ตำบลหนองไผ่ล้อม (อำเภอเมืองนครราชสีมา)
ตำบลหนองไผ่ล้อม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Nong Phai Lom |
ทัศนียภาพรอบบุ่งตาหลัวตอนล่าง สำนักงานเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม และโรงพยาบาลค่ายสุรนารี | |
พิกัด: 14°57′53″N 102°05′27.5″E / 14.96472°N 102.090972°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
อำเภอ | เมืองนครราชสีมา |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 17.89 ตร.กม. (6.91 ตร.ไมล์) |
ประชากร (31 ธันวาคม 2563)[2] | |
• ทั้งหมด | 15,913 คน |
• ความหนาแน่น | 889.49 คน/ตร.กม. (2,303.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 300110 |
เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม | |
---|---|
พิกัด: 14°57′53″N 102°05′27.5″E / 14.96472°N 102.090972°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
อำเภอ | เมืองนครราชสีมา |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ไพบูลย์ พฤกษ์พนาเวศ |
รหัส อปท. | 05300103 |
ที่อยู่ สำนักงาน | 599 หมู่ 7 ถนนพิบูลละเอียด ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 |
โทรศัพท์ | 044934036-7 |
โทรสาร | 044934038 |
เว็บไซต์ | www |
หนองไผ่ล้อม เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลหนองไผ่ล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศบาลทั้งเก้าแห่งในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา แต่เดิมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ล้อม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2547 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล
ประวัติ
[แก้]ตำบลหนองไผ่ล้อม เป็น ตำบลเก่าแก่ โดยที่เมื่อก่อนชาวบ้านอพยพมาตั้งบ้านเรือนบริเวณหนองน้ำกว้าง มีกอไผ่ขึ้นล้อมรอบ และชาวบ้านได้อาศัยหนองน้ำดังกล่าวเพื่อการอุปโภคบริโภค จึงเรียกว่า "บ้านหนองไผ่ล้อม" กองทัพที่มาจัดตั้งก็ได้อาศัยแหล่งน้ำดังกล่าวในการอุปโภค และเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อกรองเป็นน้ำบริโภค ใช้ในกิจการภายในกองทัพและครอบครัวพลเรือนเรื่อยมา
ด้วยที่แหล่งน้ำดังกล่าว มีสัตว์น้ำและพืชทางน้ำ (ต้นบัว) อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีชาวบ้านจากหลายถิ่นอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานโดยรอบแหล่งน้ำแห่งนี้ ประกอบอาชีพจับสัตว์น้ำ และพืชน้ำ เพื่อบริโภคและนำออกขายในตัวอำเภอ
เมื่อมีจำนวนชาวบ้านเพิ่มมากขึ้นขนาดของแหล่งน้ำที่กักเก็บก็เริ่มไม่พอ เพียงต่อชาวบ้านทั้งภายในกองทัพและโดยรอบแหล่งน้ำ จึงมีการขุดเพื่อเพิ่มระดับกักเก็บมาหลายครั้งโดยมี “ตาหลั่ว” ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการในกองทัพภาคที่ 2 เป็นผู้ริเริ่มและแนะนำให้พัฒนาแหล่งน้ำแห่งนี้แก่ชาวบ้านและข้าราชการทหาร ที่อาศัยแหล่งน้ำอยู่เป็นประจำ จนกระทั่ง “ตาหลั่ว” เสียชีวิตลง จึงได้มีการตั้งชื่อแหล่งน้ำแห่งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกและการจดจำแก่คนรุ่น หลังว่า “บุ่งตาหลั่ว” (เชื่อกันว่าการใช้คำว่า “บุ่ง” อาจแทนขนาดของ “บึง” แต่ไม่ใหญ่เท่า “อ่าง”)
ปัจจุบันเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมได้ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547 [3]
ภูมิศาสตร์
[แก้]โดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มบริเวณกว้างออกไปทิศใต้ และ ทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตของกองทัพภาคที่ 2 มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่จำนวน 2 แห่ง คือ
- บุ่งตาหลั่วตอนบน ซึ่งปรับปรุง และดูแลรับผิดชอบโดยกองทัพภาคที่ 2 ใช้เป็นสวนสาธารณะ และพักผ่อนของประชาชนในเขตเทศบาล และพื้นที่ใกล้เคียง คือ สวนน้ำเฉลิมพระเฉลิมพระเกียรติ ร.9
- บุ่งตาหลั่วตอนล่าง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดรองลงมาจากบุ่งตาหลั่วตอนบน ส่วนใหญ่จะใช้เป็นแหล่งจับสัตว์น้ำของประชาชนในพื้นที่
อาณาเขตติดต่อ
[แก้]เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองนครราชสีมา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับ เทศบาลนครนครราชสีมา
- ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับ เทศบาลนครนครราชสีมา และ เทศบาลตำบลโพธิ์กลาง
- ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับ เทศบาลนครนครราชสีมา และ ตำบลหนองจะบก
- ทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับ เทศบาลนครนครราชสีมา และ เทศบาลตำบลโพธิ์กลาง
พื้นที่และจำนวนประชากร
[แก้]เมื่อปี พ.ศ. 2490 ตำบลหนองไผ่ล้อมมีหมู่บ้านจำนวนทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน โดยมีหมู่บ้านหลัก คือ บ้านบุ่งหมู่บ้านที่ 1 มีการกระจายตัวออกตามแนวถนนพิบูลละเอียด และ ถนนเดชอุดม และเนื่องจากการขยายเขตการปกครองของตำบลในเมือง และเทศบาลเมืองนครราชสีมาในสมัยนั้น ทำให้ในปัจจุบันตำบลหนองไผ่ล้อมมีเขตการปกครองเหลือเป็นหมู่บ้าน 3 หมู่บ้านประกอบด้วย
- หมู่ที่ 1 บ้านบุ่ง
- หมู่ที่ 2 บ้านบุ่งตาหลั่ว
- หมู่ที่ 7 บ้านหนองนกยูง
โดยหมู่บ้านที่เหลือที่อยู่ตามแนวถนนเดชอุดมได้ขึ้นกับเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมอยู่ห่างจากอำเภอเมืองนครราชสีมา 2.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 17.89 ตารางกิโลเมตร หรือ 11,181 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.35 ของเนื้อที่ทั้งอำเภอเมืองนครราชสีมา โดยพื้นที่ร้อยละ 80 ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมทั้งหมด เป็นพื้นที่ของทางราชการทหาร มีจำนวนประชากร ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทั้งสิ้น 19,744 คน เป็นชาย 12,643 คน หญิง 7,101 คน จำนวนบ้าน 10,285 หลัง[4]
ชุมชน
[แก้]เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม มี 26 ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนกองทัพบกในค่ายสุรนารี จำนวน 19 ชุมชน
- ทหารอากาศ จำนวน 4 ชุมชน
- นอกเขตค่ายทหาร จำนวน 3 ชุมชน (หมู่บ้าน)
|
|
การคมนาคมและขนส่ง
[แก้]ถนนสายหลักของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม คือ ถนนพิบูลละเอียด และมีถนนสายรอง คือถนนทางหลวงชนชท เดชอุดม-พิบูลละเอียด และถนนเลียบบุ่งตาหลั่วตอนล่าง ซึ่งเชื่อมต่อถึงกัน และยังเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังเขตเทศบาลนครนครราชสีมาอีกด้วย สำหรับถนนภายในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนลาดยางเป็นส่วนใหญ่
การขนส่งรถโดยสารประจำทางในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม เป็นรถสองแถวขนาดเล็กจำนวน 3 สาย ได้แก่
- สาย 11 ค่ายสุรนารี-ในเมือง เชื่อมกันระหว่างตำบลในเมือง กับ ตำบลหนองไผ่ล้อม (ค่ายสุรนารี)
- สาย 11 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์-ในเมือง เชื่อมระหว่าง ตำบลในเมือง ตำบลหนองไผ่ล้อม (ค่ายสุรนารี) และตำบลโพธิ์กลาง (ค่ายสุรธรรมพิทักษ์)
- สาย 13 หนองไผ่ล้อม-สายตรง-ในเมือง เชื่อมระหว่าง ตำบลในเมือง กับ ตำบลหนองไผ่ล้อม (กองบิน 1)
สาธารณสุข
[แก้]- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) จำนวน 1 แห่ง
- โรงพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 2 แห่ง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
[แก้]เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครราชสีมา สถานีดับเพลิงได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนครนครราชสีมา ในการป้องกันและบรรเทาอัคคีภัยและสาธารณภัย
สถานที่ใกล้เคียง
[แก้]- โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
- ค่ายสุรนารี กองทัพภาคที่ 2
- กองบิน 1 กองพลบินที่ 2
- สวนน้ำบุ่งตาหลัวเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สภาพทั่วไป". เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-09-06.
- ↑ รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2553[ลิงก์เสีย]