คุณธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คุณธรรม (อังกฤษ: virtue) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า "สภาพคุณงามความดี"[1] เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงามทางศีลธรรม ฉะนั้นจึงได้รับยกย่องเป็นรากฐานของหลักการและสัตศีลธรรมดี คุณธรรมส่วนบุคคลเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นค่านิยมว่าส่งเสริมความยิ่งใหญ่โดยรวมและปัจเจก ตรงข้ามกับคุณธรรม คือ ความชั่วร้าย (vice)

สมัยโบราณ[แก้]

คุณธรรมเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงมาตรฐานทางศีลธรรม และเป็นรูปแบบของความคิดและการกระทำบนพื้นฐานของมาตรฐานทางศีลธรรม คุณธรรมอาจนับรวมในบริบทกว้าง ๆ ของค่านิยม บุคคลแต่ละคนละมีแก่นของค่านิยมภายใจที่ เป็นหลักของความเชื่อ ความคิด ความเห็น ของคน ๆ นั้น ความซื่อสัตย์ต่อเอง (integrity) ในแง่ของค่านิยม คือคุณธรรมที่ เชื่อมค่านิยมของคน ๆ นั้นเข้ากับ ความเชื่อ ความคิด ความเห็น และ การกระทำของเขา สังคมมีค่านิยมร่วมที่คนในสังคมยึดถือร่วมกัน ค่านิยมส่วนตัว โดยทั่วไปแล้ว มักจะเข้ากับค่านิยมของสังคม

คุณธรรมของบุคคล สามารถจัดได้เป็น 4 กลุ่มแบ่งตามค่านิยม:

  • จริยธรรม (ดี - เลว, มีศีลธรรม - ขัดศีลธรรม - ไร้ศีลธรรม, ถูก - ผิด)
  • สุนทรียภาพ (ไม่สมดุล, พอใจ)
  • ลัทธิคำสอน (การเมือง, ศาสนา, ค่านิยมและกระแสสังคม)
  • คุณธรรมโดยกำเนิดสันดาน

คุณธรรมสำคัญของวัฒนธรรมตะวันตกคลาสสิก (The four classic Western Cardinal virtues) คือ:

ซึ่งคุณธรรมเหล่านี้มีที่มาจากปรัชญากรีก เช่น งานเขียนของ พลาโต ซึ่งอาจรวมถึงงานของโซคราติส

คุณธรรมของอริสโตเติล[แก้]

อริสโตเติลนิยาม คุณธรรม ว่าคือ จุดสมดุลระหว่างความขาดและเกินของคุณลักษณะ[2] โดยคุณธรรมสูงสุดไม่ได้อยู่ที่ตรงกลาง ๆ แต่อยู่ที่จุดเฉลี่ยของ ที่บางครั้งก็ใกล้ปลายหนึ่งมากกว่าอีกปลายหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ความกล้าหาญ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขี้ขลาด กับ ความโง่เขลา ความมั่นใจ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความน้อยเนื้อต่ำใจ กับ ความหลงตัวเอง ความโอบอ้อมอารี เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขัดสน กับ ความฟุ้มเฟือย

อริสโตเติลเชื่อว่า การเป็นคนเป็นสิ่งประเสริฐ ที่ได้มีทักษะในการดำรงชีวิต ในการเจริญก้าวหน้า ในการมีความสัมพันธ์ที่ดี และในการแสวงหาความสุข การเรียนรู้คุณธรรมอาจจะยากตอนแรก ๆ แต่มันจะง่ายขึ้นถ้าได้รับการฝึกฝนจนเป็นนิสัย

คุณธรรมแบบโรมัน[แก้]

  • อำนาจทางจิตวิญญาณ (Auctoritas หรือ "Spiritual Authority") การมีจุดยืนทางความคิด
  • ความเป็นมิตร (Comitas หรือ "Humour") ความสุภาพ ใจกว้าง และเป็นมิตร
  • ความบากบั่นภาคเพียร (Constantia หรือ "Perseverance") ความมุมานะ พยายาม อดทน
  • ความอ่อนโยน (Clementia หรือ "Mercy")
  • ศักดิ์ศรี (Dignitas หรือ "Dignity") การมีคุณค่าแห่งตน มีความภาคภูมิใจในตัวเอง
  • วินัย (Disciplina หรือ "Discipline")
  • ความมั่นคงเด็ดเดี่ยว (Firmitas หรือ "Tenacity") ความแข็งแกร่งของจิตใจที่จะยึดมั่นกับจุดมุ่งหมาย
  • ความประหยัดมัธยัสถ์ (Frugalitas หรือ "Frugality")
  • ความรับผิดชอบ (Gravitas หรือ "Gravity") การรู้ถึงความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมาย
  • ความน่านับถือ (Honestas หรือ "Respectability")
  • การรู้จักมารยาทธรรมเนียม (Humanitas หรือ "Humanity")
  • การขยันทำงานหนัก (Industria หรือ "Industriousness")
  • การมีความยุติธรรม (Iustitia หรือ "Justice")
  • ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (Pietas หรือ "Dutifulness")
  • ความรอบคอบ (Prudentia หรือ "Prudence")
  • การรักษาสุขภาพและความสะอาด (Salubritas หรือ "Wholesomeness")
  • การควบคุมตัวเอง (Severitas หรือ "Sternness")
  • ความซื่อสัตย์ (Veritas หรือ "Truthfulness")
  • ความเป็นลูกผู้ชาย (Virtus หรือ "Manliness") ความองอาจ กล้าหาญ

ปรัญชาจีน[แก้]

"คุณธรรม" หรือ เต๋อ (ในภาษาจีน ) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในปรัญชาจีน โดยเฉพาะลัทธิเต๋า เต๋อ (จีน: ; พินอิน: ; เวด-ไจลส์: te) เดิมที หมายถึง คุณธรรม ในแง่ของ บุคลิกส่วนตัวของบุคคล ความแข็งแกร่งภายใน และ ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและหลักการ (integrity) แต่ความหมายได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของศีลธรรม

หลักศีลธรรมของขงจื้อ จะกล่าวถืง มนุษยธรรม (humanity), การเคารพพ่อแม่และบรรพชน (filial piety), และ การพฤติตนให้เหมาะสม ปฏิบัติตามประเพณี (proper behavior, performance of rituals)[3]

แต่ความหมายของ เต๋อ (จีน: ; พินอิน: ; เวด-ไจลส์: te) สำหรับลัทธิเต๋าแล้วละเอียดอ่อนกว่าขงจื้อมาก ซึ่งคร่าว ๆ คือ การดำเนินชีวิตตามวิถีแห่งเต๋า ค่านิยมหนึ่งที่สำคัญมากของจีนก็คือ บุคคลควรจะมีสถานะทางสังคม ที่เป็นผลมาจากคุณธรรมของเขาที่ได้แสดงออกมา ไม่ใช่ได้สถานะมาจากการชาติตระกูล

ขงจื้ออธิบายความหมายคำว่า เต๋อไว้ว่า "ผู้ถือไว้ซึ่งคุณธรรมนั้น เปรียบได้กับดาวเหนือ ที่ยึดมั่นในที่ของตน เป็นดาวอื่น ๆ ที่ต้องหมุนรอบ ๆ มัน"[4].

ประเพณีทางศาสนา[แก้]

ศาสนาคริสต์[แก้]

ศาสนาคริสต์ ถือว่า ความศรัทธา (faith), ความหวัง (hope), และ ความรัก (love) คือ คุณธรรม โดยคุณธรรมทั้งสามนี้มาจาก 1 Corinthians 13:13 (νυνι δε μενει πιστις ελπις αγαπη τα τρια ταυτα μειζων δε τουτων η αγαπη (pistis, elpis, agape)).

ศาสนาอิสลาม[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว มุสลิมเชื่อว่า อัลกุรอาน เป็นแหล่งรวบรวมคุณธรรมทั้งหมดไว้ อิสลามโดยชื่อแล้ว หมายถึง การยอม ซึ่งคือ การยอมรับประสงค์ของอัลลอฮ์ การยอมรับสิ่งต่าง ๆ ในแบบที่มันเป็น คุณธรรมที่เด่นที่สุดคือ ความกรุณา และ ความเมตตา โดยแต่บทของทั้ง 114 บทใน อัลกุรอาน (โดยยกเว้น แค่บทเดียว) เริ่มต้นด้วย "In the name of God the Compassionate, the Merciful".[5]

คุณธรรม ตามความเชื่อของมุสลิม: การสวดมนต์, การสำนึกบาป, ความซื่อสัตย์, ความจงรักภักดี, ความจริงใจ, การประหยัด, ความรอบคอบ, ความรู้จักประมาณ, การควบคุมตัวเอง, วินัย, ความพากเพียร, ความอดทน, ความหวัง, ศักดิ์ศรี, ความกล้าหาญ, ความยุติธรรม, ความใจกว้าง (tolerance), ปัญญา, การพูดดี, ความเคารพ, ความบริสุทธิ์, ความสุภาพ, ความใจดี, ความรู้คุณ, ความโอบอ้อมอารีย์, ความพอใจ[6]

ศาสนาฮินดู[แก้]

  • การเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น (Altruism): การบำเพ็ญประโยชน์กับมนุษยชาติอย่างไม่เห็นแก่ตัว
  • การควบคุมตัวเอง (Self Control) และการรู้จักพอประมาณ (Moderation): การรู้จักควบคุมตัวเองและพอประมาณในทุก ๆ สิ่ง ความสัมพันธ์ทางเพศ อาหาร กิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ
  • ความซื่อสัตย์ (Honesty): การซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อเพื่อน ต่อมนุษยชาติ
  • ความสะอาด (Cleanliness): ความสะอาดภายนอกคือการรักษาสุขภาพและสุขลักษณะที่ดี ความสะอาดภายในคือการบูชาพระเจ้า ความไม่เห็นแก่ตัว อหิงสา การละเว้นจากของมึนเมาต่าง ๆ
  • การปกป้องและเคารพต่อโลก (Protection and reverence for the Earth)
  • การใจกว้าง (Universality): การเป็นคนใจกว้างและเคารพทุก ๆ คน ทุก ๆ สิ่ง และวิถีของเอกภพ
  • การมีสันติภาพ (Peace): การฝึกนิสัยให้มีกริยาที่สงบสันติเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลรอบข้าง
  • การไม่ใช้ความรุนแรง/อหิงสา (Non-Violence/Ahimsa): การไม่ฆ่าหรือการทำรุนแรงกับสิ่งมีชีวิตใด ๆ ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม
  • การให้ความเคารพคนชราและครูอาจารย์ (Reverence for elders and teachers)

ศาสนาพุทธ[แก้]

พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตามแนวทางของมรรค ๘ ซึ่งอาจนับเป็นรายการจำแนกคุณธรรม ดังนี้ 1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เข้าใจอริยสัจ 4 2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม 3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม 4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง 5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน 6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม 7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ 8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ยังมี Buddhavamsa[7] โดย the Ten Perfections (dasa pāramiyo) ได้แก่:

  1. ทาน Dāna parami : ความโอบอ้อมอารีย์ การเสียสละตน
  2. ศีล Sīla parami : ศีลธรรม การประพฤติตนอย่างเหมาะสม
  3. เนกขัมมะ Nekkhamma parami : การสละจากทางโลก.
  4. ปัญญา Paññā parami การรู้ซึ้งเข้าใจธรรม
  5. วิริยะ Vīriya parami : ความพยายาม ความขยัน พากเพียร
  6. ขันติ Khanti parami : ความอดทน ความใจกว้าง
  7. สัตย์ Sacca parami : ความถึงซื่งความจริง ความซื่อสัตย์
  8. อธิษฐาน Adhiṭṭhāna parami : ความแน่วแน่ มุ่งมั่น
  9. เมตตา Mettā parami : ความหวังดี ความใจดี ความเห็นอกเห็นใจ
  10. อุเบกขา Upekkhā parami : การรู้จักปล่อยวาง การยอมรับสิ่งต่าง ๆ ตามสภาพที่เป็น

ในพุทธศาสนานิกายมหายาน พระสูตรดอกบัว (the Lotus Sutra; Saddharmapundarika) ได้ระบุถึง the Six Perfections ไว้ว่าคือ:

  1. ทาน Dāna paramita: (ภาษาจีน, 布施波羅蜜).
  2. ศีล Śīla paramita : (持戒波羅蜜).
  3. ขันติ Kṣānti (kshanti) paramita : (忍辱波羅蜜).
  4. วิริยะ Vīrya paramita : (精進波羅蜜).
  5. ณาน Dhyāna paramita : การมีสมาธิมุ่งไปที่จุด ๆ เดียว (禪定波羅蜜).
  6. ปัญญา Prajñā paramita : (智慧波羅蜜).

มุมมองของนักปรัชญา[แก้]

เบนจามิน แฟรงคลิน[แก้]

เบนจามิน แฟรงคลิน เขียนรายการคุณธรรม[8]ที่เขาใช้ตรวจสอบชีวิตประจำวันของเขาไว้ดังนี้

  1. การควบคุมตัวเอง (Temperance): Eat not to Dullness. Drink not to Elevation.
  2. การรู้จักเงียบ (Silence): Speak not but what may benefit others or yourself. Avoid trifling Conversation.
  3. การจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ (Order): Let all your Things have their Places. Let each Part of your Business have its Time.
  4. การแก้ปัญหา (Resolution): Resolve to perform what you ought. Perform without fail what you resolve.
  5. การประหยัดมัธยัสถ์ (Frugality): Make no Expense but to do good to others or yourself; i.e. Waste nothing.
  6. การขยันทำงานและใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ (Industry): Lose no Time. Be always employed in something useful. Cut off all unnecessary Actions.
  7. ความจริงใจ (Sincerity): Use no hurtful Deceit. Think innocently and justly; and, if you speak, speak accordingly.
  8. ความยุติธรรม (Justice): Wrong none, by doing Injuries or omitting the Benefits that are your Duty.
  9. ความรู้จักพอประมาณ (Moderation): Avoid Extremes. Forbear resenting Injuries so much as you think they deserve.
  10. การรักษาความสะอาด (Cleanliness): Tolerate no Uncleanness in Body, Clothes or Habitation.
  11. การแสวงหาความสงบ (Tranquility): Be not disturbed at Trifles, or at Accidents common or unavoidable.
  12. การประพฤติพรรมจรรย์ (Chastity): Rarely use Venery but for Health or Offspring; Never to Dullness, Weakness, or the Injury of your own or another's Peace or Reputation.
  13. การอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility): Imitate Jesus and Socrates.

คุณธรรมตามกลุ่มบุคคล[แก้]

ค่านิยมซามูไร[แก้]

Miyamoto Musashi, Self-portrait, Samurai, writer and artist, c. 1640

ฮากาคูเระ (Hagakure) ตำราซามูไร บันทึก คำกล่าวของ ยามาโมโต้ ซูเนะโตโมะ (Yamamoto Tsunetomo) เกี่ยวกับ มุมมองของเขาเรื่องคุณธรรม ที่เขาสาบานปฏิบัติทุก ๆ วันไว้ว่า

  1. อย่าให้ใครปฏิบัติกฎซามูไร (Bushido) เกินหน้าได้
  2. ทำตัวให้เป็นประโยชน์กับเจ้านาย
  3. ทำตัวเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่
  4. มีความเมตตา และทำประโยชน์แก่ผู้อื่น

กฎของซามูไร (Bushidō code) โดยทั่วไปแล้ว จะประกอบไปด้วยคุณธรรมเจ็ดข้อ:

  • เที่ยงธรรม (Rectitude หรือ 義 ,gi)
  • กล้าหาญ (Courage หรือ 勇 ,yuu)
  • เป็นประโยชน์ (Benevolence หรือ 仁 ,jin)
  • เคารพ (Respect หรือ 礼 ,rei)
  • ซื่อสัตย์ (Honesty หรือ 誠 ,sei)
  • มีเกียรติ (Honor หรือ 誉 ,yo)
  • ภักดี (Loyalty หรือ 忠 ,chuu)

คุณธรรมอัศวิน[แก้]

คุณธรรมของอัศวิน คือ กฎธรรมเนียมที่อัศวินในยุคกลางยึดถือ มันเป็นเสมือนกับมาตรฐานของอัศวินที่จะต้องยึดเป็นหลักปฏิบัติทุก ๆ วัน[9]

เครื่องหมายคำสั่งของเซนต์ จอห์น

เครื่องหมายคำสั่งของเซนต์ จอห์น (Order of St. John)[10] ซึ่งเป็นกางเขนแปดแฉก โดยกางเขนสี่ก้านมีรูปสิงโตและยูนิคอร์นพิทักษ์ขั้นอยู่ สี่ก้านของกางเขนหมายถึง ความรอบคอบ (Prudence), การควบคุมตัวเอง (Temperance), ความยุติธรรม (Justice), และ ความกล้าหาญ (Fortitude) และ แปดแฉก หมายถึงสุขคติทั้งแปด ซึ่งคือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility), เมตตา (Compassion), มารยาทความสุภาพ (Courtesy), การเสียสละ (Devotion), ความกรุณา (Mercy), ความบริสุทธิ์ (Purity), สันติ (Peace), และความทรหดอดทน (Endurance)

คาวบอย[แก้]

คุณธรรมตามภาพพจน์ของคาวบอยที่กระแสหลักของสังคมอเมริกันยอมรับคือ ความซื่อสัตย์ (honesty), ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและหลักการ (integrity), ความกล้าหาญ (courage), และ ความพึ่งพาตัวเองได้ (self-reliance).[11]

อินเดียนแดง[แก้]

สี่คุณธรรมที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นคุณธรรมสำคัญทางจิตวิญญาณของชนพื้นเมืองในอเมริกาคือ เคารพเทพเจ้า (respect for deity), เคารพพระแม่ธรณี (respect for Mother Earth), เคารพต่อเพื่อนมนุษย์ (respect for one’s fellow man), และ เคารพต่ออิสรภาพของปัจเจกชน (respect for individual freedom)[12]

คุณธรรมตามจิตวิทยาสมัยใหม่[แก้]

คริสโตเฟอร์ ปีเตอร์สัน (Christopher Peterson) และ มาร์ติน เซลิกแมน (Martin Seligman) ซึ่งเป็นนักวิจัยชั้นนำทางด้านจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) ได้เสนอรายการของบุคลิกภาพและคุณธรรม ในหนังสือ Character Strengths and Virtues".[13] โดยใช้เวลาศึกษาอยู่ 3 ปี หนังสือได้จำแนก คุณธรรมออกเป็น 24 ชนิด (โดยแบ่งเป็น 6 ประเภทใหญ่ ๆ) คุณธรรมเหล่านี้ได้จากการศึกษาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ และก็พบความคล้ายคลึงกันของคุณธรรมตามวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน[14] ประเภทใหญ่ ๆ ทั้ง 6 ของคุณธรรมได้แก่ ความกล้าหาญ (courage), ความยุติธรรม (justice), ความมีมนุษยธรรม (humanity), การควบคุมอารมณ์ (temperance), อุตรภาพ (transcendence), และ ปัญญา (wisdom).[15] หมายเหตุ นักจิตวิทยาบางคนยังเสนอแนะให้แบ่งคุณธรรมออกเป็นประเภทที่น้อยกว่า 6 ประเภท เช่น 24 คุณธรรมนั้น สามารถแบ่งได้เป็น: คุณธรรมด้านการรู้การเข้าใจ (Cognitive Strengths), คุณธรรมด้านการควบคุมอารมณ์ (Temperance Strengths), และ คุณธรรมด้านสังคม (Social Strengths)[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
  2. Sparknotes.com
  3. Lin Yu-sheng: "The evolution of the pre-Confucian meaning of jen and the Confucian concept of moral autonomy," Monumenta Serica, vol31, 1974-75.
  4. Lunyu 2/1 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, tr. James Legge
  5. University of Southern California
  6. "Meccacentric.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2011-09-28.
  7. Buddhavamsa, chapter 2. For an on-line reference to the Buddhavamsa's seminality in the Theravada notion of parami, see Bodhi (2005).
    In terms of other examples in the Pali literature, Rhys Davids & Stede (1921-25), p. 454, entry for "Pāramī," เก็บถาวร 2012-06-29 ที่ archive.today (retrieved 2007-06-24) cites Jataka i.73 and Dhammapada Atthakatha i.84. Bodhi (2005) also mentions Acariya Dhammapala's treatise in the Cariyapitaka-Atthakatha and the Brahmajala Sutta subcommentary (tika).
  8. Franklin's 13 Virtues Extract of Franklin's autobiography, compiled by Paul Ford.
  9. Altmann, Barbara K. The Court Reconvenes. Woodbridge, Suffolk: Brewer. p. 99. ISBN 0859917975.
  10. "SJA Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-28.
  11. http://www.tocquevillian.com/articles/0095.html
  12. http://www.phoenixmasonry.org/native_american_rituals.htm
  13. Peterson, C., & Seligman, M.E.P. (2004). Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification. Oxford University Press. (ISBN 0-19-516701-5)
  14. Peterson, C., & Seligman, M.E.P. (2004). Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification. Oxford University Press. p. 36. (ISBN 0-19-516701-5)
  15. Peterson, C., & Seligman, M.E.P. (2004). Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification. Oxford University Press. p. 36-39. (ISBN 0-19-516701-5)
  16. Jessica Shryack, Michael F. Steger, Robert F. Krueger, Christopher S. Kallie. 2010. The structure of virtue: An empirical investigation of the dimensionality of the virtues in action inventory of strengths. Elsevier.