รุ่ง สุริยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่ง สุริยา
เอกราช สุวรรณภูมิ (ซ้าย), ปีเตอร์ โฟดิฟาย (กลาง), รุ่ง สุริยา (ขวา) อีกส่วนหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง "รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน" (2556)
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดณรงค์ แซ่วี
รู้จักในชื่อสุภาพบุรุษลูกทุ่ง
เกิด14 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 (53 ปี)
ที่เกิดอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
แนวเพลงเพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้องและนักแสดง
ช่วงปีพ.ศ. 2541–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงท็อปไลน์มิวสิค

ณรงค์ แซ่วี หรือรู้จักกันในนาม รุ่ง สุริยา เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง[1][2] และนักแสดงชาวไทย มีผลงานอันเป็นที่รู้จัก "วอนพ่อตากสิน" , "รักจริงให้ติงนัง" ฯลฯ[3]

ประวัติ[แก้]

รุ่ง สุริยา เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง ฉายา สุภาพบุรุษลูกทุ่ง มีชื่อจริงว่า ณรงค์ แซ่วี เป็นชาวจังหวัดพิษณุโลก เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของนางสวย แซ่วี (เสียชีวิต) มีพี่น้องด้วยกัน 7 คน สุริยาเป็นบุตรคนสุดท้อง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์[4]

รุ่ง สุริยา รักการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ โดยเขาขึ้นเวทีประกวดร้องเพลงมามากมาย โดยเฉพาะในแนวเพลงของ ยอดรัก สลักใจ จนกระทั่งขึ้นเวทีประกวดของแอ็ด เทวดา ซึ่งก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ เด็ดดวง ดอกรัก จึงสนับสนุนให้เป็นนักร้องอัดแผ่นเสียง ตอนนั้นใช้ชื่อว่า ดุษฎี ดอกรัก เริ่มต้นจากบันทึกเสียงเพลงที่มีชื่อเสียงมาก่อนแล้ว เช่น น้ำตาลก้นแก้ว รอยไถแปร แม่ค้าตาคม ชวนน้องแต่งงาน ฯลฯ

ต่อมาได้พบกับ พร พนาไพร อดีตศิษย์เอกของครูสุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งไทยในตำนาน โดยพรชอบในน้ำเสียงของเขาจึงชวนให้มาอัดแผ่นเสียง และตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "รุ่ง สุริยา" และได้บันทึกเสียงเพลงชุด "วอนพ่อตากสิน" ในปี พ.ศ. 2540 จนเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ต่อมาเจนภพ จบกระบวนวรรณ นักจัดรายการวิทยุคลื่นลูกทุ่งเอฟ เอ็ม แต่งเพลง "รักจริงให้ติงนัง" ให้กับ รุ่ง สุริยา ซึ่งเพลงนี้เป็นเพลงที่สร้างชื่อให้รุ่ง สุริยา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541

ตลับเทปจากปกอัลบั้มเสน่ห์ลูกทุ่ง พ.ศ. 2541

ผลงาน[แก้]

อัลบั้ม[แก้]

  • ชุด น้ำตาลก้นแก้ว (พ.ศ.2531)
  • ขุด ฝันกลางแดด (พ.ศ.2531)
  • ชุด กะทูนสะอื้น (พ.ศ.2531)
  • ชุด ทรงไทย เจาะเวลา (พ.ศ.2536)
  • ชุดที่ 1 อัลบั้ม วอนพ่อตากสิน บริษัท บุษปะเกศ สตูดิโอ จำกัด (พ.ศ. 2540)
  • ชุดที่ 2 อัลบั้ม ติงนัง บริษัท บุษปะเกศ สตูดิโอ จำกัด (พ.ศ. 2541)
  • ชุดพิเศษ อัลบั้ม เพลงประกอบละคร เสน่ห์ลูกทุ่ง บริษัท บุษปะเกศ สตูดิโอ จำกัด (พ.ศ. 2541)
  • ชุดที่ 3 อัลบั้ม รักหนีที่เซเว่น บริษัท บุษปะเกศ สตูดิโอ จำกัด (พ.ศ. 2542)
  • ชุดพิเศษ อัลบั้ม รวมฮิตสาวสี่ภาค บริษัท บุษปะเกศ สตูดิโอ จำกัด / บริษัท เมโทรแผ่นเสียง-เทป (1981) จำกัด (พ.ศ. 2543)
  • ชุดที่ 4 อัลบั้ม รักคุณดอตคอม บริษัท เมโทรแผ่นเสียง-เทป (1981) จำกัด (พ.ศ. 2544)
  • ชุดพิเศษ อัลบั้ม รวมเพลงฮิต รุ่งคูณสาม บริษัท เมโทรแผ่นเสียง-เทป (1981) จำกัด (พ.ศ. 2544)
  • ชุดพิเศษ ร้องคู่ ปู ชุลีพร (ปู สลาตัน) อัลบั้ม ขอเบอร์ขอรัก บริษัท เออซ่าส์เมเจอร์ จำกัด (พ.ศ. 2544)
  • ชุดที่ 5 อัลบั้ม ฉ่อยลองเชิง บริษัท เมโทรแผ่นเสียง-เทป (1981) จำกัด (พ.ศ. 2545)
  • ชุดที่ 6 อัลบั้ม เพลงรักมือถือ บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด (พ.ศ. 2545)
  • ชุดที่ 7 อัลบั้ม มณีเมขลา บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด (พ.ศ. 2546)
  • ชุดที่ 8 อัลบั้ม น้ำตาหล่นบนมือถือ บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด (พ.ศ. 2547)
  • ชุดที่ 9 อัลบั้ม รักรอนที่ดอนเจดีย์ บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด (พ.ศ. 2548)
  • ชุดที่ 10 อัลบั้ม รักคนหน้าเหลี่ยม บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด (พ.ศ. 2549)
  • ชุดที่ 11 อัลบั้ม พระจันทร์ร้องไห้ บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด (พ.ศ. 2551)
  • ชุดที่ 12 อัลบั้ม ความรักเดลิเวอรี่ บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด (พ.ศ. 2553)

ละครโทรทัศน์[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

อื่นๆ[แก้]

  • พ.ศ. 2551 ละครฟื้นฟูศีลธรรมโลก เรื่อง ผู้หญิงคนนี้ชื่อสวาท

กรรมการตัดสิน[แก้]

รางวัล[แก้]

  • รางวัลและเกียรติยศ - รางวัลพระพิฆเนศทอง จากเพลงวอนพ่อตากสิน ปี 2551
  • รางวัลมาลัยทอง - ประเภทนักร้องชายยอดเยี่ยม ปี 2551

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]