพิจารณายกฐานะสุขาภิบาลเมืองนครราชสีมาขึ้นเป็น "เทศบาลเมืองนครราชสีมา"[4] เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2478 สุขาภิบาลเมืองนครราชสีมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเทศบาลเมืองนครราชสีมา
เทศบาลเมืองนครราชสีมาได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2480 [5]มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4.397 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้ขยายเป็น 37.50 ตารางกิโลเมตร[6] มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา และจัดตั้งเป็น "เทศบาลนครนครราชสีมา" [7] เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538
ภูมิศาสตร์
[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เทศบาลนครนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 37.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,430 ไร่ 2 งาน หรือประมาณร้อยละ 4.96 ของพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 755.596 ตารางกิโลเมตร) หรือประมาณร้อยละ 0.18 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,493.9 ตารางกิโลเมตร)
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลบ้านใหม่ เทศบาลตำบลปรุใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจะบก องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย์ และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลปรุใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจะบก เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม และเทศบาลตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลบ้านใหม่ และเทศบาลตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา
ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]ตำแหน่งของเทศบาลนครนครราชสีมาอยู่ระหว่างละติจูดที่ 14–16 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101–103 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150–300 เมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ 259 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ 264 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางทางเครื่องบินประมาณ 30 นาที ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลาดเอียงไปทาง ทิศตะวันออกตอนเหนือ ของตัวเมืองเป็นที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ราบสูง
สภาพภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครนครราชสีมา | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 30.9 (87.6) |
33.6 (92.5) |
35.8 (96.4) |
36.6 (97.9) |
35.1 (95.2) |
34.4 (93.9) |
33.9 (93) |
33.2 (91.8) |
32.2 (90) |
30.9 (87.6) |
29.7 (85.5) |
29.1 (84.4) |
33.0 (91.4) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 24.4 (75.9) |
27.1 (80.8) |
29.3 (84.7) |
30.6 (87.1) |
29.9 (85.8) |
29.6 (85.3) |
29.1 (84.4) |
28.7 (83.7) |
28.0 (82.4) |
26.9 (80.4) |
25.1 (77.2) |
23.4 (74.1) |
27.68 (81.82) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 17.9 (64.2) |
20.5 (68.9) |
22.8 (73) |
24.5 (76.1) |
24.7 (76.5) |
24.8 (76.6) |
24.3 (75.7) |
24.2 (75.6) |
23.7 (74.7) |
22.9 (73.2) |
20.5 (68.9) |
17.6 (63.7) |
22.4 (72.3) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 5.9 (0.232) |
17.8 (0.701) |
37.1 (1.461) |
63.5 (2.5) |
140.5 (5.531) |
108.3 (4.264) |
113.7 (4.476) |
146.2 (5.756) |
221.6 (8.724) |
143.4 (5.646) |
27.3 (1.075) |
18.3 (0.72) |
1,044.0 (41.102) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 0.9 | 2.2 | 5.1 | 7.7 | 13.8 | 13.3 | 13.5 | 16.4 | 18.1 | 12.2 | 4.0 | 0.7 | 107.9 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 285.2 | 248.6 | 254.2 | 249.0 | 238.7 | 210.0 | 195.3 | 186.0 | 168.0 | 232.5 | 258.0 | 282.1 | 2,807.6 |
แหล่งที่มา 1: World Weather Information Service [8] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory.[9] |
ประชากร
[แก้]ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2537 | 185,423 | — |
2540 | 175,956 | −5.1% |
2543 | 174,057 | −1.1% |
2546 | 173,123 | −0.5% |
2549 | 148,609 | −14.2% |
2552 | 143,475 | −3.5% |
2555 | 137,579 | −4.1% |
2558 | 133,005 | −3.3% |
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
ประชากรในฐานข้อมูลทะเบียนท้องถิ่นเขตเทศบาลนครนครราชสีมา (ธันวาคม 2556) มีจำนวน 136,153 คน[10] เป็นหญิง 72,134 คน เป็นชาย 64,019 คน จำนวนบ้านเรือน 33,344 หลังคาเรือน เมื่อ เปรียบเทียบอัตราส่วนความหนาแน่นประชากรต่อพื้นที่รวมทั้งสิ้น ประมาณ 3,684 คนต่อตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่นหรืออพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง บางส่วนใช้ภาษาไทยโคราชซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาพูด
ปัจจุบันจำนวนประชากรมีแนวโน้มลดลงทุกปี เนื่องจากโครงการที่พักอาศัยได้ขยายตัวออกไปนอกเขตเทศบาล และยังมีประชากรแฝง (รวมพื้นที่โดยรอบนอกเขตเทศบาล) ถึงในอนาคต ประมาณ 450,000-500,000 คน หรือเข้ามาใช้บริการในเขตเมืองในเวลากลางวัน แล้วอพยพออกไปในเวลากลางคืนประมาณ 200,000-400,000 คนต่อวัน[ต้องการอ้างอิง]
ศาสนา
[แก้]ในนครนครราชสีมา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 98 ที่เหลือร้อยละ 2 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม
การศึกษา
[แก้]- สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา[11]
- โรงเรียนสังกัดเทศบาล จำนวน 6 โรง
- สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 แห่ง
- ระดับประถมศึกษา จำนวน 13 แห่ง
- ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 3 แห่ง คือ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย (โรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัด) โรงเรียนสุรนารีวิทยา (โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด) โรงเรียนบุญวัฒนา (โรงเรียนสหศึกษา)
- มหาวิทยาลัยราชภัฏ 1 แห่ง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 1 แห่ง
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2 แห่ง
- กรมการศาสนา 1 แห่ง
- การศึกษาเอกชน 25 แห่ง
- กระทรวงสาธารณสุข 1 แห่ง
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 1 แห่ง
- มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 1 แห่ง (เอกชน)
สาธารณสุข
[แก้]เทศบาลนครนครราชสีมา มีสถานบริการด้านสาธารณสุข 4 แห่ง คือ
- ศูนย์บริการสาธารณสุขโพธิ์กลาง ตั้งอยู่ที่กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม
- ศูนย์บริการสาธารณสุขทุ่งสว่าง
- ศูนย์บริการสาธารณสุขสวนพริกไทย
- ศูนย์บริการสาธารณสุขหนองบัวรอง
นอกเหนือจากศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลแล้ว ในเขตเทศบาลยังมีหน่วยงานทั้งของภาครัฐและ เอกชนที่ให้บริการทางด้านสาธารณสุข คือ
- โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 1 แห่ง 1,619 เตียง
เป็นโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ 1 แห่ง 300 เตียง
- โรงพยาบาลเอกชน 6 แห่ง 710 เตียง
- สถานประกอบการ ประเภท เวชกรรมชนิดมี และ ไม่มีเตียง, แผนโบราณ, ทันตกรรม ชั้น 1 และ 2, ผดุงครรภ์ชั้น 1, กายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์) 120 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1 แห่ง
- สถานีกาชาด 1 แห่ง
เศรษฐกิจ
[แก้]- การพาณิชยกรรม แหล่งพาณิชยกรรมจะอยู่ในบริเวณใจกลางเมืองริมถนนสายสำคัญต่างๆ
- การเกษตรกรรม พื้นที่การเกษตรภายในเขตเทศบาล ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณรอบๆ เมืองทางทิศเหนือ เลียบฝั่งลำตะคอง
- การอุตสาหกรรม มีการประกอบการเป็นโรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาด ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาด เล็ก-ขนาดกลาง มีอยู่ประมาณ 400 โรง เช่น ทำกุนเชียง การทำเส้นก๋วยเตี๋ยว ทำลูกชิ้น เชื่อมโลหะ ปะยาง ประกอบตัวถังรถยนต์ ซ่อมเครื่องยนต์ ทำไอศกรีม เป็นต้น
- ศูนย์การค้า เทศบาลนครนครราชสีมา มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง คือ เดอะมอลล์ โคราช เทอร์มินอล 21 โคราช และเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา
การขนส่ง
[แก้]ถนน
[แก้]เนื่องจากเป็นชุมชนเมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณประตูเข้า-ออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงสามารถติดต่อ จังหวัดต่างๆ ที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก (พื้นที่โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกหรืออีเอสบี) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว ถนนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจำแนกออกเป็นถนนสายหลักและสายย่อย ถนนสายหลักยังจำแนกออกเป็นถนนสายประธาน และสายกระจายรูปแบบ โครงข่ายถนนแบ่งได้เป็น 2 ส่วน
- ส่วนที่ 1 เป็นโครงข่ายถนนในบริเวณเมืองเก่า ซึ่งอยู่ในบริเวณคูเมืองล้อมรอบทั้งหมดเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบตาราง ถนนส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ดี ได้แก่ ถนนอัษฎางค์ ถนนราชนิกูล ถนนกำแหงสงคราม ถนนสรรพสิทธิ์ ถนนช้างเผือก ถนนราชดำเนิน ถนนเบญจรงค์ ถนนประจักษ์ และถนนกุดั่น ฯลฯ
- ส่วนที่ 2 เป็นโครงข่ายถนนในส่วนขยายของตัวเมืองทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเก่า มีถนนทางหลวงแผ่นดิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุรนารายณ์ ถนนราชสีมา-โชคชัย ถนนปักธงชัยตัดผ่าน และมีถนน ตรอก ซอย ต่างๆ หลายสายจาก เมืองเชื่อม ได้แก่ ถนนมุขมนตรี ถนนสืบศิริ ถนนสุรนารี ถนนโพธิ์กลาง ถนนจอมสุรางค์ยาตร
บริการขนส่งสาธารณะ
[แก้]- การบริการขนส่งโดยสารทางรถยนต์ระหว่างอำเภอและจังหวัดต่าง ๆ
- มีทั้งรถตู้ รถสองแถว รถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศให้บริการ รับ-ส่ง ผู้โดยสารตลอดวัน โดยมีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 2 แห่ง
สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ให้บริการ ประกอบไปด้วย
- ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 24 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
- พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 6,194 ตารางเมตร
- ห้องสุขา จำนวน 25 ห้อง (ห้องสุขาชาย 15 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 10 ห้อง)
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 6 เครื่อง
ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 730,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 50,000 คน/วัน หรือประมาณ 18,000,000 ล้านคน/ปี
สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ประกอบด้วย
- ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 111 ช่องจอด พื้นที่ 17,760 ตารางเมตร
- พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 28,416 ตารางเมตร
- ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 250 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 1,100 คัน
- ห้องสุขา จำนวน 76 ห้อง (ห้องสุขาชาย 24 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 52 ห้อง)
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 68 เครื่อง
ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,300 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 470,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 30,000 คน/วัน หรือประมาณ 11,000,000 ล้านคน/ปี
- การบริการขนส่งสาธารณะทางรถยนต์โดยสารประจำทางในเขตเทศบาล
- รถยนต์โดยสารประจำทาง และ รถโดยสารขนาดเล็ก ( รถสองแถว ) มีเส้นทางเดินรถ 22 เส้นทาง จากจำนวน 20 สาย
- รถสามล้อ มีทั้งรถสามล้อเครื่อง และรถสามล้อถีบรับจ้าง ให้บริการตามเส้นทางในตัวเมือง
- รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
- รถแท็กซี่มิเตอร์ (TAXI METER) มีจุดจอดรถอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2
ทางรถไฟ
[แก้]ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา มีสถานีรถไฟสำคัญ 2 แห่ง คือ
- สถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดและใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่บริเวณถนนมุขมนตรี
- สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ เป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดและความสำคัญรองลงมาจากสถานีนครราชสีมา ตั้งอยู่บริเวณถนนจิระ
ทั้งสองสถานีมีขบวนรถผ่านขึ้น-ล่อง วันละกว่า 60 ขบวน โดยมีเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่าน 2 สาย คือ
- สายกรุงเทพ - อุบลราชธานี ผ่านอำเภอปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน เมือง จักราชและห้วยแถลง ความยาวประมาณ 575 กิโลเมตร
- สายกรุงเทพ - หนองคาย ผ่านอำเภอปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน เมือง โนนสูง คง บ้านเหลื่อม (สายลำนารายณ์) บัวใหญ่และบัวลาย ความยาวประมาณ 624 กิโลเมตร
สถานที่สำคัญ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครนครราชสีมา ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลในตำบลโพกลาง มณฑลนครราชสีมา, ๒๔๕๑, เล่มที่ ๒๕ ตอนที่ ๔๐ ฉบับเพิ่มเติม, หน้า ๑๑๘๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ประกาศรวมตำบลในเมือง ท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา เข้าอยู่ในสุขาภิบาลเมือง, ๒๔๕๙, เล่มที่ ๓๓ , หน้า ๒๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พุทธศักราช 2478, ๒๔๗๘, เล่มที่ ๕๒ , หน้า ๑๖๗๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลเมืองนครราชสีมา (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2480, ๒๔๘๐, เล่มที่ ๕๔ , หน้า ๑๗๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2525, ๒๕๒๕, เล่มที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๙๗, ฉบับพิเศษ หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2538, ๒๕๓๘, เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๔๐ ก, หน้า ๓๓
- ↑ "World Weather Information Service - Nakhon Ratchasima". สืบค้นเมื่อ 2012-03-29.
- ↑ Climatological Information for Nakhon Ratchasima, Thailand เก็บถาวร 2012-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed 29 March 2012.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-14. สืบค้นเมื่อ 2014-03-10.
- ↑ "สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 2011-01-26.
- ↑ "โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-25. สืบค้นเมื่อ 2009-11-07.
- ↑ โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย)
- ↑ โรงเรียนเทศบาล 3 (ยมราชสามัคคี)
- ↑ "โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-13. สืบค้นเมื่อ 2009-11-07.
- ↑ "โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดจิตตสามัคคี) ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-14. สืบค้นเมื่อ 2009-11-07.
- ↑ "โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-17. สืบค้นเมื่อ 2009-11-07.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์เทศบาลนครนครราชสีมา
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เก็บถาวร 2007-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์จังหวัดนครราชสีมา เก็บถาวร 2003-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน