สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม | |
---|---|
พระบรมราชชนก | |
พระฉายาลักษณ์ ฉายเมื่อ พ.ศ. 2464 | |
อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำเเหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2466 [1] - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2467 | |
เสนาบดี | เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี |
พระราชสมภพ | 1 มกราคม พ.ศ. 2434 พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) |
สวรรคต | 24 กันยายน พ.ศ. 2472 (38 พรรษา) วังสระปทุม จังหวัดพระนคร มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) |
ถวายพระเพลิง | 16 มีนาคม พ.ศ. 2473 พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง |
บรรจุพระอัฐิ | พระวิมานตะวันตก บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท |
พระวรชายา | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมรส 2463) |
พระราชบุตร | |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | มหิดล |
พระราชบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระราชมารดา | สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
อาชีพ |
|
ลายพระอภิไธย | |
การศึกษา |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ประเทศสยาม |
แผนก/ | |
ประจำการ | พ.ศ. 2451 – 2472 |
ชั้นยศ |
|
พันเอก(พิเศษ) จอมพลเรือ นายกองเอก นายแพทย์ ดร.สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (1 มกราคม พ.ศ. 2434 – 24 กันยายน พ.ศ. 2472) พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นต้นราชสกุลมหิดล ซึ่งเป็นราชสกุลที่ปกครองประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา 7 พระองค์ มีพระคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์" หรือ "สมเด็จพระราชบิดา" และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ" และ "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล"
หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกก็ประชวร ต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. ด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย สิริพระชนมายุได้ 38 ปี 267 วัน
พระราชประวัติ
[แก้]ขณะทรงพระเยาว์
[แก้]สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ. 1253 (ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ตามปฏิทินเก่า ถ้านับตามปฏิทินสากล ต้องเป็น พ.ศ. 2435) ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ภายในพระบรมมหาราชวัง
หลังจากประสูติครบ 1 เดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเดือนตามขัตติยราชประเพณีที่พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชเทวี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 พร้อมทั้งพระราชทานนามสมมติว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุษ ชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร"[2] และได้รับการออกพระนามลำลองว่า ทูลกระหม่อมแดง[3]
พระองค์มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา ได้แก่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ , สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี
เมื่อทรงพระเยาว์ประทับอยู่กับพระมารดาในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา (ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ) เป็นผู้ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระพี่เลี้ยงคือหม่อมเจ้ากุสุมา เกษมสันต์ เนื่องจากพระพลานามัยไม่สมบูรณ์นักต้องเสวยน้ำมันตับปลาเป็นประจำ[4] พระกระยาหารที่โปรดมากคือปลากุเลากับส้มโอฉีก ส่วนเครื่องหวานโปรดอ้อยควั่นแช่น้ำดอกไม้สด[5]
เมื่อพระชนม์ได้ 12 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีมหามงคลโสกันต์ มีการสมโภช 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่ วันที่ 24 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2446 หลังโสกันต์แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามตามขัตติยราชประเพณีพร้อมทั้งสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม ให้ทรงศักดินา 40,000 ตามพระราชกำหนด อย่างสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม ในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์ มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตร์พิสิฐบุรุศย์ ชนุตมรัตนพัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร์[6]
ผนวช
[แก้]ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2447 หลังจากพิธีโสกันต์ได้ 1 ปี สมเด็จพระบรมราชชนก พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ และหม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตเป็นพระศีลาจารย์[7] ได้รับพระนามฉายาว่า มหิตลาตุโล[8] ระหว่างผนวชประทับที่ตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม ศกนั้น จึงฉลองการทรงผนวช ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท[9] และทรงลาผนวชเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2447[10]
การศึกษา
[แก้]พระองค์ได้รับการถวายพระอักษรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์มากที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หนู) เป็นพระอาจารย์ภาษาไทยคนแรก มีพระสหายสนิท คือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) และเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยพิเศษ โรงเรียนนายร้อยชั้นประถม พร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา[11]
หลังจากนั้น พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ยุโรปพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และนักเรียนทุนหลวงอีกหลายคน โดยพระองค์เข้าศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ (Harrow) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จนถึงปี พ.ศ. 2450 ได้ย้ายไปศึกษาต่อในวิชาทหารบกที่โรงเรียนนายร้อยชั้นต้น เมืองพ็อทซ์ดัม ประเทศเยอรมนี[12] และโรงเรียนนายร้อยชั้นสูงทหารบกที่โกรส-ลิชเทอร์เฟ็ลเดอ (Groß-Lichterfelde) เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี[13]
ในระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศเยอรมันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระองค์จึงเสด็จกลับประเทศสยาม พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมชนกนาถ
เมื่อเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระองค์ได้เสด็จกลับไปประเทศเยอรมนีเพื่อศึกษาต่อ พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารบกและสอบได้เป็นเฟนริช (Fähnrich) คือ นักเรียนทำคะแนนได้ดีมาก โดยพระองค์เขียนและแต่งเรียงความได้อย่างดีไม่ต้องสอบปากเปล่า การสอบในครั้งนั้นมีนักเรียนเข้าสอบประมาณ 400 คน โดยมีคนที่ทำคะแนนได้เท่าพระองค์เพียงคนเดียว ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นคนไทยคนแรกที่สอบไล่ได้คะแนนสูงสุดเช่นนี้[14]
หลังจากนั้น พระองค์ได้เปลี่ยนไปศึกษาวิชาทหารเรือแทนวิชาทหารบกที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้ เนื่องจากกองทัพสยามในสมัยนั้นยังขาดแคลนนายทหารเรือที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก พระองค์เข้าศึกษาวิชาทหารเรือ ณ โรงเรียนนายเรือเมือร์วีค (Marineschule Flensburg-Mürwik) เมืองเฟล็นส์บวร์ค โดยเป็นนักเรียนนายเรือเยอรมันรุ่น 2455 (CREW 1912) และสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรด้วยผลการศึกษาขั้นดีเยี่ยมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ[14] และทรงเข้ารับราชการในกองทัพเยอรมัน ซึ่งก่อนหน้านี้พระองค์ได้รับพระราชทานยศนายเรือตรีแห่งราชนาวีสยามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2454 [15] และยศนายเรือตรีแห่งจักรวรรดินาวีเยอรมันจากจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี[16]
เสด็จนิวัตกลับประเทศไทย
[แก้]ในปี พ.ศ. 2457 เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้นเป็นผลให้พระองค์ต้องออกจากกองทัพเรือเยอรมันและเสด็จนิวัตกลับประเทศไทย พระองค์เข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ ในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือ โดยได้รับพระราชทานยศเป็น "นายเรือโท" ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2457[17]และย้ายไปรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกแต่งตำรา กรมยุทธศึกษาทหารเรือในเวลาต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงเขียนถึงช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับราชการทหารเรือ ตอนหนึ่งว่า
...ท่าน [สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก] ...ทรงโปรดราชการทหารเรืออย่างยิ่ง แต่ท่านอยากจะทรงบังคับการเรือตอร์ปิโดและอยากออกทะเล บังเอิญทางราชการเห็นว่า ไม่สมควรที่เจ้าฟ้าจะทรงทำเช่นนั้น ท่านจึงไม่ได้บังคับเรือแต่อย่างใดหรือออกทะเลตามลำพังพระองค์เลย ท่านจึงเกิดเบื่อหน่ายเป็นอันมาก...
— พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์[18]
ต่อมา พระองค์ลาออกจากราชการในกระทรวงทหารเรือ มีการกล่าวถึงสาเหตุที่ลาออกจากราชการทหารเรือหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าพระองค์มีพระราชดำริขัดแย้งกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่จากการประชุมนายทหารเรือเพื่อปรับปรุงความสมบูรณ์ของกองทัพเรือ โดยพระองค์เห็นว่า การมีเรือรบขนาดใหญ่ยังไม่มีประโยชน์มากนัก ควรมีเรือขนาดเล็ก เช่น เรือดำน้ำ เรือตอร์ปิโด ซึ่งเข้าแม่น้ำได้สะดวกจะมีประโยชน์มากกว่า แต่นายทหารชั้นผู้ใหญ่มีความเห็นว่าควรมีเรือขนาดใหญ่เพื่อจะได้ฝึกทหารไปในตัว พระองค์ทรงรับฟังแต่ก็ทรงน้อยพระทัยว่า อุตส่าห์ไปทรงศึกษาวิชาทหารเรือโดยตรงแต่พอถึงเวลาปฏิบัติงานจริงกลับไม่ได้ดังพระราชประสงค์[19]
อีกสาเหตุนั้นกล่าวว่า จากการที่พระองค์ทรงสนพระทัยเรือดำนำเป็นพิเศษซึ่งถ้ามีเรือดำน้ำมาประจำการในกองทัพเรือจะทำให้เกิดมีปัญหาเรื่องอาหารได้ เนื่องจากคนไทยนิยมกินข้าวหลังจากปรุงขึ้นทันทีซึ่งไม่สามารถทำได้ในเรือดำน้ำ พระองค์จึงสนพระทัยที่จะศึกษาและทดลองเพื่อค้นหาอาหารที่เหมาะกับทหารเรือไทยที่ประจำอยู่กองเรือดำน้ำ ประกอบกับพระสุขภาพของพระองค์ไม่สมบูรณ์นักจึงมีพระดำริที่จะไปรักษาพระองค์ในประเทศหนาว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์จึงทรงแนะนำให้พระองค์เสด็จไปศึกษาต่อเรื่องอาหารและสุขวิทยาที่สหรัฐ[20] พระองค์ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือเป็นเวลา 9 เดือน 18 วัน[19]
เมื่อพระองค์ทรงลาออกจากการรับราชการในกระทรวงทหารเรือแล้ว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการและผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย ในขณะนั้น พร้อมด้วยหม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี ได้เสด็จไปเข้าเพื่อชักชวนให้มาช่วยโรงพยาบาลศิริราช โดยพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ได้ทูลเชิญทูลกระหม่อมให้แวะที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อทอดพระเนตรเห็นโรงคนไข้มีสถานที่คับแคบไม่พอที่จะรองรับคนไข้ได้อย่างเพียงพอทำให้คนไข้ต้องไปนั่งรอที่โคนต้นไม้ นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังขาดแคลนอุปกรณ์ทางแพทย์ พระองค์ทรงสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่งและทรงตกลงพระทัยที่จะช่วยในการปรับปรุงการแพทย์ไทย แต่พระองค์มีพระดำริว่า "ก่อนจะทรงช่วยเหลือจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ จึงตั้งพระทัยจะเสด็จไปทรงศึกษาด้านการแพทย์เสียก่อน"[21]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร อธิบายถึงเหตุผลที่ชักชวนทูลกระหม่อมให้มาช่วยเหลืองานด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทยว่า
เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นสูง ถ้าเข้ามาทรงจัดการเรื่องนี้แล้วจะทำให้กิจการแพทย์เด่นขึ้น มีผู้โดยเสด็จช่วยเหลืองานนี้มากขึ้น อนึ่ง ทูลกระหม่อมทรงมีรายได้สูง แต่พอพระทัยจะใช้ในการบำเพ็ญพระกุศลสาธารณะ และประการสำคัญที่สุด ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่มีพระปัญญาหลักแหลม มีความเพียรกล้า จะทรงทำอะไรก็ทำจริงไม่ย่อท้อ กิจการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว
— สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร[22]
ทรงศึกษาต่อ
[แก้]พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จไปศึกษาต่อยังสหรัฐโดยมีพระยากัลยาณไมตรี (เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด) เป็นผู้ถวายคำปรึกษาในการเลือกมหาวิทยาลัย[23][24] โดยทรงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ โดยทรงเข้าศึกษาชั้นเตรียมแพทย์ก่อนเป็นเวลา 1 ปี และลงทะเบียนเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี พ.ศ. 2460
หลังจากที่สำเร็จการศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิกแล้ว พระองค์ทรงหยุดการศึกษาแพทย์ชั่วคราวและลงทะเบียนเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธารณสุขซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เมื่อปี พ.ศ. 2462[25] ระหว่างการศึกษาพระองค์ได้พระราชนิพนธ์รายงานการศึกษาเรื่อง A sanitary survey of the city of Gloucester, Massachusetts 1921 และทรงสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2464[26]
ขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพระองค์เช่าอพาร์ทเม็นต์และมีคนใช้จำนวน 1 คน พระองค์ใช้พระนามว่า มิสเตอร์มหิดล สงขลา ซึ่งนายแพทย์แอลเลอร์ เอลลิส (A.G. Ellis) ได้กล่าวถึงพระองค์ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดไว้ว่า
ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ทรงเป็นเพียงนักเรียนแพทย์ผู้หนึ่งที่ไม่ใช่เจ้านาย ในพระนามบัตรก็มีว่า "มิสเตอร์มหิดล สงขลา" ในเวลาที่ประทับอยู่ในประเทศที่ไม่มีเจ้านาย พระองค์ท่านก็ไม่ใช่เจ้านาย เราถือว่าการที่วางพระองค์เช่นนี้ เป็นการให้เกียรติยศอันแท้จริงแก่ประเทศของเราและสมกับพระลักษณะของการเป็นเจ้านายที่แท้จริง
— ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ แอลเลอร์ กัสติน เอลลิส[19]
หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรสาธารณสุขแล้ว พระองค์รับหน้าที่เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์และวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย กล่าวคือการพัฒนาหลักสูตร คณาจารย์และสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ขณะนั้นยังอยู่ในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้น พระองค์ตัดสินพระทัยเข้าศึกษาวิชาแพทย์ต่อในชั้นปีที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร แต่พระองค์ประชวรด้วยโรคพระวักกะ (โรคไต) ซึ่งสภาพอากาศที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับพระโรค ดังนั้น พระองค์จึงต้องเสด็จนิวัตกลับพระนคร โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2466[27][28]
ในปี พ.ศ. 2469 พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาวิชาแพทย์ต่ออีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ จนกระทั่งทรงสำเร็จการศึกษาได้ปริญญาแพทยศาสตร์ เกียรตินิยมระดับ Cum Laude เมื่อปี พ.ศ. 2471[29] หลังจากนั้น พระองค์เสด็จนิวัตกลับประทศไทยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2471 โดยประทับอยู่ที่พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม
แพทย์เจ้าฟ้า
[แก้]พระราชกรณียกิจประการแรก เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยก็คือพระราชทานทุนให้นักเรียนออกไปศึกษา 10 ทุน ในสาขาที่เกี่ยวกับการแพทย์[30] พระองค์มีความเห็นว่านักเรียนแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศจะได้ศึกษาเพียงเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นในเขตนั้นเท่านั้น เมื่อกลับมาประเทศไทยควรจะศึกษาต่ออีก 1 ปี เพื่อจะให้ได้รับความรู้และความชำนาญโรคของประเทศไทย แต่ทางการก็มิอาจทำได้ดังพระราชประสงค์ เป็นเหตุให้ไม่ทรงพอพระราชหฤทัย ดังนั้น พระองค์จึงเปลี่ยนพระราชหฤทัยจากจะทรงทำงานในโรงพยาบาลศิริราช มาเป็นเสด็จไปโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ พระองค์เสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2472 ทรงประทับกับครอบครัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลขณะนั้น ดร. อี.ซี. คอร์ท เป็นตึกเล็ก และทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว[31]
พระองค์มีความเอาใจ่ใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า[32] พระองค์ได้ประทับทีเมืองเชียงใหม่ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพมหานครในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สวรรคต
[แก้]หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์มีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับไปเมืองเชียงใหม่ แต่ก็มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากทรงพระประชวร ต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม พร้อมด้วยพระมารดา โดยไม่ได้เสด็จออกจากวังอีกเลย[32]
สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงถึงโรงพยาบาลศิริราช ยามใดที่มีผู้ใกล้ชิดเข้าเฝ้าจะรับสั่งถึงงานโรงพยาบาลศิริราชเสมอ พระอาการดีขึ้นและแล้วก็ทรุดลง แพทย์ประจำพระองค์คือ ศาสตราจารย์ที พี โนเบิล และดับบลิว เอช เปอร์กินส์ ได้ถวายการรักษาอย่างสุดความสามารถแต่พระอาการก็ทรุดลงเรื่อย ๆ[19]
วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย พระชนมายุได้ 38 พรรษา 8 เดือน 23 วัน หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ 3 เดือนครึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จแทนพระองค์ไปในการถวายน้ำสรงพระบรมศพ ณ วังสระปทุม และอัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ วังสวนกุหลาบ[33][28] มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2473[34][35]
ชีวิตส่วนพระองค์
[แก้]พระนามและราชสกุลมหิดล
[แก้]พระนามเดิมของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก นั้น สามารถพบได้ 2 แบบ ได้แก่ มหิดลอดุลเดช และ มหิดลอดุลยเดช โดยเมื่อแรกเริ่มนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามแก่พระองค์ในการสมโภชเดือนว่า "มหิดลอดุลเดช"[2] ต่อมา เมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชันษาได้ 12 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์และพระราชทานพระสุพรรณบัฏขึ้น พร้อมกันนี้ พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมที่ "กรมขุนสงขลานครินทร์" โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรในครั้งนี้ ว่า "มหิดลอดุลยเดช"
หลังจากนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระนามกรมของพระองค์ขึ้นเป็น "กรมหลวงสงขลานครินทร์" และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทรเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบพระราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามของพระองค์ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏจึงกลับมาใช้ว่า "มหิดลอดุลเดช" อีกครั้ง
ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระนามพระอัฐิสมเด็จพระราชบิดาว่า "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" และในสมัยปัจจุบันการเขียนพระนามของพระองค์ก็นิยมเขียนว่า "มหิดลอดุลยเดช"[36]
ส่วนนามสกุลนั้น เมื่อพระองค์ทรงศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศนั้น พระองค์ใช้พระนามว่า Mr. Mahidol Songkla ส่วนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีใช้พระนามว่า Mrs. Songkla ดังนั้น พระโอรสและพระธิดาของพระองค์จึงใช้นามสกุลว่า "สงขลา"[36]
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามสกุลสำหรับผู้สืบสายพระบรมราชวงศ์ชั้น 5 เมื่อ พ.ศ. 2472 โดยเชื้อพระวงศ์ที่สืบสายพระโลหิตจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกให้ใช้ราชสกุลว่า "มหิดล" จนถึงปัจจุบัน[37]
อภิเษกสมรส
[แก้]ระหว่างที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน 2 ทุน[4] ซึ่งทางโรงเรียนแพทย์ได้คัดเลือกออกมา ปรากฏว่าได้นักเรียนพยาบาลมา 2 คน คือ สังวาลย์ ตะละภัฏ (ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และอุบล ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา (ต่อมาคือ อุบล ลิปิธรรมศรีพยัตต์)[30] สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้ง 2 ของพระองค์อย่างดี ทั้งทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ
ขณะทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขชั้นปีที่ 3 ที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จกลับมาร่วมงาน ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระบรมราชชนกได้อภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ณ วังสระปทุม[5]
พระโอรสธิดา
[แก้]สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชโอรส-ธิดา 3 พระองค์ดังนี้
พระบรมฉายาลักษณ์/พระรูป | พระปรมาภิไธย/พระนาม | พระราชสมภพ/ประสูติ | สวรรคต/สิ้นพระชนม์ | คู่อภิเษกสมรส | พระราชบุตร/พระบุตร |
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 | 2 มกราคม พ.ศ. 2551 (84 พรรษา) | อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ | ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม | |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช | ไม่มี | ||||
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร | 20 กันยายน พ.ศ. 2468 | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (20 พรรษา) | ไม่ได้อภิเษกสมรส | ||
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (88 พรรษา) | สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง | ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี | |
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | |||||
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี | |||||
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
[แก้]ในช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับราชการในกองทัพเรือ ได้ทรงจัดทำโครงการเกี่ยวกับเรือดำน้ำ ถึงแม้จะไม่ได้ดังพระประสงค์ในช่วงเวลานั้น แต่อีก 20 ปีต่อมา กองทัพเรือก็ได้สั่งต่อเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ คือ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล[38] นอกจากเรื่องเรือดำน้ำ พระองค์ยังได้ทรงร่างโครงการสร้างกำลังทางเรือทั้งกองทัพไว้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือได้จัด ตั้งฐานทัพเรือและสถานี ทหารเรือ พร้อมกับจัดส่งกำลังทางเรือ ไปประจำตามฐานทัพเรือและสถานีเรือ สอดคล้องกับแนวพระราชดำริโครงการสร้างกองเรือรบ
ทางด้านการแพทย์ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ทรงเกี่ยวข้องกับการแพทย์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจไว้มากมาย ทรงอุทิศทั้งพระราชทรัพย์และพระวรกาย พระสติกำลังเพื่อการแพทย์โดยแท้ กล่าวคือพระราชทานทุนเพื่อการศึกษาและค้นคว้า พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อการก่อสร้างตึกต่าง ๆ และขยายพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช[32]
ในด้านการสาธารณสุขทรงเคยสำรวจสุขาภิบาลในกรุงเทพ เพื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ทรงศึกษามา ทรงช่วยอบรมสาธารณสุขมณฑล และเคยทรงปรารภว่าจะให้มีการเผาศพด้วยไฟฟ้า เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรสุขาภิบาล[4] นอกจากนี้ยังทรงมีน้ำพระราชหฤทัยเมตตา ช่วยเหลือการศึกษาด้านอื่นนอกเหนือจากการแพทย์ เป็นต้นว่า พระราชทานทุน 1 แสนบาทเพื่อส่งคนไปศึกษาต่างประเทศด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อการโภชนาการที่ดีของคนไทย จึงได้รับการถวายสมญานามว่า "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" พระราชทานทุนให้แก่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเพื่อจัดหาอาจารย์ชาวต่างประเทศมาสอน พระราชทานเงินให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ และพระราชทานเงินบำรุงโรงพยาบาลสงขลาเป็นรายปี[39]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าละอองพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
พระราชอิสริยยศ
[แก้]- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุษ ชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร[2] (1 มกราคม พ.ศ. 2435 - 10 มกราคม พ.ศ. 2447)
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุศย์ ชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร์[6] (10 มกราคม พ.ศ. 2447 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์[40] (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 24 กันยายน พ.ศ. 2472)
- สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ ขัตติยวโรภโตสุชาต คุณสังกาศเกียรติประกฤษฏ์ ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุษ ชนุดมรัตนพัฒนศักดิ อัครวรราชนรินทรเชษฐาธิบดี กรมหลวงสงขลานครินทร์[41] (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2478)
- สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์[42] (25 มีนาคม พ.ศ. 2478 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2513)
- สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[43] (9 มิถุนายน พ.ศ. 2513 - ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]สมเด็จฯ พระบรมราชชนกได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[44]
- พ.ศ. 2447 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[45]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[46]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[47]
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[48]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[49]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[50]
- พ.ศ. 2471 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[51]
พระยศ
[แก้]พันเอก(พิเศษ) จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม, กองทัพเรือสยาม และกองเสือป่า |
ประจำการ |
|
ชั้นยศ |
พระยศพลเรือน
[แก้]- มหาอำมาตย์ตรี
พระยศทหาร
[แก้]- 13 ธันวาคม พ.ศ. 2466: นายพันโท[52]
- 19 เมษายน พ.ศ. 2467: นายนาวาเอก[53]
- 22 เมษายน พ.ศ. 2469: นายพันเอกพิเศษ[54]
- 8 มกราคม พ.ศ. 2541: จอมพลเรือ[55]
พระยศเสือป่า
[แก้]- – นายกองตรี
- 2 มีนาคม พ.ศ. 2467: นายกองเอก[56]
พระราชสมัญญานาม
[แก้]พระนามาภิไธยพระราชทาน
[แก้]- สถาบันการศึกษาด้านการสาธารณสุข
- สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
- กลุ่มนักศึกษาแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก กลุ่มศูนย์แพทยศาสตรศึกษาในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
- อาคารมหิตลาธิเบศร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
- สถาบันการศึกษา
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล
- อาคาร 100 ปีสมเด็จพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- อาคารมหิตลาธิเบศร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาคารมหิตลาธิเบศร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[60]
- โรงเรียนมหิดล อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา[61]
- พันธุ์สัตว์
- ปลาบู่มหิดล Mahidolia mystacina (Valenciennes, 1837) [62]
- อื่น ๆ
- รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล รางวัลที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
- ถนนมหิดล จังหวัดเชียงใหม่
- อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ
- ค่ายกรมหลวงสงขลานครินทร์ กองพันทหารราบที่ 8 กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
พงศาวลี
[แก้]แผนผัง
[แก้] (1) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท | สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(2) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(3) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | (4) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส | (5) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ | สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ | (6) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ | สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา | สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย | (7) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(8) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร | (9) พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(10) พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ราชกิจจานุเบกษา, [1]ข่าวสมโภชเดือนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, เล่ม 8, ตอน 45, 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434, หน้า 406
- ↑ "ตอนที่ 320 "สมเด็จหญิง" ในความทรงจำ" (Press release). วาทตะวัน สุพรรณเภษัช. 8 มกราคม 2551. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 4.0 4.1 4.2 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, พระราชบิดาแห่งการแพทย์ไทย - ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทย[ลิงก์เสีย], เข้าถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ 5.0 5.1 ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย พระประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก เก็บถาวร 2017-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ 6.0 6.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช, เล่ม 20, ตอน 41, 10 มกราคม พ.ศ. 2446, หน้า 708
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฐราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร, เล่ม ๒๑, ตอน ๒๒, ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๓๕๒
- ↑ เทิดพระนามมหิดล, หน้า 20
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การฉลองสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๘, ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๖๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทรงลาผนวช, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๙, ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๖๙๗
- ↑ พระประวัติสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์, ชุมนุมพระนิพนธ์และบทความเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชบิดาฯ, นายยงยุทธ์ วัชรดุลย์
- ↑ เทิดพระนามมหิดล, หน้า 24
- ↑ เทิดพระนามมหิดล, หน้า 26
- ↑ 14.0 14.1 เจ้าฟ้าทหารเรือ,นาวิกศาสตร์, ปีที่ 85, เล่มที่ 9, กันยายน 2545
- ↑ พระราชทานยศนายทหารเรือ
- ↑ เทิดพระนามมหิดล, หน้า 28
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ
- ↑ เกิดวังปารุสก์ ฉบับ 100 ปีจุลจักรพงษ์, หน้า 66
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เก็บถาวร 2007-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กองทัพเรือ, เข้าถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
- ↑ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร, พระประวัติ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ C.P.H., M.D. (Harvard), ชุมนุมพระนิพนธ์และบทความเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชบิดา
- ↑ เทิดพระนามมหิดล, หน้า 31
- ↑ กระทรวงวัฒนธรรม, สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน, เข้าถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
- ↑ เทิดพระนามมหิดล, หน้า 32
- ↑ ศาสตราจารย์ หลวงพิณพากย์พิทยาเภท, พระกรณียกิจเกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุขของสมเด็จพระราชบิดา, ชุมนุมพระนิพนธ์และบทความเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชบิดาฯ
- ↑ เทิดพระนามมหิดล, หน้า 35
- ↑ เทิดพระนามมหิดล, หน้า 40
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ แผนกศึกษาธิการ ตั้งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย, เล่ม ๔๐, ตอน ๐ ง, ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖, หน้า ๒๒๐๕
- ↑ 28.0 28.1 มหาวิทยาลัยมหิดล สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เก็บถาวร 2015-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ เทิดพระนามมหิดล, หน้า 56
- ↑ 30.0 30.1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ประวัติสมเด็จพระราชบิดา, เข้าถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค รู้จักแมคคอร์มิค - McCormick Hospital เก็บถาวร 2016-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ 32.0 32.1 32.2 สุทธิลักษณ์ วุฒิเสน. กองทุนหมอเจ้าฟ้า / คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ธนบรรณการพิมพ์, 2535. 74 หน้า. ISBN 9746723022
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๔๖, ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๒๑๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระเมรุมาศท้องสนามหลวงถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์, เล่ม 46, ตอน ง, 30 มีนาคม พ.ศ. 2472, ฉบับพิเศษ หน้า 4608
- ↑ กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 144
- ↑ 36.0 36.1 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์, ซิลค์เวอร์ม บุคส์, พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549, 450 หน้า, ISBN 974-7047-55-1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น 5 เก็บถาวร 2009-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 46, ตอน 0 ก, 9 มิถุนายน พ.ศ. 2472, หน้า 21
- ↑ ศิริพงษ์ บุญราศรี. เรือดำน้ำแห่งราชนาวีสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, พ.ศ. 2547. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-276-277-5
- ↑ "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุล ยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-03.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27: 1. 30 ตุลาคม 2453. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อนพระนามกรม สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง, เล่ม 46, ตอน 0ก, 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472, หน้า 198
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง ถวายพระนามพระอัยยิกา พระราชบิดา และพระราชชนนี,เล่ม 519 ตอน 0 ก, 25 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1409
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมราชชนก และ สมเด็จพระบรมราชชนนี เก็บถาวร 2011-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 87, ตอน 52, 12 มิถุนายน พ.ศ. 2513, ฉบับพิเศษ หน้า 1
- ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 46 (ตอน 0 ง): หน้า 2143. 29 กันยายน พ.ศ. 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 20 (ตอน 41): หน้า 703. 10 มกราคม ร.ศ. 122. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน ๐ ง): หน้า 48. 9 เมษายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 32 (ตอน 0 ง): หน้า 1895. 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 40 (ตอน 0 ง): หน้า 3420. 7 มกราคม พ.ศ. 2466. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 50. 9 เมษายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ง): หน้า 3094. 19 มีนาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 45 (ตอน 0 ง): หน้า 2972. 23 ธันวาคม พ.ศ. 2471. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารเรือ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 43 ตอนพิเศษ 25 เมษายน พ.ศ. 2469 หน้า 336
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (พระยศ จอมพลเรือ ถวายแด่ นายนาวาเอก สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) เก็บถาวร 2011-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 115 ตอนทะเบียนฐานันดรฯ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า (กรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์)
- ↑ พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย
- ↑ "พระราชประวัติ | วันมหิดล 24 กันยายน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-08. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ หนังสือฉบับอิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ ๑๒๐ พรรษา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
- ↑ 12 พฤศจิกายน 2536 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานนามอาคารคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่กำลังก่อสร้าง เป็น “อาคารมหิตลาธิเบศร” ตามพระนามของ “พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” 25 มกราคม 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารภายในมหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย อาคารมหิตลาธิเบศร อาคารศรีนครินทร์ และอาคาร 60 พรรษา มหาราชินี
- ↑ "โรงเรียนมหิดล อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ Mahidolia mystacina (Valenciennes, 1837)
บรรณานุกรม
[แก้]- 100 ปี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 25352)จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายจัดพิมพ์หนังสืองานฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
- ศุภกฤต โสภิกุล.(2552).เอกสารประกอบการบรรยายการจัดตั้งเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถาน ภาคตะวันออก (โครงการนำร่องการจัดทำเขตอนุรักษ์ปลาบู่มหิดลในแหลมสิงห์). ราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพมหานคร.
- เทิดพระนามมหิดล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล,2552, 332 หน้า
- ชุมนุมพระนิพนธ์และบทความเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ พระบิดาแห่งวงการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เกิดวังปารุสก์ ฉบับ 100 ปีจุลจักรพงษ์. --กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จำกัด, 2552
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่August 2018
- บทความคัดสรร
- ชาวไทยที่ได้รับการฉลองวาระครบรอบโดยยูเนสโก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2435
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2472
- เจ้าฟ้าชาย
- กรมหลวง
- ราชวงศ์จักรี
- ราชสกุลมหิดล
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- แพทย์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 7
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- เสียชีวิตจากโรคบิด
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ทหารบกชาวไทย
- ทหารเรือชาวไทย
- จอมพลเรือชาวไทย
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์