ปีบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปีบ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: แอสเทอริด
อันดับ: กะเพรา
วงศ์: วงศ์แคหางค่าง
เผ่า: Oroxyleae
L.f.
สกุล: Millingtonia
L.f.
สปีชีส์: Millingtonia hortensis
ชื่อทวินาม
Millingtonia hortensis
L.f.
ชื่อพ้อง[1]
  • Bignonia azedarachta König & Sims
  • Bignonia cicutaria K.D.Koenig ex Mart.
  • Bignonia hortensis (L.f.) Oken
  • Bignonia suberosa Roxb.
  • Millingtonia dubiosa Span.
  • Nevrilis suberosa Raf. nom. illeg.

ปีบ หรือ กาสะลอง ในภาษาไทยถิ่นเหนือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Millingtonia hortensis) เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15 เมตร มีดอกรูปแตรสีขาวหอมอ่อน ๆ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ปีบยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี)[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ดอกปีบ

ปีบเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงเวียน ช่อแขนงด้านข้างมี 3-5 คู่ ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยแขนงละ 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-3 เซ็นติเมตร ยาว 4-8 เซ็นติเมตร ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย

ดอกมีสีขาวหรือชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่ ยาว 10-35 เซ็นติเมตร มีขน กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก ปลายมนกว้างม้วนลง เป็นหลอดยาวปลาย 4 แฉก มี 1 กลีบที่ปลายเป็น 2 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4 ซม. ผลเป็นฝักแบน ยาวแคบ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 เซนติเมตร ปลายฝักแหลม ฝักอ่อนสีเขียว มีเนื้อ พอแห้งแข็ง แตกออกได้เป็น 2 ซีก เมล็ดแบน จำนวนมาก รูปหยดน้ำ มีปีกสีขาว ค่อนข้างบางใสอยู่โดยรอบเมล็ด ยกเว้นบริเวณส่วนปลายเมล็ดด้านแหลม ออกดอกเดือนกันยายนถึงมีนาคม[3]

ประโยชน์[แก้]

ดอกตากแห้งนำมาม้วนเป็นบุหรี่สูบ รักษาริดสีดวงจมูก และมีสาร hispidulin มีฤทธิ์ในการขยายหลอดลมรักษาอาการหอบหืด[3] สารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้[4]

สัญลักษณ์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 2 December 2014.
  2. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  3. 3.0 3.1 สำนักหอสมุด ปีบ เก็บถาวร 2010-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และวริสรา ปลื้มฤดี. 2553. ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. 3-5 ก.พ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 412-421