โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์

พิกัด: 7°00′04″N 100°30′25″E / 7.001036°N 100.506942°E / 7.001036; 100.506942
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
PSU.Wittayanusorn School
ที่ตั้ง
แผนที่
ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบลคอหงส์
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112
ข้อมูล
ชื่ออื่นมอ.ว. / PSU.WIT.
ประเภทโรงเรียนเอกชน
ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำขวัญอนาคตยั่งยืนด้วยปัญญา
สถาปนา26 มกราคม พ.ศ. 2548
รหัส1190100039
ผู้อำนวยการสุชาติ สุขะพันธ์
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สี███ สีน้ำเงิน - ███ สีเทา
เพลงมาร์ช มอ.ว.
ต้นไม้ศรีตรัง
เว็บไซต์www.psuwit.ac.th

โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีสถานภาพเป็นโรงเรียนเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมูลนิธิเพื่อการศึกษาโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิฯ โดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย โดยโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2548[1]

ผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ที่ ชื่อ สกุล ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
1 รศ.ดร.ธวัช ชิตตระการ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการและกิจการด้านต่างประเทศ พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน
2 รศ.นพ.วรัญ ตันชัยสวัสดิ์ ผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน
3 นายสุชาติ สุขะพันธ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
4 นางสิริลักษณ์ ตันชัยสวัสดิ์ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการพิเศษ พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน
5 นางฒามรา พรหมหอม ผู้ช่วยอำนวยการฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

อัตลักษณ์ของโรงเรียน[แก้]

คือ SMART with CARE & SHARE ประกอบด้วย

SMART[แก้]

  • Scientific-minded คิดแบบวิทยาศาสตร์
  • Good Manner บุคลิกลักษณะดี
  • Aesthetic appreciation มีสุนทรียภาพ
  • Reliable and responsible เชื่อถือได้และรับผิดชอบ
  • Teamwork ทำงานเป็นทีมได้

CARE[แก้]

  • Considerate เอาใจใส่
  • Attentive ตั้งใจรับฟัง
  • Responsive ขานรับฉับไว
  • Empathy ความสามารถเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น

SHARE[แก้]

  • Scientific-Based ให้ฐานตรรกะวิทยาศาสตร์ในการแบ่งปัน
  • Honest ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
  • Accountable รับผิดชอบ อธิบายได้
  • Respectful ให้เกียรติผู้อื่น
  • Enthusiastic กระตือรือร้น

แนวการบริหารจัดการ[แก้]

ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษา[แก้]

บรรยากาศภายนอกของโรงเรียนมอ.วิทยานุสรณ์

สำหรับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อยังโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) การคัดเลือกรอบแรกนั้นจะดำเนินการโดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งเปิดรับสมัครนักเรียนที่จบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษานั้น จากทั่วประเทศและทุกพื้นที่บริการ ซึ่งนักเรียนที่เลือกสอบเข้าโครงการ วมว. จะไม่สามารถเลือกสอบเข้าโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยได้ โดยจะคัดเลือกในรอบแรกไว้ 200 คน และในรอบที่สอง การสอบคัดเลือกจะดำเนินการโดยโรงเรียนเอง และจะคัดเลือกเหลือเพียง 60 คน (2 ห้อง)

2.ประเภทคัดเลือกทั่วไป เป็นการสอบคัดเลือกรูปแบบปกติ ดำเนินการสอบคัดเลือกโดยโรงเรียนเอง โดยการสอบประเภทนี้จะจัดสอบในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีการศึกษา แบ่งจำนวนการรับนักเรียนดังนี้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 รับประมาณ 160 คนต่อปี และมัธยมศึกษาปีที่ 4 รับตามจำนวนที่ไม่เท่ากันในแต่ละปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เดิมที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ และประสงค์จะเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป และจะมีการคัดเลือกห้องเรียนทางไกลที่อยู่ภายใต้การดูแลของ โครงการพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการเป็นฐานจัดการเรียนการสอนทางไกลแบบสื่อสารสองทาง สามารถตอบโต้ได้ระหว่างห้องเรียนต้นทางไปปลายทาง และมีการฝึกปฏิบัติการทดลองทางไกลร่วมกันเป็นแห่งแรกของไทย โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 6 โรงเรียน 4 จังหวัดของภาคใต้ คือพังงา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

กิจกรรมของโรงเรียน[แก้]

กิจกรรมภายในโรงเรียน[แก้]

กิจกรรมกีฬาสี

กิจกรรมกีฬาสีจะจัดขึ้นในภาคเรียนที่ 1 ประมาณเดือนมิถุนายนของทุกปีการศึกษา การแบ่งสีประจำนักเรียนจะแบ่งให้กับนักเรียนที่เข้าใหม่ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามลำดับเลขที่ของนักเรียน ประกอบด้วย สีชมพู สีฟ้า สีม่วง และสีส้ม ตามลำดับ อดีตมีสีแดงและสีเหลือง ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว โดยจะมีการจัดตามเลขที่รูปแบบใหม่เมื่อเข้าช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย อดีตใช้การจับสลากในการแบ่งสีให้แก่นักเรียน

อ้างอิง[แก้]

  1. "โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ 2007-06-22.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

7°00′04″N 100°30′25″E / 7.001036°N 100.506942°E / 7.001036; 100.506942