สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 243 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ
ก่อนหน้ากัลยา โสภณพนิช
กนกวรรณ วิลาวัลย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(16 ปี 130 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กันยายน พ.ศ. 2519 (47 ปี)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561)
ภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสุรภา ศิริจินดาชัย
บุพการี
  • สมทรง พันธ์เจริญวรกุล (มารดา)

สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2519) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 3 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย และ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย

ประวัติ[แก้]

สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2519 เป็นบุตรของนาย วีระชัย พันธ์เจริญวรกุล อาชีพรับเหมาก่อสร้าง และนางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายก อบจ. พระนครศรีอยุธยา มีพี่น้อง 5 คน อาทินางสมศรี ต้นจรารักษ์ นายกเทศมนตรีตำบลลำตาเสา, นางสาวสุวิมล พันธ์เจริญวรกุล อดีต ส.ส. พระนครศรีอยุธยา พรรคไทยรักไทย[1] และนางสาวนภัสวรรณ พันธ์เจริญวรกุล ภรรยาร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช[2]

สุรศักดิ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี และ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยรังสิต สมรสกับ นางสาวสุรภา ศิริจินดาชัย

งานการเมือง[แก้]

อดีตเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอวังน้อย เขต1 ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน แทนนางสาวสุวิมล พี่สาว ซึ่งเป็นอดีต ส.ส. พรรคไทยรักไทย ที่วางมือทางการเมือง

เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2566[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคภูมิใจไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคภูมิใจไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นางสมทรง พันธ์เจิญวรกุล นายกอบจ.พระนครศรอยุธยา แม่ดีเด่นปี 2554 เมืองกรุงเก่า (รายงานพิเศษ) [ลิงก์เสีย]
  2. [1]
  3. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]