สี่แยกอินโดจีน
![]() | |
![]() | |
ชื่ออักษรไทย | อินโดจีน |
---|---|
ที่ตั้ง | ตำบลสมอแข อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก |
ทิศทางการจราจร | |
↑ | ถนนพิษณุโลก–อุตรดิตถ์ » แยกดงประโดก ต่อไปยัง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน ลำปาง พะเยา เชียงราย |
→ | ถนนมิตรภาพ (พิษณุโลก–วังทอง–หล่มสัก) ถนนพิษณุโลก–วังทอง–เขาทราย » แยกซีพี ต่อไปยัง หล่มสัก ขอนแก่น มุกดาหาร |
↓ | ถนนเลี่ยงเมืองพิษณุโลกด้านใต้ » แยกหนองอ้อ ต่อไปยัง พิจิตร นครสวรรค์ |
← | ถนนมิตรภาพ (พิษณุโลก–สุโขทัย–ตาก) » แยกเรือนแพ ต่อไปยัง เมืองพิษณุโลก สุโขทัย ตาก แม่สอด |
สี่แยกอินโดจีน หรือ สี่แยกร้องโพธิ์ เป็นสี่แยกจุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ช่วงพิษณุโลก–อุตรดิตถ์), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 และถนนเลี่ยงเมืองพิษณุโลกด้านใต้ ที่ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
โครงการสี่แยกอินโดจีนเกิดขึ้นหลังจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นสี่แยกอินโดจีน เพื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในโครงการถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) ย่างกุ้ง–ตาก–พิษณุโลก–ขอนแก่น–สุวรรณเขต–ดานัง และโครงการถนนสายเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) คุนหมิง–กรุงเทพมหานคร ซึ่งทั้งสองโครงการมีจุดตัดเส้นทางในประเทศไทยที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดตาก
ในปี พ.ศ. 2550 ทางจังหวัดพิษณุโลกได้ขอใช้พื้นที่ของกรมทางหลวงบริเวณสี่แยกอินโดจีน บนทางหลวงหมายเลข 11 ช่วงพิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ประมาณ 9 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ในรูปแบบศูนย์วัฒนธรรมไทย และศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ได้แก่ จีน พม่า ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย[1]
ป้ายบอกระยะทาง
[แก้]เป็นป้ายสีน้ำเงินติดตั้งเหนือถนนทั้ง 4 ด้านของทางแยก เพื่อบอกระยะทางไปยังเมืองสำคัญในประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ทิศ เป็นการแสดงออกถึงความเป็นจุดศูนย์กลางของสี่แยกอินโดจีน
- ทิศเหนือ ไปคุนหมิง 1,460 กิโลเมตร
- ทิศตะวันตก ไปย่างกุ้ง 670 กิโลเมตร
- ทิศตะวันออก ไปดานัง 1,010 กิโลเมตร
- ทิศใต้ ไปกัวลาลัมเปอร์ 1,840 กิโลเมตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2551