หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ | |
---|---|
ไฟล์:ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์.jpg | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม – 28 ตุลาคม 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล |
ถัดไป | ประเสริฐ บุญชัยสุข |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2500 |
คู่สมรส | ทรงสมร สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา |
รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา[1]ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนพัฒนา มธ. และเป็นผู้สมัครในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2553 [3] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการของมูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์
ประวัติ
[แก้]ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2500 เป็นโอรสเพียงคนเดียวในหม่อมเจ้าภากูล สวัสดิวัตน์ (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์) กับหม่อมประชุมสินธ์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสท์มิซซูรี่สเตท และระดับปริญญาโท สาขาการจัดการอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยเซนต์ทรัลมิซซูรี่ และสาขาการจัดการนโยบายสาธารณะ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[2]
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สมรสกับ ดร.ทรงสมร สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา ผู้จัดการโรงเรียนทรงวิทยาเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ มีบุตร 2 คน คือ หม่อมหลวงทรงลักษณ์ สวัสดิวัตน์ สำเร็จการศึกษาปริญญาโทจาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นครนิวยอร์ก และหม่อมหลวงสิริสมร สวัสดิวัตน์ สำเร็จการศึกษาปริญญาโทจาก มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน
การทำงาน
[แก้]ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาบริหารอุตสาหการและการปฏิบัติการ เคยดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร เป็นผู้อำนวยการสถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา (สทศ.) เป็นผู้จัดการสำนักงานจัดการทรัพย์สิน เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคลและกฎหมาย เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยี และเป็นคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2550-2553
นอกจากนี้อาจารย์ยังเคยเป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศฯ และยังได้รับรางวัลนักวิจัยที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2552 [4] รวมทั้งได้เคยดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ปรึกษาในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)[5] กรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย[6] กรรมการในบริษัทมหาชนอันได้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอ็มเอฟอีซี จำกัด (มหาชน)[7]
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการนำระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการบริหารงานพัฒนาชนบทของประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ ซึ่งเขาได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน กชช 2ค และ จปฐ [8][9] ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปติดตั้งใช้งานในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และระบบได้รับการพัฒนาปรับปรุงและใช้งานประจำอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดำเนินงาน[10]
ในปี พ.ศ. 2553 ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ ได้เสนอตัวสมัครเข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาฯ เป็น 2 รายชื่อสุดท้ายเพื่อให้ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยลงมติ ซึ่งผลการลงมติ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ ได้คะแนน 5 เสียง ส่วน สมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้ 25 เสียง[11]
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555[12] (โควตาของพรรคชาติพัฒนา)[13][14] แต่จากการสำรวจความรับรู้ของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก เป็นลำดับที่ 10 [15] แต่ผลงานที่สำคัญของเขาคือการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนชาวต่างประเทศโดยรักษาฐานการลงทุนสำคัญที่มีการจ้างงานกว่า 440,000 คนไว้ให้อยู่ในประเทศไทยต่อไปได้ ในขณะเดียวกันยอดการขอรับการลงทุนรายใหม่ในรอบ 10 เดือนของปี 2555 สูงขึ้นกว่าปีก่อนอย่างเป็นประวัติการณ์กว่า 200,000 ล้านบาท[16] อย่างไรก็ตามในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เขาถูกปรับให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี โดยมีนายประเสริฐ บุญชัยสุข ส.ส.นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา มาเข้ารับตำแหน่งแทน
ภายหลังการพ้นจากตำแหน่ง ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ ได้กลับไปเป็นอาจารย์ที่ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังเข้าร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ ด้านโลจิสติกส์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กรรมการในคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิตัล และก่อนที่จะเกษียณอายุราชการในปี 2560 เขาได้ลาอุปสมบทที่วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม โดยมีเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เป็นพระอุปปัชฌาย์
ในเวลาหลังการเกษียนอายุราชการ ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ ได้ช่วยงานด้านศาสนาและการศึกษาให้องค์กรสาธารณะกุศลหลายแห่งมากขึ้น อาทิเช่น วารสารโพธิยาลัย มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี และ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เป็นต้น ต่อมาในปี 2566 เขาได้รับการประกาศให้เป็น The Creators: 1 ใน 84 บุคลากรทรงคุณค่า[17] ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[19]
- พ.ศ. 2556 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[20]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของหม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/262/T_0003.PDF
- ↑ 2.0 2.1 "ประวัติวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-16. สืบค้นเมื่อ 2012-01-17.
- ↑ ศึกชิงเก้าอี้อธิการบดีธรรมศาสตร์ "สมคิด-กำชัย-พงษ์สวัสดิ์" วัดกันที่ "กึ๋นส์ "หรือ "คอนเนกชั่น" ?
- ↑ "วันนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-10-29.
- ↑ https://www.boi.go.th/upload/content/ppm2_2554_98835.pdf
- ↑ "แต่งตั้ง". ryt9.com.
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของหม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "กชช 2ค และ จปฐ เกี่ยวข้องกันอย่างไร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-29.
- ↑ "รวมสาระฐานข้อมูล โปรแกรม ศักยะความเข้มแข็งชุมชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-23. สืบค้นเมื่อ 2013-10-29.
- ↑ "ศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-29.
- ↑ "อธิการบดีมธ.คนใหม่ประกาศนำธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชนอีกครั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-28. สืบค้นเมื่อ 2012-01-17.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ คอลัมน์ เรียงคนมาเป็นข่าวมติชน
- ↑ "เบื้องหลัง "พิชัย" เก้าอี้หลุด "อภิวันท์" ยังไม่ถึงฝั่งฝัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
- ↑ "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
- ↑ อุตฯหน้าบานแถลงผลงาน1ปี ดึงเงินลงทุนทะลุแปดแสนล้าน
- ↑ "สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ.(TBSA) จัดงาน กาล่า The CREATORS 84 บุคลากรทรงคุณค่า". www.prd.go.th.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๙๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๖[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๖๕, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เก็บถาวร 2012-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ ที่เฟซบุ๊ก
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วรรณรัตน์ ชาญนุกูล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 60) (18 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555) |
ประเสริฐ บุญชัยสุข |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- หม่อมราชวงศ์
- ราชสกุลสวัสดิวัตน์
- รองศาสตราจารย์
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน