วัชระ ยาวอหะซัน
วัชระ ยาวอหะซัน ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 |
พรรค | พลังประชารัฐ |
คู่สมรส | นางสาวทรายนูบ๊ะห์ ยาวอหะซัน |
นายวัชระ ยาวอหะซัน (เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 2 สมัย
ประวัติ[แก้]
วัชระ ยาวอหะซัน เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 เป็นบุตรของนายกูเซ็ง และ นางแมเนาะ ยาวอหะซัน และเป็นพี่ชายของนายกูเฮง ยาวอหะซัน สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคนนทบุรี[1] และ ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน จาก สถาบันราชภัฏยะลา[2] สมรสกับ นางสาวทรายนูบ๊ะห์ ยาวอหะซัน มีบุตร-ธิดา 4 คน
การทำงาน[แก้]
หลังจากจบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วัชระเริ่มทำงานในตำแหน่งนายช่างโยธาส่วนอำเภอ ซึ่งทำงานราชการประมาณ 20 ปี โดยตำแหน่งสุดท้าย คือ นักบริหารงานช่าง ระดับ 7
งานการเมือง[แก้]
วัชระ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2562 รวม 2 สมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
วัชระ ยาวอหะซัน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคชาติไทย → พรรคชาติไทยพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2534 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนราธิวาส. รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2558
- ↑ นายวัชระ ยาวอหะซัน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนราธิวาส
- ชาวไทยเชื้อสายมลายู
- มุสลิมชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคภูมิใจไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.