ข้ามไปเนื้อหา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Faculty of Engineering,
Khon Kaen University
ชื่อย่อวศ. / EN
สถาปนา24 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (60 ปี)[1]
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณบดีรศ. ดร. รัชพล สันติวรากร
ที่อยู่
วารสารวารสารวิศวกรรมสาร มข.
สี  สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์www.en.kku.ac.th

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Faculty of Engineering, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นพร้อมกับคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิทยาศาสตร์) และคณะเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ถือว่าเป็นคณะแรกตั้งของการสถาปนามหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แห่งแรกในส่วนภูมิภาค

ประวัติ

[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวิศวกรที่มีทักษะและมีความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเนื้อที่และประชากรประมาณหนึ่งในสามของประเทศ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด คำบรรยายที่ดีที่สุดเกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปรากฏในคำกล่าวของอดีตนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2504 - 2509 ดังนี้[2]

"...ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ..."

"...ภูมิภาคนี้มีปัญหาที่สำคัญยิ่งสองประการคือการคมนาคมที่ไม่เพียงพอ และการขาดแคลนน้ำ โดยทั่วไปน้ำจะท่วมในฤดูฝนและไม่มีน้ำในฤดูร้อน สิ่งเหล่านี้คือสาเหตุของความล้มเหลวของการผลิตข้าว และพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ..."

เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2505 คณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงด้านวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น และให้ชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า "Khon Kaen Institute of Technology" ใช้อักษรย่อว่า "K.I.T." ต่อมา เพื่อให้สอดคล้องกับการขอความช่วยเหลือเงินทุนพิเศษสหประชาชาติ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงมอบให้สภาการศึกษาแห่งชาติเป็นเจ้าของโครงการและให้ชื่อสถาบันนี้ว่า "มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" โดยใช้ช่วงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 Mr.D.J.Rohner จาก Swiss Federal Institute of Technology ผู้แทนของ UNESCO ได้สำรวจและเขียนรายงานถึงความจำเป็นทางวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ อันเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2506 รัฐบาลแคนาดาได้ส่ง ศาสตราจารย์ R.M.Dillan จาก University of Westem Ontario ร่วมสำรวจเพื่อจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[3]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2507 มีนักศึกษาทั้งสิ้น 58 คน ซึ่งการเรียนการสอนในสองปีแรกนั้น ใช้สถานที่ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ในปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหิดล) อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[4]

ในปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติตั้งคณะกรรมการการจัดตั้งมหาวิทยาลัย โดยมี ฯพณฯ รัฐมนตรี พจน์ สารสิน เป็นประธานกรรมการ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีชื่อใหม่ว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามชื่อเมืองที่ตั้ง

สัญลักษณ์

[แก้]
  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ เกียร์

  • สีประจำคณะ

  สีเลือดหมู

หลักสูตร

[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[5]
กลุ่มวิชา/ภาควิชา/สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (โครงการพิเศษ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (โครงการพิเศษ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม (นานาชาติ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโลจีสติกส์ (นานาชาติ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (โครงการพิเศษ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (นานาชาติ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ภาควิชาวิศวกรรมสื่อดิจิทัล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมสื่อดิจิทัล (นานาชาติ)

คณบดี

[แก้]
ทำเนียบคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.วิทยา เพียรวิจิตร พ.ศ. 2507 - 2516
2. รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์จีรวัฒน์ จักรพันธุ์ พ.ศ. 2516 - 2517
3. ศาสตราจารย์ พิมล กลกิจ พ.ศ. 2517 - 2517
4. ศาสตราจารย์ ชลิต เวชชาชีวะ พ.ศ. 2517 - 2518
5. รองศาสตราจารย์ ฉลอง เกิดพิทักษ์ พ.ศ. 2518 - 2521
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รังษี นันทสาร พ.ศ. 2521 - 2526
7. รองศาสตราจารย์ ดร.สัจจะ เสถบุตร พ.ศ. 2526 - 2528
8. ศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ

พ.ศ. 2528 - 2532
พ.ศ. 2532 - 2535

9. ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ พ.ศ. 2535 - 2539
10. รองศาสตราจารย์ ดำรงค์ หอมดี พ.ศ. 2539 - 2543
11. รองศาสตราจารย์ วินิต ชินสุวรรณ พ.ศ. 2543 - 2547
12. รองศาสตราจารย์.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย พ.ศ. 2547 - 2550
13. รองศาสตราจารย์ ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ พ.ศ. 2550 - 2554
พ.ศ. 2554 - 2558
14. ศาสตราจารย์ ดร.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร พ.ศ. 2558 - 2562
15. รองศาสตราจารย์ ดร. รัชพล สันติวรากร พ.ศ. 2562 - ปัจจบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ได้เปิดรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรุ่นแรกขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 107 คน แยกเป็นนักศึกษาวิชาเกษตรศาสตร์ 49 คน และวิศวกรรมศาสตร์ 58 คน ดังนั้นผู้เขียนจึงขอยึดตามวันที่ดังกล่าว ดูเพิ่มที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "ประวัติของมหาวิทยาลัยขอนแก่น", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 6
  2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะวิศวกรรมศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 81
  3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะวิศวกรรมศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 81
  4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "ประวัติของมหาวิทยาลัยขอนแก่น", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 6
  5. ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะวิศวกรรมศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 77 - 86
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะวิศวกรรมศาสตร์", 30 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537, หน้า 36 - 40

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]