โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital | |
---|---|
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 | |
![]() | |
![]() | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | 90 ถนนศรีธรรมไตรปิฎก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, ประเทศไทย |
พิกัด | 16°48′30″N 100°15′49″E / 16.808436°N 100.263549°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 16°48′30″N 100°15′49″E / 16.808436°N 100.263549°E |
หน่วยงาน | |
ประเภท | ภูมิภาค |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล |
บริการสุขภาพ | |
จำนวนเตียง | 1,063 เตียง |
ประวัติ | |
ชื่อเดิม | โรงพยาบาลพิษณุโลก |
เปิดให้บริการ | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย และจัดอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะโรงพยาบาลระดับภูมิภาค โดยมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษา โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งจัดอบรมแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร[1] ตลอดจนเป็นโรงพยาบาลในเครือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล[2]
ประวัติ[แก้]
ก่อน พ.ศ. 2483 จังหวัดพิษณุโลกมีเพียงสถานีอนามัยชื่อ 'สถานีอนามัยเบญจมราชานุสรณ์' ใน พ.ศ. 2482 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยแพทย์และขุนนางในท้องที่ได้ร้องขอเงินทุนจากกองสาธารณสุข (ปัจจุบันคือกระทรวงมหาดไทย) เพื่อสร้างโรงพยาบาลในพิษณุโลก โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ซึ่งถือเป็นวันก่อตั้งโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลยังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากสงครามฝรั่งเศส-ไทย กับอินโดจีนของฝรั่งเศส โดยโรงพยาบาลได้เปิดทำการชั่วคราวเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2484 กระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน และเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายนในปีเดียวกัน โดยมีความจุ 50 เตียง แบ่งเป็นครึ่งหนึ่งสำหรับแต่ละเพศ เดิมโรงพยาบาลชื่อ 'โรงพยาบาลพิษณุโลก' แต่ต่อมาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น 'โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก' เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
ใน พ.ศ. 2492 วิทยาลัยพยาบาลพุทธชินราชได้รับการจัดตั้งขึ้น โดยเป็นวิทยาลัยพยาบาลแห่งแรกนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักในนามวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2538 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ได้เข้าสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และอบรมแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)[3][4]
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก[แก้]
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อ | ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก |
ชื่ออังกฤษ | Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital Medical Education Center |
ผู้อำนวยการ | พญ.อรวรรณ ไชยมหาพฤกษ์ |
สัญลักษณ์ | ตราสัญลักษณ์โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก |
วารสาร | พุทธชินราชเวชสาร |
สถานปฏิบัติการ | โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก |
ที่อยู่ | 90 ถนนศรีธรรมไตรปิฎก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์แห่งแรกกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537
ประวัติ[แก้]

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2538 ที่เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินโครงการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท โดยกำหนดให้โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาแพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมีการทำข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2538 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จึงได้เริ่มรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกจำนวน 33 คน จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. 2541 โดยทางโรงพยาบาลได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข เป็นเงิน 555.68 ล้านบาท ประกอบด้วยอาคารเรียนรวม 1 หลัง และอาคารหอพักนิสิตแพทย์ 1 หลัง
ทั้งนี้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เข้ามาร่วมพัฒนาในด้านการจัดทำหลักสูตรรายวิชาและการพัฒนาอาจารย์แพทย์และบุคลากรร่วมกัน รวมทั้งการชี้แจงนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อมาได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก เป็นรองคณบดีฝ่ายคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มาจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะพิเศษของ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทก็คือ การคัดเลือกนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากภูมิภาคและให้กลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาเดิม เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาวิชาแพทยศาสตร์มากขึ้น เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องปฏิบัติงานในภูมิลำเนาเดิมไม่น้อยกว่า 3 ปี หากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ จะต้องชดใช้ทุนให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามที่กำหนด
หลักสูตรการศึกษา[แก้]
ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ใน 1 หลักสูตร คือ
ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]
ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต[แก้]
โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และพะเยา โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องทำงานใช้ทุนในจังหวัดภูมิลำเนาของตนเองเป็นเวลา 3 ปี โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงประมาณเดือนกันยายนของทุกปี ตามประกาศรับตรงประจำปีของมหาวิทยาลัยนเรศวร
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "CPIRD". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2018-05-02. สืบค้นเมื่อ 2018-05-24.
- ↑ "หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.๒๕๕๖) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล" (PDF). เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-12.
- ↑ "ข้อมูลโรงพยาบาล".
- ↑ "ประวัติโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก".