แม่น้ำยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำยม
แผนที่แสดงตำแหน่งลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกับลุ่มน้ำสาขาต่าง ๆ
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดพะเยา, แพร่, สุโขทัย, พิษณุโลก, พิจิตร, นครสวรรค์
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำทิวเขาผีปันน้ำ
 • ตำแหน่งบ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา
 • ระดับความสูง347 เมตร (1,138 ฟุต)
ปากน้ำแม่น้ำน่าน
 • ตำแหน่ง
ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
 • ระดับความสูง
28 เมตร (92 ฟุต)
ความยาว735 กิโลเมตร (456 ไมล์)[1]
พื้นที่ลุ่มน้ำ24,047 ตารางกิโลเมตร (9,285 ตารางไมล์)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งจังหวัดนครสวรรค์
 • เฉลี่ย103 m3/s (3,600 cu ft/s)
 • สูงสุด1,916 m3/s (67,700 cu ft/s)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ขวาแม่น้ำงาว

แม่น้ำยม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบสูงชันสลับซับซ้อนบนทิวเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ในเขตจังหวัดพะเยาและแพร่ โดยมีแม่น้ำงิม และแม่น้ำควร ไหลมาบรรจบกันที่บ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีความยาวประมาณ 735 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูงของอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย

สภาพโครงสร้างทางน้ำของแม่น้ำยมมีลักษณะแบบกิ่งไม้ ประกอบด้วยลำน้ำสาขา 77 สาย ระดับน้ำสูงสุดในฤดูฝน ลดลงเมื่อถึงฤดูหนาว และต่ำสุดในฤดูร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

ลำน้ำสาขา[แก้]

ต้นน้ำ[แก้]

ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำยมประกอบด้วย

ลำน้ำสาขาฝั่งขวา[แก้]

จังหวัดพะเยา[แก้]

จังหวัดแพร่[แก้]

แม่น้ำงาวตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่

จังหวัดสุโขทัย[แก้]

จังหวัดพิษณุโลก[แก้]

จังหวัดพิจิตร[แก้]

จังหวัดนครสวรรค์[แก้]

ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย[แก้]

จังหวัดพะเยา[แก้]

จังหวัดแพร่[แก้]

จังหวัดสุโขทัย[แก้]

จังหวัดพิษณุโลก[แก้]

จังหวัดพิจิตร[แก้]

จังหวัดนครสวรรค์[แก้]

ลุ่มน้ำยม[แก้]

สิ่งมีชีวิตในแม่น้ำยม[แก้]

ชนิดและปริมาณพันธุ์ไม้ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล คือ มีมากในฤดูหนาวและฤดูร้อน ลดลงในฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ระดับน้ำสูงและกระแสน้ำไหลแรงจนทำให้พืชใต้น้ำและบนผิวน้ำถูกพัดพากระจัดกระจายไป พืชใต้น้ำมีเพียงชนิดเดียวคือสาหร่ายหางกระรอกซึ่งเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในฤดูร้อน เนื่องจากระดับน้ำไม่สูงมาก แสงแดดสามารถส่องถึงได้ นอกจากนี้ยังพบต้นกก พืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม โผล่พ้นน้ำกระจายอยู่ทั่วไป แม่น้ำยมมีพืชชายน้ำหลายชนิด เช่น หญ้าคา หญ้าแพรก แขม และอ้อ

ในแม่น้ำยมมีปลาน้ำจืด 38 ชนิด ปริมาณปลามีมากที่สุดในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว ปลาที่พบมาก ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลาซิว และปลารากกล้วย

พื้นที่คุ้มครอง[แก้]

แม่น้ำยมไหลผ่านอุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่

อ้างอิง[แก้]

  • นทีศรียมนา, กรมวิชาการ, กรุงเทพฯ, 2544

พิกัดภูมิศาสตร์: 19°23′24″N 100°27′18″E / 19.39000°N 100.45500°E / 19.39000; 100.45500

แม่แบบ:สะพานข้ามแม่น้ำยม

  1. "Longest Rivers in Thailand". 25 April 2017.