ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลตำบลพิมาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลพิมาย
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอพิมาย
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีกรรณิการ์ พัฒนพีระเดช
พื้นที่
 • ทั้งหมด2.156 ตร.กม. (0.832 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2554)
 • ทั้งหมด9,099 คน
 • ความหนาแน่น4,220.31 คน/ตร.กม. (10,930.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05301501
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 31 หมู่ที่ 1 ถนนวนปรางค์ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110
โทรศัพท์0 4400 7733
โทรสาร-
เว็บไซต์phimailocal.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลพิมาย เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลตำบลพิมายเป็นเทศบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ในอดีตเป็นสุขาภิบาลที่มีชื่อว่า "สุขาภิบาลพิมาย" และได้มีการยกฐานะจากสุขาภิบาลพิมายเป็นเทศบาลตำบลพิมาย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ที่ตั้ง

[แก้]

เทศบาลตำบลพิมาย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่สำนักงานชั่วคราวเลขที่ 316 หมู่ที่ 14 ถนนหฤทัยรมย์ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางอำเภอพิมายห่างจากที่ว่าการอำเภอพิมายประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 60 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพฯ ผ่านตัวจังหวัดนครราชสีมาไปยังอำเภอพิมาย โดยเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2 ถึงบริเวณแยกตลาดแค อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา แยกเข้าถนนตลาดแค-พิมาย โดยเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 206 ประมาณ 10 กิโลเมตร เดินทางโดยรถประจำทางปรับอากาศและรถประจำทาง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

อาณาเขต

[แก้]

อาณาเขตทั้ง 4 ด้านคือ องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

เขตการปกครอง

[แก้]

เทศบาลตำบลพิมาย มีพื้นที่ 2.156 ตารางกิโลเมตร (ที่มา : ระบบสารสนเทศ GIS ของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมา) ประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 2 3 14 16 17 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเดิมมีการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของสุขาภิบาล และได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลพิมาย เป็นเทศบาลตำบลพิมาย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542

ภูมิประเทศ เทศบาลตำบลพิมาย มีลักษณะเป็นแอ่งกะทะ เป็นเกาะ มีแม่น้ำมูล ลำจักราชลำน้ำเค็มล้อมรอบมีสระโบราณ 5 สระ (สระโบสถ์, สระเพลง, สระพลุ่ง, สระขวัญ, สระแก้ว) และคูเมืองโบราณที่ยังคงเหลืออยู่บางจุด มีโบราณสถานที่สำคัญ และแหล่งท่องเที่ยว คือ อุทยานประวัติศาสตร์พิมายพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เมรุพรหมทัต ประตูเมืองโบราณ 4 ทิศและแหล่งท่องเที่ยวบริเวณรอบเขตเทศบาล เช่น ไทรงาม กุฎิฤๅษี ท่านางสระผม และสนามแข่งเรือยาวพิมาย

ภูมิอากาศ

[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน - กันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม - มกราคม

ชุมชนในเขตเทศบาล

[แก้]

เทศบาลตำบลพิมาย มีทั้งหมด 15 ชุมชน ดังนี้

หมู่ที่ 1

  • ชุมชนตะวันตกวัดเดิม
  • ชุมชนสระโบสถ์
  • ชุมชนไทรแก้ว
  • ชุมชนสระพลุ่ง

หมู่ที่ 2

  • ชุมชนสามสระสามัคคี
  • ชุมชนวังบูรพา
  • ชุมชนปราสาทหินพิมาย

หมู่ที่ 3

  • ชุมชนบ้านส่วยใน
  • ชุมชนบ้านส่วยนอก

หมู่ที่ 14

  • ชุมชนตะวันออกโรงเรียนพิมายวิทยา
  • ชุมชนบ้านประตูชัย

หมู่ที่ 16

  • ชุมชนพรหมทัต
  • ชุมชนบ้านใหม่

หมู่ที่ 17

  • ชุมชนวัดใหม่ประตูชัย
  • ชุมชนทุ่งเลนทอง

สถานการศึกษาในเขตเทศบาล

[แก้]

สังกัด เทศบาลตำบลพิมาย

[แก้]

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพิมาย

สังกัด สพท.นม.7

[แก้]
  • โรงเรียนกุลโน
  • โรงเรียนสุริยาอุทัยพิมาย

สังกัด สพม.เขต 31

[แก้]
  • โรงเรียนพิมายวิทยา

สังกัด เอกชน

[แก้]
  • โรงเรียนอนุบาลบำรุงการ
  • โรงเรียนอนุบาลพิทักษ์

สังกัด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

[แก้]
  • โรงเรียนวิสุทธิพรตวิทยาคม

การคมนาคม

[แก้]

สภาพการจราจรในเขตเทศบาล มีสภาพคล่องตัวพอสมควร แต่จะมีปัญหาในด้านถนนสายหลัก ที่เป็นบริเวณใกล้กับโบราณสถานที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่สำหรับรถยนต์ / จักรยานยนต์ โดยเฉพาะรถโดยสารขนาดใหญ่ และรถของนักท่องเที่ยวไม่เพียงพอต่อผู้ใช้ถนนจึงทำให้รถต้องจอดบริเวณริมถนน ซึ่งก่อให้เกิดการกีดขวางการจราจรในช่วงเวลากลางวัน และไม่สามารถขยายถนนบริเวณดังกล่าวได้อีกเนื่องจากติดกับเขตที่ดินของประชาชน - มีรถโดยสารประจำทาง แบบธรรมดา และปรับอากาศชั้น 2 ตามเส้นทางชุมพวง – พิมาย – นครราชสีมา อัตราค่าโดยสาร 36 บาท และ 50 บาท ตามลำดับ - มีรถสองแถวรับจ้าง ระหว่าง พิมายไปยังตำบลต่าง ๆ ในอำเภอพิมาย - ในเขตเทศบาล มีบริการของสามล้อรับจ้าง และรถจักรยานยนต์รับจ้างและรถรับจ้าง (สองแถว) บริการ

ประชากร

[แก้]

ข้อมูล จปฐ. 2

[แก้]

จำนวนประชากร (ข้อมูลกรมการปกครอง) จำนวนทั้งสิ้น 16,248 คน แยกเป็นชาย 7,853 คน หญิง 8,395 คน (ที่มา: ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ฐปก ปี 2560 ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ภาษา

[แก้]

ส่วนมากใช้ภาษาไทยโคราช เป็นหลักในการพูด แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นสำเนียงพิมาย ที่บ่งบอกว่าเป็นคนพิมาย

ศาสนา

[แก้]

ผู้นับถือศาสนา พุทธ ร้อยละ 99 มีจำนวนวัด 5 วัด

  1. วัดเดิม
  2. วัดใหม่ประตูชัย
  3. วัดเก่าประตูชัย
  4. วัดบูรพาพิมล
  5. วัดสระเพลง

เศรษฐกิจ

[แก้]

ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือน, การเกษตร

อาชีพ

[แก้]

ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย รับจ้าง โดยอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาลและมีการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่เป็นอาชีพพื้นบ้านที่สำคัญ เช่น การทำเส้นหี่พิมาย กระยาสารท และผลิตภัณฑ์จากหวาย ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น รายได้เฉลี่ย 69,836.50 บาท/คน/ปี การประกอบอาชีพเป็นไปตามสภาพของครัวเรือน ยังไม่มีการลงทุนในเชิงพาณิชย์ในด้านของการบริหาร จัดการ (ที่มา : ข้อมูลจาก จปฐ ปี 2552 ณ วันที่ 25 มีนาคม 2552)

การเกษตรกรรม

[แก้]

เนื่องจากพื้นที่ในเขตเทศบาล มีพื้นที่น้อย และไม่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ถือว่าเป็นรายได้หลักของครัวเรือน การพาณิชย์กรรม และการบริการ สถานประกอบการด้านพาณิชกรรม คลาดไนท์บาซ่า 1 แห่ง ตลาดสดเทศบาล 1 แห่ง ซุปเปอ์มาเก็ต 4 แห่ง ย่านการค้าริมทาง 7 สาย สถานประกอบการเทศพาณิชย์ โรงฆ่าสัตว์ 1 แห่ง (นอกเขตเทศบาล) อาคารเช่า 1 แห่ง สถานประกอบการด้านบริการ โรงแรม 1 แห่ง เกสต์เฮาส์ 5 แห่ง ธนาคาร 5 แห่ง

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]