ข้ามไปเนื้อหา

สงัด ชลออยู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พลเรือเอกสงัด ชลออยู่)
สงัด ชลออยู่
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี
ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ดำรงตำแหน่ง
6 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
(นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปธานินทร์ กรัยวิเชียร
(นายกรัฐมนตรี)
ดำรงตำแหน่ง
20 ตุลาคม – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
ก่อนหน้าธานินทร์ กรัยวิเชียร
(นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
(นายกรัฐมนตรี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปเล็ก แนวมาลี
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519
ก่อนหน้าพลเอก กฤษณ์ สีวะรา
ถัดไปพลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519
ก่อนหน้าพลเรือเอก เชิดชาย ถมยา
ถัดไปพลเรือเอก อมร ศิริกายะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มีนาคม พ.ศ. 2459
เมืองสุพรรณบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 (64 ปี)
จังหวัดระยอง ประเทศไทย
คู่สมรสสุคนธ์ สหัสสานนท์
บุตร2 คน
บุพการี
  • แปลก ชลออยู่ (บิดา)
  • ส้มลิ้ม ชลออยู่ (มารดา)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก[1]
พลอากาศเอก[2]
บังคับบัญชากองทัพเรือ (2516–2519)
กองบัญชาการทหารสูงสุด (2518–2519)
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามเกาหลี
กบฏแมนฮัตตัน

พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ (4 มีนาคม พ.ศ. 2459 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523) เป็นทหารเรือและนักการเมืองชาวไทย หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2519 และคณะปฏิวัติในปี พ.ศ. 2520[3][4]

ประวัติ

[แก้]

พลเรือเอก สงัด เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2458 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2459) ที่บ้านเขาพระ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายแปลก และนางส้มลิ้ม ชลออยู่

พลเรือเอก สงัด สมรสกับคุณหญิงสุคนธ์ ชลออยู่ (สกุลเดิม สหัสสานนท์) ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน

การศึกษา

[แก้]

การทำงาน

[แก้]

ในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันระหว่างวันที่ 29–30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 พลเรือเอก สงัด ในขณะนั้นยังมียศนาวาโท เป็นผู้บังคับบัญชาเรือรบหลวงสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ยิงปืนจากเรือไปยังรถถังของฝ่ายรัฐบาลจนเสียหาย หลังเหตุการณ์ได้ถูกควบคุมตัวและถูกคุมขังเช่นเดียวกับผู้ต้องหาคนอื่น ๆ ที่สนามกีฬาแห่งชาติด้วย[5]

ในปี พ.ศ. 2497 ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือ พลเรือเอก สงัด ได้ให้ความช่วยเหลือทหารนาวิกโยธินฝรั่งเศสและหน่วยรบพิเศษในการอพยพออกจากเวียดนาม หลังจากที่กรุงฮานอยตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเวียดมินห์นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ได้แก่ ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ (ฝ่ายปฏิบัติการ), ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ , รองผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารเรือ ก่อนจะก้าวขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด[6][7]

พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เป็นนายทหารที่มีบทบาทอย่างสูงในทางการเมือง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ด้วยการเป็นทั้งผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นผู้นำในการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง คือในวันที่ 6 ตุลาคม 2519[8] และ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 จนได้รับฉายาว่า "บิ๊กจอวส์" หรือ "จอวส์ใหญ่"

ตำแหน่งสำคัญในราชการ

[แก้]
  • 12 เมษายน พ.ศ. 2501: ผู้บังคับการกองเรือปราบเรือดำน้ำ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505: เสนาธิการกองเรือยุทธการ[9]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507: ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ[10]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512: รองเสนาธิการทหารเรือ[11]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514: รองเสนาธิการทหาร[12]
  • 29 กันยายน พ.ศ. 2515: ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ[13]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516: รองผู้บัญชาการทหารเรือ[14]
  • 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516: ผู้บัญชาการทหารเรือ (อัตราจอมพลเรือ)[15]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518: ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรักษาการผู้บัญชาการทหารเรือ[16]

และเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง

[แก้]

การรำลึก

[แก้]

ทุกวันนี้ เมื่อครบรอบวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรมของพลเรือเอก สงัด กองทัพเรือยังคงจัดงานรำลึกถึงพลเรือเอก สงัด อยู่เสมอ[19] บุคคลที่ใกล้ชิดและเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพลเรือเอก สงัด มักเรียกชื่อพลเรือเอก สงัด ด้วยความเคารพว่า "ครูหงัด" และได้มีการจัดตั้งมูลนิธิ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ขึ้น โดยมอบเงินเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนทั่วไปและนักเรียนเตรียมทหารที่มีผลการเรียนดี โดยเฉพาะนักเรียนที่เป็นบุตรหลานของข้าราชการทหาร[5]

การถึงแก่กรรม

[แก้]

พลเรือเอก สงัด ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวาย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ที่โรงพยาบาลประจำอำเภอแกลง จังหวัดระยอง รวมอายุได้ 65 ปี 264 วัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พลเรือเอก สงัด ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  ไต้หวัน :
    • พ.ศ. 2515 – เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆและธวัช ชั้นที่ 9
    • พ.ศ. 2517 – เครื่องอิสริยาภรณ์หม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ชั้นที่ 2
  •  เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. 2517 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 1
  •  อินโดนีเซีย :
    • พ.ศ. 2518 – เหรียญจาลาเซนา สตาร์
  •  สหรัฐ :

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระราชทานยศทหารเรือ
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 2 ข หน้า 23 6 มกราคม พ.ศ. 2519
  3. "102 ปี สงัด ชลออยู่ "จอว์สใหญ่" Never Die". www.thairath.co.th. 2017-05-30. สืบค้นเมื่อ 2020-08-16.
  4. isranews (2014-05-24). "พลิกปูมประวัติ "ผู้นำ" รัฐประหาร 11 ครั้ง จาก "พจน์ พหลโยธิน" ถึง "ป..." สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 2020-08-16.
  5. 5.0 5.1 พันทิวา. จอว์สใหญ่ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่. กรุงเทพฯ : เมกาสโคป, ตุลาคม, 2553. 272 หน้า. ISBN 9786167020266
  6. "ใครเป็นใครในกรณี 6 ตุลา | บันทึก 6 ตุลา". 23 September 2017.
  7. "4 มี.ค.2458 กำเนิด 'บิ๊กจอวส์' ตำนานรัฐประหาร ต้องเบิ้ล". 4 March 2020.
  8. แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๒๖๕๐)
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓๗๙๖)
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓)
  17. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  18. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  19. กองทัพเรือรำลึก'จอว์สใหญ่' จากไทยโพสต์
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า , เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๖
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ และเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับผู้กระทำความชอบมีบาดเจ็บหนึ่งครั้ง, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๘๘, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๘๔
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๔๒, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๔ กันยายน ๒๕๑๙
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๘, ๗ กรกฎาคม ๒๕๑๘
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๓
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๐๘, ๒๔ กันยายน ๒๕๐๖
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๒๙, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สงัด ชลออยู่ ถัดไป
พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519)
พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ
พลเรือเอก เชิดชาย ถมยา ผู้บัญชาการทหารเรือ
(19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 30 กันยายน พ.ศ. 2518)
พลเรือเอก อมร ศิริกายะ