เทศบาลนครแม่สอด
เทศบาลนครแม่สอด | |
---|---|
จากซ้ายบนไปล่างขวา: สำนักงานเทศบาลนครแม่สอด, วัดชุมพลคีรี, ถนนบัวคูณ, ถนนอินทรคีรี, และภาพถ่ายมุมสูง | |
คำขวัญ: แม่สอดเมืองน่าอยู่ ประตูการท่องเที่ยวชายแดน เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง แหล่งการค้าอัญมณี | |
พิกัด: 16°42′47″N 98°34′29″E / 16.71306°N 98.57472°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 16°42′47″N 98°34′29″E / 16.71306°N 98.57472°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ตาก |
อำเภอ | แม่สอด |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ประเสริฐ ปวงละคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 27.2 ตร.กม. (10.5 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2560)[1] | |
• ทั้งหมด | 39,261[# 1] คน |
• ความหนาแน่น | 1,443.41 คน/ตร.กม. (3,738.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03630601 |
สนามบิน | ท่าอากาศยานแม่สอด |
ทางหลวง | ![]() ![]() |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครแม่สอด เลขที่ 99/99 ถนนสายเอเชีย ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110 |
โทรศัพท์ | 0 5554 7449 |
โทรสาร | 0 5553 1434 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
เทศบาลนครแม่สอด เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลนคร ตั้งอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จัดตั้งเป็นเทศบาลนครขึ้นในปี พ.ศ. 2553 เป็นเทศบาลนครที่มีประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย
ประวัติ[แก้]
เทศบาลนครแม่สอด แต่เดิมก่อนปี พ.ศ. 2480 มีฐานะการปกครองท้องถิ่นโดยขึ้นอยู่กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีที่ว่าการอำเภอและหน่วยงานของแผนกต่าง ๆ คือ แผนกมหาดไทย แผนกที่ดิน แผนกสัสดี แผนกคลัง แผนกศึกษาธิการ แผนกสรรพสามิต แผนกสรรพากร แผนกอัยการ และมีหน่วยงานที่เป็นเอกเทศอีก คือ สถานีตำรวจภูธร และสถานีวิทยุอุตุนิยม ต่อมามีประชากรแน่นหนา มีจำนวนพลเมืองในท้องถิ่นสมัยนั้นประมาณ 12,000 คนเศษ จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2480 มีอาณาเขตในการปกครองสมัยนั้น มีเนื้อที่ 480 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนหมู่บ้าน 27 หมู่บ้าน
ต่อมาโดยคณะเทศมนตรี และด้วยความเห็นชอบของอำเภอและจังหวัดได้พิจารณาเห็นว่าเขตเทศบาลกว้างขวางมากเกินไปไม่สามารถที่จะปกครองดูแลทำนุบำรุงได้ทั่วถึง จึงพิจารณาของเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลให้เล็กลงมาอีกเพื่อเหมาะสมกับกำลังเงิน รายได้ ของท้องถิ่นที่จะทำการปกครองดูแลและทำนุบำรุงท้องถิ่นได้ทั่วถึง จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล เมื่อปี พ.ศ. 2492 ลงเหลือพื้นที่การปกครอง 27.2 ตารางกิโลเมตร และ ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมืองแม่สอด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยว่า เทศบาลเมืองแม่สอด มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป[# 1] ทั้งมีรายได้ควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 และเข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.เทศบาล มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2496 สมควรให้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาล "นครแม่สอด" ตามเจตนารมณ์ของท้องถิ่น อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 และมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.เทศบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปลี่ยนแปลงเทศบาลเมืองแม่สอดเป็น "เทศบาลนครแม่สอด"[2]
สำนักงานเทศบาล[แก้]
อาคารสำนักงานเทศบาลตำบลแม่สอด ในระยะเริ่มแรกได้ทำการเช่าอาคารของเอกชนเพื่อใช้เป็นสำนักงานเทศบาล ตั้งอยู่ที่ถนนอินทรคีรี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 กิจการบริหารของท้องถิ่นได้เจริญขึ้น ทำให้อาคารสถานที่คับแคบไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติราชการ จึงได้ย้ายตัวอาคารสำนักงานเทศบาลโดยเช่าอาคารของเอกชนเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น กว้างขวางกว่าเดิมเหมาะสมกับการใช้เป็นอาคารสำนักงาน อยู่จุดกลางตลาด เป็นที่ชุมชน ตั้งอยู่ที่ริมถนนศรีพานิช
ในปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายอาคารสำนักงานเทศบาลไปเช่าอาคารเอกชนและเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ตั้งอยู่ที่ริมถนนประสาทวิถี ติดกับโรงเรียนรัฐบาล (โรงเรียนแม่สอดสรรพวิทยาคม) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2495 เทศบาลได้จัดซื้อที่ดินจากกระทรวงมหาดไทย มีเนื้อที่ 1,512 ตารางเมตร ดำเนินการก่อสร้างอาคารไม้ชั้นเดียวตามแบบแปลนของกรมโยธาธิการ แบบที่ 503 งบประมาณค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 59,900 บาท
ต่อมาได้มีการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีกจำนวน 15 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา ตั้งอยู่ใกล้ถนนสายเอเชียและเยื้องกับโรงเรียนเทศบาลวัดชุมพลคีรี พร้อมทั้งก่อสร้างสำนักงานเทศบาลหลังใหม่ เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท เทศบาลยังได้รับความร่วมมือจาก นางอะมีนา คาตูน ได้อุทิศที่ดินซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินที่สำนักงานใหญ่แห่งนี้เพิ่มอีกประมาณ 4 ไร่ เพื่อสมทบเป็นที่ก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลด้วย
ภูมิศาสตร์[แก้]
แม่สอดมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา ทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาถนนธงชัย ภายในเขตเทศบาลมีลำห้วยแม่สอดไหลผ่านตัวเมือง
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เทศบาลนครแม่สอด ตั้งอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีพื้นที่ประมาณ 27.2 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 17,000 ไร่ มีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดตาก ประมาณ 87 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 509 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลต่าง ๆ คือ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ
- ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตาว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ และองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าสายลวด
ภูมิอากาศ[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครแม่สอด (2524–2553) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 35.4 (95.7) |
38.5 (101.3) |
40.3 (104.5) |
41.1 (106) |
41.6 (106.9) |
36.6 (97.9) |
35.6 (96.1) |
35.4 (95.7) |
35.8 (96.4) |
38.7 (101.7) |
36.5 (97.7) |
35.7 (96.3) |
41.6 (106.9) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.6 (88.9) |
34.0 (93.2) |
35.8 (96.4) |
36.8 (98.2) |
34.1 (93.4) |
31.4 (88.5) |
30.5 (86.9) |
30.3 (86.5) |
31.5 (88.7) |
32.2 (90) |
31.5 (88.7) |
30.4 (86.7) |
32.5 (90.5) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 22.4 (72.3) |
24.5 (76.1) |
27.2 (81) |
29.1 (84.4) |
27.9 (82.2) |
26.3 (79.3) |
25.8 (78.4) |
25.6 (78.1) |
26.2 (79.2) |
26.1 (79) |
24.4 (75.9) |
22.0 (71.6) |
25.6 (78.1) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 15.3 (59.5) |
16.7 (62.1) |
19.8 (67.6) |
23.1 (73.6) |
23.9 (75) |
23.6 (74.5) |
23.2 (73.8) |
23.1 (73.6) |
23.2 (73.8) |
22.3 (72.1) |
19.2 (66.6) |
15.5 (59.9) |
20.7 (69.3) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 7.6 (45.7) |
9.4 (48.9) |
11.8 (53.2) |
17.6 (63.7) |
19.5 (67.1) |
21.5 (70.7) |
20.9 (69.6) |
20.6 (69.1) |
19.3 (66.7) |
15.3 (59.5) |
8.4 (47.1) |
4.5 (40.1) |
4.5 (40.1) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 1.7 (0.067) |
8.2 (0.323) |
15.5 (0.61) |
44.8 (1.764) |
174.2 (6.858) |
255.4 (10.055) |
329.0 (12.953) |
321.7 (12.665) |
185.4 (7.299) |
102.1 (4.02) |
23.7 (0.933) |
5.9 (0.232) |
1,467.6 (57.78) |
ความชื้นร้อยละ | 72 | 64 | 61 | 64 | 76 | 84 | 86 | 87 | 85 | 82 | 77 | 74 | 76 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 0.6 | 0.8 | 2.0 | 5.2 | 17.0 | 25.1 | 26.7 | 26.6 | 20.5 | 12.2 | 3.2 | 0.8 | 140.7 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 275.9 | 259.9 | 275.9 | 243.0 | 158.1 | 57.0 | 58.9 | 58.9 | 108.0 | 179.8 | 219.0 | 275.9 | 2,170.3 |
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา[3] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Office of Water Management and Hydrology, Royal Irrigation Department (แสงอาทิตย์และความชื้น)[4] |
ดวงตราเทศบาล[แก้]
ดวงตราเทศบาลเป็นรูปประตูเมือง เพราะตามประวัติศาสตร์นั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาตีประเทศไทยผ่านทางอำเภอแม่สอด ซึ่งเป็นเมืองด่านหน้า รับข้าศึกที่ด่านแม่ละเมา ด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์เทศบาลจึงได้กำหนดดวงตราเป็นรูปประตูเมือง เพื่อแสดงว่าครั้งหนึ่งเมืองแม่สอด เป็นเมืองหน้าด่านของประเทศไทยในการป้องกันการรุกรานจากประเทศพม่า
การศึกษา[แก้]
|
|
การขนส่ง[แก้]
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายแม่สอด–มุกดาหาร ส่วนหนึ่งของถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และทางหลวงเอเชียสาย 1
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 สายแม่สอด–แม่สะเรียง เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่ทางแยกหน้าสำนักงานเทศบาลนครแม่สอด
- ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด เป็นท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่ในตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (นอกเขตเทศบาลนครแม่สอด)
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 ขณะที่กำลังยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนคร ในเขตเทศบาลเมืองแม่สอดมีจำนวนราษฎรเฉพาะจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร (ของกรมการปกครอง) ไม่ถึงเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ แต่มีการตีความหมายของคำว่า "ราษฎร" ในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลอย่างถูกกฎหมายด้วย เป็นผลให้มีจำนวน "ราษฎร" ทั้งหมดเกินห้าหมื่นคน ประกอบกับมีการพิจารณาความเหมาะสมด้านอื่น ๆ แล้วเข้าเกณฑ์ที่จะยกฐานะเป็นเทศบาลนครได้ [1] ในที่นี้จะระบุจำนวนราษฎรตามฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเท่านั้น เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกับข้อมูลของเทศบาลนครแห่งอื่น ๆ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครแม่สอด ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเทศบาลนครแม่สอด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2012-07-10.
- ↑ "Climatological Data for the Period 1981–2010". กรมอุตุนิยมวิทยา. p. 5. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
- ↑ "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF). Office of Water Management and Hydrology, Royal Irrigation Department. p. 28. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แม่สอด
- http://www.nakhonmaesotcity.go.th เว็บไซต์เทศบาลนครแม่สอด