อำเภอห้วยแถลง
อำเภอห้วยแถลง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Huai Thalaeng |
คำขวัญ: หลวงพ่อศรี มัดหมี่สวย กล้วยน้ำว้า แหล่งปลูกงา ขาหมูใหญ่ ไก่อบฟาง | |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอห้วยแถลง | |
พิกัด: 14°59′54″N 102°38′18″E / 14.99833°N 102.63833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 495.2 ตร.กม. (191.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 76,291 คน |
• ความหนาแน่น | 154.06 คน/ตร.กม. (399.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30240 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3016 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอห้วยแถลง ถนนประชาชื่น ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ห้วยแถลง เป็นอำเภอหนึ่งทางทิศตะวันออกของจังหวัดนครราชสีมา และเป็นหนึ่งในหลายอำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือพาดผ่าน โดยเมื่อเดินทางจากกรุงเทพฯ จะเป็นอำเภอสุดท้ายก่อนเข้าสู่เขตจังหวัดบุรีรัมย์
ประวัติศาสตร์
[แก้]อำเภอห้วยแถลง ได้ชื่อของลำห้วยเป็นชื่อของอำเภอ โดยมีต้นกำเนิดจากทางน้ำฝนไหลจากสันเขาอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ตั้งอำเภอ มีลำห้วย 4 สาย คือ ลำห้วยสระมะค่า ลำห้วยเหวห้า ลำห้วยหยะหยาย และลำห้วยกะเพรา ไหลมารวมกันระหว่าง บ้านโนนสำราญ หมู่ที่ 9 ตำบลเมืองพลับ-พลา ซึ่งสมัยโบราณเรียกว่า “ลำห้วยกะเพรา” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ลำห้วยแถลง” คำว่า “แถลง”สันนิษฐานมาจากคำว่า “แถล” ซึ่งเป็นภาษาถิ่นอิสาน แปลว่า ลาดเอียง เช่น แถล+ขึ้น หมายถึง ลาดขึ้น แถล +ลง หมายถึง ลาดลง เป็นต้นเมื่อปี พ.ศ. 2493 ได้สร้างทางรถไฟสายอุบลราชธานี ผ่านตำบลหินดาด ตำบลงิ้ว อำเภอพิมาย พลเมืองต่างถิ่น ได้เดินทางอพยพตั้งบ้านเรือนประกอบอาชีพโดยอาศัยลำน้ำ จากลำห้วยแถลง บริโภคและใช้สอย จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ ห้วยแถลง ” ขึ้นอยู่ในการปกครองของตำบลงิ้ว อำเภอพิมาย[1]
- วันที่ 1 มกราคม 2504 แยกพื้นที่ตำบลห้วยแถลง ตำบลหินดาด ตำบลงิ้ว และตำบลเมืองพลับพลา อำเภอพิมาย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอห้วยแถลง ขึ้นกับอำเภอพิมาย [2]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยแถลง ในท้องที่บางส่วนของตำบลห้วยแถลง (ในขณะนั้น) [3]
- วันที่ 17 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอห้วยแถลง อำเภอพิมาย เป็น อำเภอห้วยแถลง [4]
- วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลหลุ่งประดู่ แยกออกจากตำบลหินดาด ตั้งตำบลหลุ่งตะเคียน แยกออกจากตำบลเมืองพลับพลา [5]
- วันที่ 15 กันยายน 2514 โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในตอนนั้น) จากตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง มาขึ้นกับตำบลนิคมสร้างตนเอง [6]
- วันที่ 30 กันยายน 2514 ตั้งตำบลทับสวาย แยกออกจากตำบลห้วยแถลง ตั้งตำบลกงรถ แยกออกจากตำบลงิ้ว [7]
- วันที่ 23 ธันวาคม 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลหินดาด ในท้องที่บางส่วนของตำบลหินดาด [8]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลตะโก แยกออกจากตำบลทับสวาย [9]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ตั้งตำบลห้วยแคน แยกออกจากตำบลห้วยแถลง [10]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลห้วยแถลง และ สุขาภิบาลหินดาด เป็นเทศบาลตำบลห้วยแถลง และ เทศบาลตำบลหินดาด
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอห้วยแถลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพิมายและอำเภอชุมพวง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลำปลายมาศ (จังหวัดบุรีรัมย์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองหงส์ (จังหวัดบุรีรัมย์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจักราช
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอห้วยแถลงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 120 หมู่บ้าน
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอห้วยแถลงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลห้วยแถลง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยแถลงและตำบลทับสวาย
- เทศบาลตำบลหินดาด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหินดาด
- เทศบาลตำบลกงรถ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกงรถทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแถลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแถลง (นอกเขตเทศบาลตำบลห้วยแถลง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทับสวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับสวาย (นอกเขตเทศบาลตำบลห้วยแถลง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพลับพลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองพลับพลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหลุ่งตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลุ่งตะเคียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินดาด (นอกเขตเทศบาลตำบลหินดาด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหลุ่งประดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลุ่งประดู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะโกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแคนทั้งตำบล
การขนส่ง
[แก้]อำเภอห้วยแถลงมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 พาดผ่าน และมีสถานีรถไฟห้วยแถลงเป็นสถานีประจำอำเภอ มีขบวนรถด่วนและรถเร็วหยุดรับ–ส่งผู้โดยสารพอสมควร นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟหินดาษซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กับอำเภอพิมายมากที่สุด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ห้วยแถลง
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (108 ง): 2562–2564. 27 ธันวาคม 2503. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-09.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยแถลง กิ่งอำเภอห้วยแถลง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (69 ง): 1667–1668. 31 กรกฎาคม 2505.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. 2506" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. 16 กรกฎาคม 2506. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-09.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอประทาย อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอโนนสูง อำเภอห้วยแถลง และกิ่งอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (92 ง): 2851–2883. 6 ตุลาคม 2513.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอห้วยแถลงและอำเภอพิมาย กับอำเภอโนนไทย และอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2514" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (98 ก): 621–624. 14 กันยายน 2514.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอครบุรี อำเภอสูงเนิน อำเภอห้วยแถลง อำเภอคง อำเภอด่านขุนทด และอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (120 ง): 3100–3136. 9 พฤศจิกายน 2514.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (39 ง): 1035–1036. 11 มีนาคม 2529.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (พิเศษ 219 ง): 49–53. 12 ธันวาคม 2529.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชุมพวง อำเภอบัวใหญ่ อำเภอประทาย อำเภอด่านขุนทด และอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (พิเศษ 149 ง): 118–140. 17 สิงหาคม 2533.