ข้ามไปเนื้อหา

มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์
ก่อตั้ง2000; 25 ปีที่แล้ว (2000)
ประเภทการประกวดความงาม
สํานักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
สมาชิก
นางงามจักรวาล
ภาษาทางการ
ไทย
บุคลากรหลัก
ณวัฒน์ อิสรไกรศีล
(ประธานกองประกวด)
องค์กรปกครอง
บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
สังกัดนางงามจักรวาล

มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ (อังกฤษ: Miss Universe Thailand) เป็นการประกวดนางงามในราชอาณาจักรไทย เพื่อคัดเลือกตัวแทนของราชอาณาจักรไทยเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาล

ประวัติ

[แก้]

ยุคนางสาวไทย

[แก้]
สัญลักษณ์การประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส (ปี 2547 - 2554)

องค์การนางงามจักรวาล (Miss Universe Organization) มอบสิทธิในการจัดหาผู้แทนประเทศไทย เพื่อเข้าประกวดนางงามจักรวาล แก่ชาติเชื้อ กรรณสูต เป็นคนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 โดยขณะนั้น คุณชาติเชื้อมีทั้งสถานะของ กรรมการผู้จัดการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และนายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เป็นผู้ถือสิทธิในชื่อการประกวดนางสาวไทย เขาจึงนำทั้งสององค์กร มาร่วมกันจัดการประกวดนางสาวไทย เพื่อส่งผู้ชนะเลิศเป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าประกวดนางงามจักรวาลดังกล่าว จนกระทั่งคุณชาติเชื้อเสียชีวิตลง องค์การนางงามจักรวาลจึงสนับสนุนให้ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ผู้เป็นน้องสาวของชาติเชื้อ เป็นผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวต่อไป

ยุคจันทร์ 25 (ปี 2543-2561)

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2543 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย นำชื่อการประกวดนางสาวไทย ไปจัดร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ก่อนที่หลังจากปี พ.ศ. 2551 จะย้ายไปจัดร่วมกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ จนถึงปี พ.ศ. 2559 นางสาวไทยถึงกลับมาจัดการประกวดที่ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่นเดิม ด้วยกรณีดังกล่าว ช่อง 7 สี จึงก่อตั้งการประกวดในชื่อใหม่ว่ามิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ต่อมาองค์การนางงามจักรวาล มีมติให้ผู้ถือลิขสิทธิ์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก กำหนดชื่อการประกวด และชื่อตำแหน่งนางงามของแต่ละประเทศ โดยใช้คำว่ามิสยูนิเวิร์ส และตามด้วยชื่อประเทศนั้น ๆ เป็นผลให้สุรางค์ประกาศเปลี่ยนชื่อการประกวดเป็น มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ในการแถลงข่าวการจัดประกวดในครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 พร้อมทั้งเปลี่ยนผู้ดำเนินการถ่ายทอดโทรทัศน์ จากช่อง 7 สีไปเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เนื่องจาก บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ มีคำสั่งให้สุรางค์พ้นจากทุกตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปีถัดมา[1]

ต่อมา บริษัท จันทร์ 25 จำกัด ผู้จัดการประกวด เปลี่ยนผู้ดำเนินการถ่ายทอดโทรทัศน์อีกครั้งจาก ททบ.5 ไปเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตั้งแต่การประกวดในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป[2] เนื่องจาก ททบ.5 ต้องปรับปรุงเนื้อหารายการ เป็นบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคง ตามที่ กสทช. กำหนด จึงไม่สามารถเผยแพร่การประกวด ซึ่งถือเป็นรายการประเภทบันเทิงต่อไปได้ ประกอบกับทางบริษัท จันทร์ 25 จำกัด ร่วมผลิตละครกับทางบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 จึงมีความสัมพันธ์อันดีอยู่แล้ว เป็นสองเหตุผลสำคัญ ที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ยุคทีพีเอ็น (ปี 2562-2567)

[แก้]

ภายหลังในปี พ.ศ. 2562 บริษัท ทีพีเอ็น 2018 จำกัด โดยสมชาย ชีวสุทธานนท์, ปิยาภรณ์ แสนโกศิก และณรงค์ เลิศกิตศิริ ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรนางงามจักรวาล ให้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์แทนสุรางค์เป็นระยะเวลา 5 ปี[3] ทำให้มีการเปลี่ยนผู้ดำเนินการถ่ายทอดโทรทัศน์อีกครั้งเป็น พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36 ที่เคยได้สิทธิ์ถ่ายทอดสดนางงามจักรวาล 2018 ที่ทีพีเอ็นได้รับสิทธิ์จัดการประกวดมาก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ทีพีเอ็น 2018 ได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด

หลังจาก บมจ.เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป เข้าซื้อกิจการทั้งหมดขององค์กรนางงามจักรวาลจากเอนเดฟเวอร์ไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเจเคเอ็นในฐานะเจ้าขององค์กรนางงามจักรวาล กล่าวว่าจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือลิขสิทธิ์มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ อีกทั้งกล่าวว่าองค์กรฯ และทีพีเอ็น โกลบอล จะยังคงทำงานร่วมกันต่อไป[4][5]

ยุคเอ็มจีไอ (ปี 2568-ปัจจุบัน)

[แก้]

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 คณะกรรมการของบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ถือลิขสิทธิ์การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ได้อนุมัติเข้าซื้อลิขสิทธิ์การประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ จากเจเคเอ็น โกลบอล คอนเทนต์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ที่เป็นเจ้าของร่วมขององค์กรนางงามจักรวาล เป็นระยะเวลา 5 ปี ด้วยมูลค่า 180,000,000 บาท ทำให้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์แทนทีพีเอ็น โกลบอล ไปโดยปริยาย[6] พร้อมกับในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2568 ทางคณะกรรมการบริษัทได้ประกาศออกมาว่ามีมติอนุมัติในการได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพการจัดประกวดนางงามจักรวาล ครั้งที่ 74 ณ ประเทศไทย[7]

เพลงประจำการประกวด[8]

[แก้]

ในการประกวดนางสาวไทย (ยุคช่อง 7 สีร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ) มีการใช้เพลง เดือนในหมู่ดาว (ชื่ออื่น: เธอ, ยอดพธู) ซึ่งขับร้องโดยเต๋อ - เรวัต พุทธินันทน์ เริ่มใช้ครั้งแรกในการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527 (ต่อมาจัดทำดนตรีและขับร้องใหม่ ใช้ครั้งแรกในการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2535) เป็นเพลงประจำการประกวด

ต่อมาในยุคมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ก็เปลี่ยนมาใช้เพลงหนึ่งในร้อย ขับร้องโดยเบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์ จากนั้นในยุคมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ สุรางค์นำเพลงเดือนในหมู่ดาว ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ส่วนบุคคลของตน มาให้เบิร์ดขับร้องใหม่ เพื่อใช้กับการประกวดในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2560 มีการจัดทำเพลง "สู่จักรวาล" เป็นเพลงประจำการประกวดเพลงที่ 3 ซึ่งขับร้องโดย เวลล์ - ดิษย์กรณ์ ดิษยนันทน์ (มิสเตอร์ดี) ส่วน "เดือนในหมู่ดาว" และ "หนึ่งในร้อย" ก็ยังมีการใช้ในเวทีการประกวดเช่นเดิม

ในปี พ.ศ. 2562 หลังจากเปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็นทีพีเอ็น จึงได้จัดทำเพลง หนึ่งเดียวในใจ (You're the one) ขึ้นมาเป็นเพลงประจำการประกวดเพลงใหม่ ขับร้องโดย อภิวัฒน์ พงษ์วาท (หนึ่ง อีทีซี) และได้เผยแพร่ครั้งแรกในงานแถลงข่าวเปิดตัวผู้เข้าร่วมประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2019 ในวันที่ 12 มิถุนายน ณ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี[9]

ในปี พ.ศ. 2563 ทีพีเอ็นได้จัดทำเพลง จักรวาลคือเธอ (You are the Universe) ขึ้นมาเป็นเพลงประจำการประกวดเพลงใหม่ ขับร้องโดย ธนิดา ธรรมวิมล (ดา เอ็นโดรฟิน) และได้เผยแพร่ครั้งแรกในการประกวดรอบออดิชันรอบแรกของมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2020 ในวันที่ 8 กันยายน ณ อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ[10]

รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่ง

[แก้]
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด สถานที่จัดประกวด จังหวัดเจ้าภาพ ผู้เข้าประกวด
มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ภายใต้การบริหารโดย บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
2568 (2025) รอประกาศ เอ็มจีไอ ฮอลล์, บราโว บีเคเค ภูเก็ต รอประกาศ
มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ภายใต้การบริหารโดย บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด
2567 (2024) สุชาตา ช่วงศรี กรุงเทพมหานคร เอ็มซีซี ฮอลล์, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ประจวบคีรีขันธ์ 40
2566 (2023) แอนโทเนีย โพซิ้ว นครราชสีมา เอ็มซีซี ฮอลล์ เอ็ม ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน ขอนแก่น 55
2565 (2022) แอนนา เสืองามเอี่ยม กรุงเทพมหานคร ทรู ไอคอน ฮอลล์, ไอคอนสยาม เพชรบุรี 30
2564 (2021) แอนชิลี สก็อต-เคมมิส ฉะเชิงเทรา สวนนงนุช, เมืองพัทยา, ชลบุรี นครราชสีมา 30
2563 (2020) อแมนด้า ออบดัม ภูเก็ต ทรู ไอคอน ฮอลล์, ไอคอนสยาม ประจวบคีรีขันธ์ 30
มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ภายใต้การบริหารโดย ทีพีเอ็น 2018 จำกัด
2562 (2019) ปวีณสุดา ดรูอิ้น กรุงเทพมหานคร ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี ภูเก็ต, ชลบุรี 60
มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ภายใต้การบริหารโดย จันทร์ 25 จำกัด
2561 (2018) โศภิดา กาญจนรินทร์ กรุงเทพมหานคร รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน กระบี่ 40
2560 (2017) มารีญา พูลเลิศลาภ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ 40
2559 (2016) ชลิตา ส่วนเสน่ห์ สมุทรปราการ พังงา 40
2558 (2015) อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ ลำปาง อุบลราชธานี 40
2557 (2014) เวฬุรีย์ ดิษยบุตร (สละตำแหน่ง)[11] กาญจนบุรี ร้อยเอ็ด 40
พิมพ์บงกช จันทร์แก้ว (ปฏิบัติหน้าที่แทน) กรุงเทพมหานคร
2556 (2013) ชาลิตา แย้มวัณณังค์ นครราชสีมา กระบี่ 44
2555 (2012) ณัฐพิมล นาฏยลักษณ์[12] กระบี่ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์ เธียเตอร์ พิษณุโลก 44
มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ภายใต้การบริหารโดย จันทร์ 25 จำกัด
2554 (2011) ชัญษร สาครจันทร์ ชลบุรี รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน ลำพูน 44
2553 (2010) ฝนทิพย์ วัชรตระกูล สมุทรปราการ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ กำแพงเพชร 44
2552 (2009) ชุติมา ดุรงค์เดช กรุงเทพมหานคร สุราษฎร์ธานี 44
2551 (2008) กวินตรา โพธิจักร หนองคาย โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ กรุงเทพมหานคร 44
2550 (2007) ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม ปทุมธานี โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ ตรัง 44
2549 (2006) ไอยวริญท์ โอสถานนท์ กรุงเทพมหานคร นครสวรรค์ 44
2548 (2005) ชนันภรณ์ รสจันทน์ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต 44
2547 (2004) มรกต กิตติสาระ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ 44
2546 (2003) เยาวลักษณ์ ไตรสุรัตน์ นครศรีธรรมราช สระแก้ว 44
2545 (2002) จันจิรา จันทร์โฉม พิษณุโลก นครปฐม 44
2544 (2001) วรินทร ผดุงวิถี นนทบุรี เพชรบุรี 60
2543 (2000) กุลธิดา เย็นประเสริฐ กรุงเทพมหานคร กระบี่ 60

ทำเนียบมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์

[แก้]

ตารางตำแหน่ง

[แก้]

ตารางต่อไปนี้แสดงจำนวนผู้เข้าประกวดที่เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการประกวดระดับนานาชาติ (เฉพาะการประกวดประจำปีที่เสร็จสิ้นแล้ว) ภายใต้บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โดยมีรายละเอียดเฉพาะแฟรนไชส์ระดับนานาชาติปัจจุบันที่กลุ่มบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ถือครอง.

ชื่อการประกวด เข้าร่วมประกวด ชนะเลิศ รองอันดับ
1
รองอันดับ
2
รองอันดับ
3
รองอันดับ
4
5 คน
สุดท้าย
6 คน
สุดท้าย
8 คน
สุดท้าย
10 คน
สุดท้าย
12 คน
สุดท้าย
15 คน
สุดท้าย
16 คน
สุดท้าย
20 คน
สุดท้าย
จำนวนตำแหน่ง
ทั้งหมด
มิสยูนิเวิร์ส 25 2023 2024 20172019 2016 20152018
2020
2007 2006 10
อดีตแฟรนไชส์
มิสอินเตอร์เนชันแนล 4 2010 2013 2
มิสเอิร์ธ 15 2004 • 2007
• 2009 • 2017
7
มิสอินเตอร์คอนติเนนตัล 8 2023 2006 2007 3
มิสคอสโม 1 2024 1
มิสโกลบอล 1 2025 1
มิสแพลนเน็ตอินเตอร์เนชันแนล 1 2023 1
มิสกลามอร์ลุคอินเตอร์เนชันแนล 1 2024 1
มิสซิสกลามอร์ลุคออฟเดอะเยียร์ 1 2024 1
มิสอาเซียนเฟรนด์ชิพ 1 0
มิสซูเปอร์ทาเลนต์ออฟเดอะเวิลด์ 1 2017 1
มิสทัวริซึมอินเตอร์เนชันแนล 8 2013 2011 2008 2005 2006 2012 2010 7
มิสทัวริซึมควีนอินเตอร์เนชันแนล 1 0
มิสทัวริซึมเวิลด์ 1 2003 1
มิสทัวริซึมเมโทรโพลิตันอินเตอร์เนชันแนล 1 2007 1
มิสเอเชียแปซิฟิก 5 2001 2000 2
มิสทัวริซึมควีนออฟเดอะเยียร์อินเตอร์เนชันแนล 5 2006 2000 2010 • 2011 4
มิสทัวริซึมอินเตอร์เนชันแนล (จีน) 1 0
รวม (81) (3) (5) (3) (5) (2) (2) (1) (5) (4) (1) (2) (1) (5) (43)

พิธีกรหลัก

[แก้]
ปี ช่องโทรทัศน์ พิธีกรหลัก
คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 คนที่ 4
2567 (2024) ช่องวัน 31[13] กรกันต์ สุทธิโกเศศ ไม่มี
2566 (2023) พีพีทีวี ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร ไม่มี
2565 (2022) ไม่มี
2564 (2021) ไม่มี
2563 (2020) ริสา หงษ์หิรัญ ไม่มี
2562 (2019) ไม่มี
2561 (2018) ช่อง 3 อาลิซาเบธ แซ๊ดเลอร์ ลีนานุไชย ไม่มี
2560 (2017) ภูมิภาฑิต นิตยารส ไม่มี
2559 (2016) ไม่มี
2558 (2015) ไม่มี
2557 (2014) วิลลี่ แมคอินทอช ไม่มี
2556 (2013) ช่อง 5 กนิษฐ์ สารสิน ไม่มี
2555 (2012) ไม่มี
2554 (2011) ช่อง 7 สัญญา คุณากร สิริลภัส กองตระการ วรรษพร วัฒนากุล ไม่มี
2553 (2010) กรรณาภรณ์ พวงทอง ไม่มี
2552 (2009) ณัฐวุฒิ สกิดใจ เอมี่ กลิ่นประทุม ไม่มี
2551 (2008) ศรุดา สุทธิเจริญ อุษณีย์ วัฒฐานะ ไม่มี
2550 (2007) ณัฐวุฒิ สกิดใจ วรัทยา นิลคูหา อัมภิกา ชวนปรีชา
2549 (2006) ศศินา วิมุตตานนท์ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ไม่มี
2548 (2005) วรนุช ภิรมย์ภักดี สุฐิตา ปัญญายงค์ ไม่มี
2547 (2004) ศศินา วิมุตตานนท์ ไม่มี
2546 (2003) อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ไม่มี
2545 (2002) ศศิกานต์ อภิชาตวรศิลป์ ไม่มี
2544 (2001) ไดอาน่า จงจินตนาการ ไม่มี
2543 (2000) บุษกร วงศ์พัวพันธ์ ลินดา ครอส ไม่มี


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สุรางค์ เปรมปรีดิ์ พ้นช่อง 7 สีตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เหตุหมดสัญญาจ้าง[ลิงก์เสีย]
  2. ข่าวประชาสัมพันธ์, ช่อง 3 จับมือคุณแดง สุรางค์ จัด MISS UNIVERSE THAILAND 2014, เว็บไซต์ไทยทีวีสีช่อง 3, 5 มีนาคม 2557.
  3. MUT เปลี่ยนมือ ตี๋แมชชิ่งคว้าลิขสิทธิ์ตีตั๋วยาว 5 ปีต่อเนื่อง
  4. บันเทิง, อีจัน. "แอน จักรพงษ์ ตอบชัดรูปแบบการประกาด MU หลังเป็นเจ้าของ 100%". อีจัน.
  5. Miss Universe มงในมือเจ้าของใหม่ “แอน จักรพงษ์” ต่อยอดธุรกิจ JKN ปั้นรายได้ทะลุจักรวาล 2-3 ปีคืนทุน
  6. "แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2568 เรื่องการเข้าลงทุนโดยการซื้อลิขสิทธิ์ การจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ (MUT) และการกู้ยืมเงินจากบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน" (PDF). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. บมจ.มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล. 17 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2025. {{cite news}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 87 (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. วิรัช บูรณกนกธนสาร (6 มีนาคม 2025). "MGI ได้รับสิทธิจัดประกวดมิสยูนิเวิร์สครั้งที่ 74 ในไทย ช่วง พ.ย.68". ทันหุ้น. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2025.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "จาก 'หนึ่งในร้อย' สู่ 'จักรวาลคือเธอ' บทเพลงความทรงจำของการประกวด Miss Thailand Universe". เดอะสแตนดาร์ด. 2020-09-03. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "เผยโฉม 58 สาวงาม ชิงมงกุฎ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2019". ข่าวสด. 2019-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "เผยชื่อ 50 สาวงาม Miss Universe Thailand พร้อมตั๋ว Golden Tiara 5 ใบ ไปรอบ 30 คนทันที". เดอะสแตนดาร์ด. 2020-09-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ""ฝ้าย" ปล่อยโฮประกาศสละตำแหน่ง MUT 2014". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-12. สืบค้นเมื่อ 2014-06-09.
  12. ""ริด้า" สาวอักษร จุฬาฯ คว้ามิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2012". VoiceTV. 2012-06-03. สืบค้นเมื่อ 6 Jul 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "ฮือฮา! ช่องวัน 31 ทุ่ม 10 ล้าน ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด "MUT-นางสาวไทย" เปิดกว้างร่วมงานทุกเวที". mgronline.com. 2023-12-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]