ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดพิษณุโลก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ข้อความแก้กำกวม|พิษณุโลก|พิษณุโลก (แก้ความกำกวม)}}
{{กล่องข้อมูล จังหวัด
<!-- ข้อมูลจำเป็น -->
| จังหวัด = พิษณุโลก
| ธง = Flag of the Phitsanulok Province.png
| seal = Seal Phitsanulok.png
| คำขวัญ = {{ไม่ตัด|พระพุทธชินราชงามเลิศ}} {{ไม่ตัด|ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร}} {{ไม่ตัด|สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ}} {{ไม่ตัด|หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก}} {{ไม่ตัด|ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา}}
| ชื่ออังกฤษ = Phitsanulok
| แผนที่ = Thailand Phitsanulok locator map.svg
<!-- ข้อมูลเสริม -->
| ตราลูกเสือ = Prov-scout-Phitsanulok.png
| ชื่อไทยอื่นๆ = นครพระพิษณุโลกสองแคว, นครสระหลวงสองแคว, นครสรลวงสองแคว, สองแคว, โอฆะบุรี, จันทรบุรี
| ชื่อผู้ว่า = นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์
| ปีที่ว่าราชการ = 2561
| ชื่อนายกองค์การบริหาร = มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์
| ปีที่ดำรงตำแหน่ง = 2555
| รหัสiso = TH-65
| สีจังหวัด = ม่วง
| รหัสสี = #8D38C9
| ต้นไม้ประจำจังหวัด = ปีบ (''Millingtonia hortensis'')
| ดอกไม้ประจำจังหวัด = [[นนทรี]] (''Peltophorum pterocarpum'')
| พื้นที่ = 10,815.854 [[ตารางกิโลเมตร|ตร.กม.]]<ref>ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.</ref>
| อันดับพื้นที่ = 16
| ประชากร = 865,247 คน<ref name="จำนวนราษฎร">กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_58.pdf] 2563. สืบค้น 31 มกราคม 2563</ref>
| ปีสำรวจประชากร = 2562
| อันดับประชากร = 26
| ความหนาแน่น = 79.99 คน/ตร.กม.
| อันดับหนาแน่น = 62
<!-- ข้อมูลศาลากลาง (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
| ศาลากลาง = ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง [[อำเภอเมืองพิษณุโลก]] จังหวัดพิษณุโลก 65000
| โทรศัพท์ = 0 5525 8947
| โทรสาร = 0 5525 8559
| เว็บไซต์ = {{URL|http://www.phitsanulok.go.th/}}
}}

'''จังหวัดพิษณุโลก''' เป็น[[จังหวัดของประเทศไทย|จังหวัด]]หนึ่งใน[[ภาคกลาง (ประเทศไทย)|ภาคกลาง]]ของ[[ประเทศไทย]] มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 866,891 คน<ref name="จำนวนราษฎร"/> มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 9 อำเภอ มี[[เทศบาลนครพิษณุโลก]]เป็นเขตเมืองศูนย์กลางของจังหวัดและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับ[[แขวงไชยบุรี]] [[ประเทศลาว]]ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด

== ศัพท์มูลวิทยา ==
== ศัพท์มูลวิทยา ==
{{distinguish|วิษณุโลก}}
{{distinguish|วิษณุโลก}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:16, 29 กุมภาพันธ์ 2563

ศัพท์มูลวิทยา

ชื่อของจังหวัดมาจากคำว่า พิษณุ หมายถึง "พระวิษณุ" เทพตามความเชื่อของชาวฮินดู รวมกับคำว่า โลก ทำให้มีความหมายเป็น "โลกแห่งพระวิษณุ" ในสมัยที่ยังปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาล ชื่อของจังหวัดนั้นสะกดว่า พิศณุโลก[1]

ประวัติศาสตร์

จักรวรรดิเขมร

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองพิษณุโลกเป็นเพียงเมืองหน้าด่านเล็ก ๆ ของขอม เรียกว่า สองแคว เพราะในสมัยนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย ทำให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเดินผ่านสู่ภาคเหนือ

สมัยสุโขทัย

ภาพเก่าองค์พระปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

ในสมัยสุโขทัย เมืองสองแควอยู่ในอำนาจของราชวงศ์ศรีนาวนำถม หรือราชวงศ์ผาเมือง จนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ยึดเมืองสองแคว ทำให้กลายเป็นเมืองสำคัญทางตะวันออกของอาณาจักรสุโขทัย ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทรุ่งเรืองในอาณาจักรสุโขทัย จะเห็นได้ว่ามีการก่อสร้างวัดจุฬามณี วัดอรัญญิก และวัดเจดีย์ยอดทอง โดยเชื่อกันว่าบริเวณวัดจุฬามณีในปัจจุบันเป็นที่ตั้งตัวเมืองเก่า แต่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1900 ในช่วงรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว และย้ายเมืองสองแควมาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน นอกจากนี้ ได้มีการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เรียกกันทั่วไปว่า วัดใหญ่ เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระพุทธชินราช ซึ่งได้ใช้เป็นตราประจำจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน

ในขณะที่สมัยอยุธยาของประวัติศาสตร์ไทยได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 เมืองสองแควยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย จนสุโขทัยได้กลายเป็นรัฐบรรณาการของอาณาจักรอยุธยา จนเมื่อปี พ.ศ. 1962 พระมหาธรรมราชาที่ 4 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยโดยการแทรกแทรงของอาณาจักรอยุธยา ประมาณปี ค.ศ. 1973 พระมหาธรรมราชาที่ 4 ได้ย้ายเมืองหลวงมายังเมืองสองแคว และหลังจากที่พระมหาธรรมราชาที่ 4 ได้สวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรสุโขทัยก็ได้รวมกับอาณาจักรอยุธยา[2]

สมัยอยุธยา

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จกรีธาทัพมาหมายจะชิงสุโขทัยซึ่งพระยายุทธิษฐิระ (พระอนุชาของพระองค์) ได้ไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา พระองค์จึงทรงสร้างเมืองใหม่บริเวณเมืองสองแควและเมืองชัยนาท ขนานนามว่า เมืองพระพิษณุโลกสองแคว สำหรับการที่เรียกว่าพระพิษณุโลกสองแควนั้น คาดว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงแปลงคำจาก สรลวงสองแคว, สรลวง มีความหมายว่า สรวง คือ พระวิษณุ (พระนารายณ์) [3] โดยทรงหมายมั่นให้เป็นราชธานีฝ่ายเหนือคู่กับกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา

พิษณุโลกสมัยอยุธยามีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมืองการปกครอง ยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม พิษณุโลกเป็นราชธานีในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.ศ. 2006-พ.ศ. 2031 รวม 25 ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของพิษณุโลก[ต้องการอ้างอิง]

ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.ศ. 2112-พ.ศ. 2133 ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลกเป็นนักกอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย[ต้องการอ้างอิง] ทรงสถาปนาพิษณุโลกเป็นเมืองเอก เป็นการประสานต่อความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

ด้านเศรษฐกิจ

เนื่องจากพิษณุโลกตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐ คือ อาณาจักรล้านนาทางเหนือกับกรุงศรีอยุธยาในทางใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสองบางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกัน ทำสงครามต่อกัน มีผลให้เมืองพิษณุโลกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีทั้ง 2 รัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจพิษณุโลกเป็นเส้นทางสินค้าของป่า และผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย โดยอาศัยการคมนาคมผ่านลำน้ำน่านสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของการค้านานาชาติแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปัจจุบันที่พิษณุโลก มีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยคุณภาพดี ซึ่งมีอยู่ทั่วไปบริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยเฉพาะที่วัดตาปะขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก พร้อมเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้ นอกจากจะใช้ในท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศด้วย วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นับว่าเมืองพิษณุโลกมีความสำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ คือเป็นแหล่งทรัพยากรของกรุงศรีอยุธยา[ต้องการอ้างอิง]

ด้านศาสนา

พระพุทธชินราช ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนาและอยุธยากับพม่ามาตลอด แต่การศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระพุทธรูปและวัดปรากฏในปัจจุบันเช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา วัดราชบูรณะ วัดสระแก้วปทุมทอง วัดเจดีย์ยอดทอง วัดสุดสวาสดิ์ และวัดวังหิน ล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการบำรุงมาโดยตลอด

ในปัจจุบัน ทั้งพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดาได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร มีเรื่องเล่ากันว่า จากเดิมจะอัญเชิญพระพุทธชินราชมาด้วย แต่เมื่อเอาลงแพ เตรียมที่จะล่องลำน้ำน่านนั้น แพก็ไม่ยอมเคลื่อนที่ แม้จะตรวจเท่าไร ก็ไม่พบว่าแพติดอะไร แต่แพที่ใช้ในการย้ายก็ไม่ยอมไหลตามน้ำ จึงทำการบวงสรวงขอขมา แล้วนำขึ้นมาประดิษฐานไว้ตามเดิมจนถึงปัจจุบัน ว่ากันว่า ท่านเป็นห่วงเมืองของท่าน จะอยู่ปกป้อง[ต้องการอ้างอิง]

ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารวัดจุฬามณีขึ้นในปี พ.ศ. 2007 และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 คน[ต้องการอ้างอิง] และในปี พ.ศ. 2025 มีพระบรมราชโองการให้บูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและให้มีการสมโภชถึง 15 วัน พร้อมกันนั้นได้โปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง จบ 13 กัณฑ์บริบูรณ์ด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อ พ.ศ. 2222 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี พร้อมทั้งจารึกเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย

ในส่วนของวัดสุดสวาทดิ์นั้น ว่ากันว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับวัดนางพญา โดยวัดสุดสวาทดิ์นั้นเป็นวัดที่กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพิษณุโลกสร้างให้กับมเหสีที่รักมากที่สุด จึงตั้งชื่อให้ว่า "สุดสวาท" และมีการสร้างพระนางสุดสวาสดิ์ขึ้นมาด้วย พุทธคุณเท่ากับพระนางพญา วัดนางพญา[ต้องการอ้างอิง]

ในส่วนของวัดวังหินนั้น ถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านการทหารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัดที่ใช้ในการจัดทัพและปลุกขวัญกำลังใจให้กับทหาร กำลังพลก่อนที่จะทำการออกศึก โดยวัดนี้ ก็มีการจัดสร้างพระเครื่องที่เชื่อกันว่าถูกสร้างโดยพระนเรศวรด้วย คือ ลีลาวังหิน โดดเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี[ต้องการอ้างอิง]

สมัยธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่าพิษณุโลกเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ควรมีผู้ที่เข้มแข็งที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมือง จึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชสำเร็จราชการเมืองพิษณุโลกโดยขึ้นต่อกรุงธนบุรี เมื่อได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือจนครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จกลับไปยังกรุงธนบุรี

พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าผู้ชำนาญการรบ ได้วางแผนยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย ตีได้เมืองตาก เมืองสวรรคโลก บ้านกงธานี และมาพักกองทัพอยู่ที่กรุงสุโขทัย ขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์กำลังยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงแสน เมื่อทราบข่าวข้าศึก จึงรีบยกทัพกลับมารับทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลก ก่อนที่อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตั้งค่ายล้อมเมืองพิษณุโลก

กองทัพพม่าพยายามเข้าตีค่ายไทยหลายครั้ง แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้ช่วยป้องกันเมืองเป็นสามารถ ทั้งที่ทหารน้อยกว่าแต่ไม่สามารถชนะกันได้ อะแซหวุ่นกี้ถึงกับกล่าวยกย่องแม่ทัพฝ่ายไทย เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบข่าวอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย จึงทรงยกทัพใหญ่ขึ้นไปช่วยทันที ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ทราบข่าวว่ากองทัพไทยมาตั้งค่ายเพื่อช่วยเหลือเมืองพิษณุโลก จึงแบ่งกำลังพลไปตั้งมั่นที่วัดจุฬามณีฝั่งตะวันตก อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าถ้าชักช้าไม่ทันการณ์จึงสั่งให้ทัพพม่าที่กรุงสุโขทัยไปตีเมืองกำแพงเพชร ส่วนกองทัพเมืองกำแพงเพชรไปตีเมืองนครสวรรค์ และสั่งให้กองทัพพม่าอีกกองทัพหนึ่งยกไปตีกรุงธนบุรี การวางแผนของอะแซหวุ่นกี้เช่นนี้ เป็นการตัดกำลังฝ่ายไทยไม่ให้ช่วยเมืองพิษณุโลกและต้องการให้กองทัพไทยระส่ำระสาย

ในที่สุดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระราชดำริเห็นว่า ไทยเสียเปรียบเพราะมีกำลังทหารน้อยกว่า จึงควรถอยทัพกลับไปตั้งมั่นรับทัพพม่าที่กรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าไทยขาดเสบียงอาหารและใกล้จะหมดทางสู้ จึงตัดสินใจพาไพร่พลและประชาชนชายหญิงทั้งหมด ตีหักค่ายพม่าออกจากเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกได้สำเร็จ พาทัพผ่าน บ้านมุง บ้านดงชมพู ข้ามเขาบรรทัด ไปตั้งรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์

พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกนานถึง 4 เดือน เมื่อเข้าเมืองได้ ก็พบแต่เมืองร้าง อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งเผาผลาญทำลายบ้านเมืองพิษณุโลกพินาศจนหมดสิ้น คงเหลือเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองเอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย มีประชากรประมาณ 55,000 คน เป็นชาวจีนประมาณ 1,112 คน และมีเมืองต่าง ๆ อยู่ในอำนาจการปกครองดูแลหลายหัวเมืองด้วยกัน เช่น เมืองนครไทย ไทยบุรี ศรีภิรมย์ พรหมพิราม ชุมสรสำแดง ชุมแสงสงครามพิพัฒน์ นครชุมทศการ นครพามาก เมืองการ เมืองคำ[ต้องการอ้างอิง] ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพสำคัญ คือ ทำนา ทำไร่ หาของป่า และทำไม้

พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระอุตสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง โดยเสด็จทางเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะนั้นกำลังผนวชเป็นสามเณรก็ได้ตามเสด็จมาด้วย เมื่อเสด็จถึง ก็ได้ทรงประทับและทรงสมโภชพระพุทธชินราชอยู่ 2 วันจึงเสด็จกลับ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกทุกพระองค์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ที่พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จประพาส เช่น เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราชและเรื่องลิลิตพายัพ เป็นต้น เอกสารดังกล่าวเหล่านี้ปัจจุบันมีคุณค่าอย่างยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ ส่วนรัชกาลที่ 5 นั้น พระองค์ทรงประทับพระทัยในความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงามขององค์พระพุทธชินราช ถึงกับโปรดเกล้าฯ ให้จำลองพระพุทธรูปพระพุทธชินราชไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นในสมัยนั้น

ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สะพานข้ามแม่น้ำน่านหน้าวัดใหญ่ก็ถูกทิ้งระเบิด แต่ทิ้งเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเป้าหมาย[ต้องการอ้างอิง] ทั้ง ๆ ที่ในอดีต เป็นสะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก[ต้องการอ้างอิง]

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งทางอุตุนิยมวิทยาในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภาอยู่ในเขตภาคกลาง โดยอยู่ทางตอนบนของภาค ห่างจากกรุงเทพมหานคร 368 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ไฟล์:Nangnoy6.jpg
ลานหินปุ่ม

ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเนินมะปราง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง

จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู

  • ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดพิษณุโลก
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.3
(97.3)
38.0
(100.4)
40.3
(104.5)
41.8
(107.2)
42.0
(107.6)
38.7
(101.7)
38.4
(101.1)
36.7
(98.1)
36.6
(97.9)
35.3
(95.5)
35.7
(96.3)
35.6
(96.1)
42
(107.6)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.6
(88.9)
33.9
(93)
35.9
(96.6)
37.4
(99.3)
35.6
(96.1)
33.6
(92.5)
32.8
(91)
32.3
(90.1)
32.3
(90.1)
32.3
(90.1)
31.7
(89.1)
30.9
(87.6)
33.36
(92.05)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 24.1
(75.4)
26.7
(80.1)
29.0
(84.2)
30.6
(87.1)
29.6
(85.3)
28.5
(83.3)
28.1
(82.6)
27.8
(82)
27.8
(82)
27.6
(81.7)
26.1
(79)
24.0
(75.2)
27.49
(81.49)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 18.0
(64.4)
20.8
(69.4)
23.5
(74.3)
25.3
(77.5)
25.2
(77.4)
24.8
(76.6)
24.6
(76.3)
24.5
(76.1)
24.5
(76.1)
24.0
(75.2)
21.6
(70.9)
18.3
(64.9)
22.93
(73.27)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 8.9
(48)
13.2
(55.8)
12.7
(54.9)
19.1
(66.4)
20.4
(68.7)
21.8
(71.2)
21.6
(70.9)
22.2
(72)
21.5
(70.7)
17.6
(63.7)
12.1
(53.8)
9.4
(48.9)
8.9
(48)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 7
(0.28)
12
(0.47)
29
(1.14)
51
(2.01)
188
(7.4)
183
(7.2)
190
(7.48)
257
(10.12)
241
(9.49)
157
(6.18)
31
(1.22)
6
(0.24)
1,352
(53.23)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 1 2 4 12 13 14 17 15 9 3 1 92
แหล่งที่มา: NOAA (2504-2533)[4]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด: พระพุทธชินราช
  • ธงประจำจังหวัด: ธงพื้นสีม่วง กลางธงเป็นตราประจำจังหวัดคือรูปพระพุทธชินราชในวงกลม
  • คำขวัญประจำจังหวัด: พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ปีบ (Millingtonia hortensis)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกนนทรี (Peltophorum pterocarpum)

การเมืองการปกครอง

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดพิษณุโลก

จังหวัดพิษณุโลกแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 9 อำเภอมีดังนี้

  1. อำเภอเมืองพิษณุโลก
  2. อำเภอนครไทย
  3. อำเภอชาติตระการ
  4. อำเภอบางระกำ
  5. อำเภอบางกระทุ่ม
  1. อำเภอพรหมพิราม
  2. อำเภอวัดโบสถ์
  3. อำเภอวังทอง
  4. อำเภอเนินมะปราง

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ตัวเมืองพิษณุโลก

จังหวัดพิษณุโลกมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 103 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองอรัญญิก เทศบาลตำบล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 76 แห่ง[5] โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้

อำเภอเมืองพิษณุโลก

อำเภอนครไทย

อำเภอชาติตระการ

อำเภอบางระกำ

อำเภอบางกระทุ่ม

อำเภอพรหมพิราม

อำเภอวัดโบสถ์

อำเภอวังทอง

อำเภอเนินมะปราง

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระบริรักษ์โยธี (ทองอยู่ สุวรรณบาตร์) ไม่ทราบข้อมูล
2 พระไชยศิรินทรภักดี 2456–2457
3 พระพิษณุโลกบุรี (สวัสดิ์ มหากายี) 2457–2458
4 พระเกษตรสงคราม 2458–2459
5 พระสวรรคโลกบุรี 2459–2461
6 พระยากัลยาวัฒนาวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) 2461–2470
7 พระยาสุนทรพิพิธ (เชย มัฆวิบูลย์) 2470–2476
8 พระยาศิรีชัยบุรินทร์ 12 มีนาคม 2456 – 1 กรกฎาคม 2476
9 พระสาครบุรานุรักษ์ (เปลื้อง สุวรรณนานนท์) 20 มีนาคม 2478 – 18 พฤษภาคม 2481
10 พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม 10 มิถุนายน 2481 – 18 มิถุนายน 2482
11 พระหลวงยุทธสารประสิทธิ์ (เมี้ยน โรหิตเสรนี) 24 มิถุนายน 2482 – 7กรกฎาคม 2483
12 พ.อ.พระศรีราชสงคราม (ศรี ศุขะวาที) 7 กันยายน 2483 – 7 พฤษภาคม 2484
13 พ.ต.หลวงยุทธสารประสิทธิ์ (เมี้ยน โรหิตเสรนี) 16 มิถุนายน 2484 – 27 กรกฎาคม 2485
14 หลวงวิเศษ ภักดี (ชื่น วิเศษภักดี) 28 เมษายน 2485 – 3 มกราคม 2487
15 หลวงศรีนราศัย (ผิว จันทิมาคม) 11 พฤษภาคม 2487 – 7 กรกฎาคม 2488
16 นายพรหม สูตรสุคนธ์ 7 กรกฎาคม 2488 – 7 ตุลาคม 2489
17 ขุนคำนวณวิจิตร (เชย บุนนาค) 18 พฤศจิกายน 2489 – 6 ธันวาคม 2490
18 ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุณยนิต) 6 ธันวาคม 2490 – 31 ธันวาคม 2493
19 นายพ่วง สุวรรณรัฐ 1 มกราคม 2494 – 10 พฤศจิกายน 2494
20 พต.ขุนทะยานราญรอน (วัชระ วัชรบูล) 12 กุมภาพันธ์ 2494 – 1 พฤศจิกายน
21 พระบรรณศาสตร์สาทร 1 กุมภาพันธ์ 2497 – 1 สิงหาคม 2497
22 นายปรง พระหูชนม์ 1 สิงหาคม 2497 – 22 กุมภาพันธ์ 2501
23 นายพ่วง สุวรรณรัฐ (รักษาการในตำแหน่ง ผ.ว.ก.จว.) 14 กุมภาพันธ์ 2501 – 3 มีนาคม 2501
24 นายเยียน โพธิสุวรรณ 27 มีนาคม 2501 – 3 เมษายน 2507
25 นายเจริญ ภมรบุตร 9 เมษายน 2507 – 4 กุมภาพันธ์ 2509
26 นายนิรุต ไชยกูล 11 กุมภาพันธ์ 2509 – 21 ตุลาคม 2510
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
27 นายพล จุฑางกูล 21 พฤศจิกายน 2510 – 2 ตุลาคม 2513
28 นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ 2 ตุลาคม 2513 – 21 กันยายน 2514
29 นายจำรูญ ปิยัมปุตระ 1 ตุลาคม 2514 – 1 ตุลาคม 2515
30 พล.ต.ต.สามารถ วายวานนท์ 1 ตุลาคม 2515 – 30 กันยายน 2517
31 นายสิทธิเดช นรัตถรักษา 1 ตุลาคม 2517 – 30 กันยายน 2519
32 นายชาญ กาญจนาคพันธุ์ 1 ตุลาคม 2519 – 30 กันยายน 2523
33 นายยง ภักดี 1 ตุลาคม 2523 – 30 กันยายน 2525
34 นายสืบ รอดประเสริฐ 1 ตุลาคม 2525 – 31 ตุลาคม 2528
35 นายนพรัตน์ เวชชศาสตร์ 1 พฤศจิกายน 2528 – 30 กันยายน 2532
36 นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาต 1 ตุลาคม 2532 – 30 กันยายน 2534
37 นายอภัย จันทนจุลกะ 1 ตุลาคม 2534 – 30 กันยายน 2536
38 นายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์ 1 ตุลาคม 2536 – 30 กันยายน 2539
39 นายนิธิศักดิ ราชพิตร 1 ตุลาคม 2539 – 30 กันยายน 2542
40 นายวิจารณ์ ไชยนันท์ 1 ตุลาคม 2542 – 30 กันยายน 2545
41 นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ 1 ตุลาคม 2545 – 30 กันยายน 2550
42 นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ 1 ตุลาคม 2550 – 15 มีนาคม 2552
43 นายปรีชา เรืองจันทร์ 16 มีนาคม 2552 – 27 เมษายน 2555
44 นายชัยโรจน์ มีแดง 27 เมษายน 2555 – 7 ตุลาคม 2555
45 นายปรีชา เรืองจันทร์ 8 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2556
46 นายระพี ผ่องบุพกิจ 1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2557
47 นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ 1 ตุลาคม 2557 – 30 กันยายน 2558
48 นายชูชาติ กีฬาแปง 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
49 นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560
50 นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ 1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561
51 นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ 1 ตุลาคม 2561 – ปัจจุบัน

ประชากรศาสตร์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ
(ปีล่าสุด)
อำเภอ พ.ศ. 2557[6] พ.ศ. 2556[7] พ.ศ. 2555[8] พ.ศ. 2554[9] พ.ศ. 2553[10] พ.ศ. 2552[11] พ.ศ. 2551[12]
1 เมืองพิษณุโลก 283,419 281,762 280,922 280,457 279,292 276,293 274,415
2 วังทอง 120,824 120,535 120,513 119,878 119,485 119,103 119,213
3 บางระกำ 94,980 94,832 94,578 94,020 93,841 93,725 93,673
4 พรหมพิราม 87,864 87,853 87,739 87,629 87,869 87,868 87,962
5 นครไทย 87,042 86,684 86,163 85,534 85,213 84,911 85,202
6 เนินมะปราง 58,208 58,043 58,062 57,916 57,873 57,906 58,015
7 บางกระทุ่ม 48,152 48,307 48,390 48,313 48,605 48,667 48,849
8 ชาติตระการ 40,801 40,633 40,432 40,144 40,121 39,759 39,483
9 วัดโบสถ์ 37,698 37,727 37,573 37,466 37,393 37,329 37,183
รวม 858,988 856,376 854,372 851,357 849,692 845,561 843,995|

การศึกษา

จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง มีสถานศึกษามากมายทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาล และเอกชนดังนี้

อุดมศึกษา
ป้ายมหาวิทยาลัยนเรศวร
ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร
อาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดพิษณุโลก
  • วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
  • วิทยาลัยเทคนิคสองแคว
  • วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
  • วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก
  • วิทยาลัยการอาชีพนครไทย
  • วิทยาลัยบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีพิษณุโลก
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการพิษณุโลก
มัธยมศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 (เฉพาะในจังหวัดพิษณุโลก)
  • อำเภอนครไทย
    • โรงเรียนนครชุมพิทยา รัชมังคลาภิเษก
    • โรงเรียนนครไทย
    • โรงเรียนนครบางยางพิทยาคม
    • โรงเรียนนาบัววิทยา
    • โรงเรียนบ่อโพธิ์วิทยา
    • โรงเรียนยางโกลนวิทยา
  • อำเภอวังทอง
    • โรงเรียนทรัพย์ไพรวัลย์วิทยาคม
    • โรงเรียนน้ำรินพิทยาคม
    • โรงเรียนเนินสะอาดวิทยาคม
    • โรงเรียนบ้านกลางพิทยาคม
    • โรงเรียนวังทองพิทยาคม
    • โรงเรียนวังพิกุลวิทยศึกษา
    • โรงเรียนสฤษดิ์เสนาพิทยาคม
    • โรงเรียนหนองพระพิทยา
  • อำเภอพรหมพิราม
    • โรงเรียนดงประคำพิทยาคม
    • โรงเรียนพรหมพิรามวิทยา
    • โรงเรียนวังมะด่านพิทยาคม

ประถมศึกษา

สาธารณสุข

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

จังหวัดพิษณุโลกมีสถานบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน คลินิก โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลทหาร โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย โดยมีโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขประจำจังหวัดและประจำภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างคือ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างก็คือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม คือ โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และโรงพยาบาลกองบิน 46

การขนส่ง

สถานีรถไฟพิษณุโลก

จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ทำให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นจุดศูนย์กลางในด้านคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย จังหวัดพิษณุโลกจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน" โดยสามารถเดินทางได้โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (แม่สอด-มุกดาหาร) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อินทร์บุรี-เชียงใหม่) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (พิษณุโลก-นครสวรรค์) โดยทางหลวงทั้ง 3 สายเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 (ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก)

โดยทั้งนี้จังหวัดพิษณุโลกมีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 2 แห่งด้วยกัน

  1. สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่ภายในตัวเมือง สำหรับรถโดยสารที่วิ่งบริเวณจังหวัดที่ใกล้เคียง
  2. สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกอินโดจีน เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ก่อสร้างบนเนื้อที่ 10 ไร 12 ตารางวา รองรับรถโดยสารที่มีเส้นทางผ่านจังหวัดพิษณุโลก รวม 20 เส้นทาง มีชานชาลาสำหรับจอดรถโดยสารทั้งหมด 40 ช่อง แบ่งเป็นอาคารสถานีฯหลังใหญ่ จำนวน 20 ช่อง อาคารสถานีฯหลังเล็ก จำนวน 20 ช่อง มีช่องจำหน่ายตั๋ว 27 ช่อง มีสถานที่จอดรถสำหรับประชาชนจำนวน 100 ช่อง มีการจัดสถานที่นั่งรอรถ สำหรับพระภิกษุและประชาชนอย่างเพียงพอ

นอกจากการคมนาคมทางรถยนต์แล้ว การเดินทางมาจังหวัดพิษณุโลกยังสามารถมาด้วยรถไฟ หรือเครื่องบิน โดยที่ท่าอากาศยานพิษณุโลก มีเครื่องบินมีสายการบินนกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ และ กานต์แอร์ มีเที่ยวบินมาลงท่าอากาศยานพิษณุโลกทุกวัน

ส่วนการเดินทางภายในตัวจังหวัดนั้น จะมีรถโดยสารสองแถวสีม่วง กับรถโดยสารประจำทางมินิบัสสีม่วง วิ่งให้บริการหลายสาย

สถานที่ท่องเที่ยว

อำเภอเมืองพิษณุโลก
วิหารเก้าห้องประดิษฐานพระอัฏฐารส ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
สมเด็จนางพญาเรือนแก้ว ในวัดนางพญา
อำเภอบางระกำ
อำเภอวังทอง
น้ำตกแก่งซอง อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
อำเภอนครไทย
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
อำเภอวัดโบสถ์
อำเภอชาติตระการ
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว บริเวณลานสนที่ความสูง 1,633 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ด้านหลังคือยอดภูสอยดาว ความสูง 2,102 เมตร)
อำเภอเนินมะปราง
อำเภอพรหมพิราม

บุคคลที่มีชื่อเสียง

เกจิคณาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพิษณุโลก
  • พระวรญาณมุนี (หลวงตาละมัย (แจ่ม สุธัมโม) วัดอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก
  • พระมงคลสุธี (หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ อำเภอบางระกำ
  • พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) วัดสระแก้วปทุมทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก
  • หลวงพ่อทรัพย์ วัดปลักแรด อำเภอบางระกำ
  • พระครูประพันธ์ศีลคุณ (หลวงพ่อพันธ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพานและเจ้าคณะอำเภอวังทองชั้นเอก
  • พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อวาว) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพานและเจ้าคณะตำบลวังทองชั้นเอกกิตติมศักดิ์
  • พระครูศีลสารสัมบัน (หลวงปู่อ่อน พุทธสโก) วัดเนินมะเกลือวนาราม อำเภอวังทอง
  • พระครูไพโรจน์คุณาธาร (หลวงปู่หล้า คุณาธโร) วัดหนองบัว อำเภอวังทอง
  • พระครูขันติธรรมาภินันท์ (หลวงพ่อเชื่อม) วัดหนองทอง อำเภอวังทอง
  • หลวงพ่อยี ปญญภาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) อำเภอบางกระทุ่ม
  • หลวงพ่อแห วัดหนองบัว อ.เมือง

ของดีจังหวัดพิษณุโลก

โรงงานทำพระพุทธรูป ในจังหวัดพิษณุโลก

อ้างอิง

  • จิตร ภูมิศักดิ์. ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย (โครงการสรรพนิพนธ์ จิตร ภูมิศักดิ์). กรุงเทพมหานคร: ฟ้าเดียวกัน , 2548.
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ A History of Thailand
  3. จิตร ภูมิศักดิ์. ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย หน้า 21. (ศัพท์สันนิษฐาน สรวง-สาง)
  4. "Climate Normals for Phitasnulok". องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration). สืบค้นเมื่อ 3 February 2013.
  5. ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552."203.113.86.149/stat/y_stat.htmlสืบค้น 30 มีนาคม 2553
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  13. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1447149968

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น