คูเมืองนครราชสีมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คูเมืองนครราชสีมา ได้ก่อสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงปี พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของนครราชสีมา

ประวัติ[แก้]

ประตูเมือง และคูเมืองนครราชสีมา ในสมัยอดีต

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชดำริว่า ดินแดนภาคอีสานเป็นฉนวนป้องกันการรุกรานของขแมร์ (เขมร) ลาว ญวน และเป็นหัวเมืองใหญ่ควบคุมเขมรป่าดงที่ขึ้นแก่ไทย จึงโปรดให้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมืองที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการรบ จึงมีการสร้างกำแพงและขุดคู้มืองขึ้นด้วย

โดยคูเมืองกว้าง 20 เมตร (10 วา) และลึก 6 เมตร (3 วา) ยาวล้อมรอบเมือง มีความกว้างประมาณ 1,000 เมตร (มาตราวัดของไทย : 25 เส้น) ยาวประมาณ 1,700 เมตร (มาตราวัดของไทย : 43 เส้น) ยาวล้อมรอบกำแพงเมืองและเขตเมืองเก่า และมีการขุดลำปรุจากลำตะคองเป็นทางน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมืองด้วย

การปรับปรุงคูเมือง[แก้]

รายงานเกี่ยวกับการขุดคูเมือง โดยพระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีห์มา ในสมัยรัชกาลที่ 5

"คูรอบกำแพงเมือง แต่เดิมชาวเมืองทำนา เห็นด้วยเกล้าฯว่า เมืองนครราชสีห์มาเป็นเมืองดอน เวลาระดู(ฤดู)แล้งอัตคัดน้ำ เมื่อปลายปี ศก ๑๑๑ ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานขอแรงเลขสมกรมการ (น่าจะเป็นหน่วยงานโยธา) มาขุดคูเมือง ลึก ๕ ศอก กว้าง ๑๐ วา ครั้นเดือนพฤษภาคม ศก ๑๑๒ ขุดได้ ๘ ส่วน ยังค้างอยู่ ๒ ส่วน จึ่งจะรอบเมือง และได้ใช้มูลดินที่ขุดจากคู เกลี่ยทำเปนถนนรอบคูชั้นนอก แต่ถนนนี้ยังเกลี่ยไม่แล้ว เวลานี้มีน้ำขังอยู่ในคูเสมอ เปนประโยชน์แก่บ้านเมืองมาก"

[1]

สถานที่ใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 16 หน้า 408 วันที่ 1 ตุลาคม 118 (พ.ศ.2442)