พระยากัลยาณไมตรี (เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด)
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พระยากัลยาณไมตรี | |
---|---|
เกิด | 15 กันยายน พ.ศ. 2414 |
ถึงแก่กรรม | 17 กันยายน พ.ศ. 2461 (47 ปี) |
สัญชาติ | อเมริกัน |
ตำแหน่ง | ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 |
ภรรยาเอก | รีเบคก้า (สมรส 2441) |
พระยากัลยาณไมตรี (เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด) (อังกฤษ: Jens Iverson Westengard; 15 กันยายน 2414-17 กันยายน 2461) เป็นนักกฎหมายและนักการทูตชาวอเมริกันเชื้อสายเดนมาร์ก เขาเป็นคณบดีที่ โรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (2442-2446) ต่อมาเป็น Bemis Professor of International Law (2458-2461) ระหว่าง พ.ศ. 2446 ถึง 2458 เวสเตนการ์ดรับราชการเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินให้กับรัฐบาลสยาม[1]
ประวัติและการศึกษา
[แก้]พระยากัลยาณไมตรีเกิดที่ ชิคาโก, บิดาของเขาเป็นผู้อพยพจาก เดนมาร์ก มายัง สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2406 [2] เขาเข้าศึกษาในโรงเรียนของรัฐและประกอบอาชีพเป็นนักจดชวเลข จากนั้นจึงเข้าศึกษาที่ โรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด ในฤดูใบไม้ร่วง ปี พ.ศ. 2438 โดยได้รับปริญญาทางกฎหมายในปี พ.ศ. 2441 เขาจบเป็นอันดับสองจากทั้งหมด 129 คนในชั้นของเขา [3] เขาเริ่มต้นอาชีพทนายความที่ แมสซาชูเซตส์ ในปีเดียวกัน เขาเป็นคณบดีที่โรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ดจนถึง พ.ศ. 2446
ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินให้กับรัฐบาลสยาม
[แก้]ในปี 2446 เวสเตนการ์ดออกจากฮาร์วาร์ดมาเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาราชการแผ่นดินให้กับรัฐบาลสยาม (ประเทศไทยในปัจจุบัน)[2] เขาทำงานกับอาจารย์ของเขาคือ เอ็ดเวิร์ด สโตรเบล[3] ปี 2452 สโตรเบล ถึงแก่กรรมเวสเตนการ์ดจึงได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินสืบต่อมา จากนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้กับเวสเตนการ์ดเป็นพระยากัลยาณไมตรี ถือศักดินา ๕๐๐๐ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2453 [4] ก่อนจะลาออกจากราชการเมื่อปี พ.ศ. 2458
พระยากัลยาณไมตรีถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเบาหวาน (ในราชกิจจานุเบกษาเรียก โรคปัสสาวะหวาน) เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2461 หรือ 2 วันหลังจากวันเกิดอายุครบ 47 ปี[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ๒๔๕๑ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[6]
- พ.ศ. ๒๔๕๓ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. ๒๔๕๓ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[8]
- พ.ศ. ๒๔๕๔ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. ๒๔๕๖ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[10]
- พ.ศ. ๒๔๕๔ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[11]
- พ.ศ. ๒๔๕๘ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
บันทึก
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Beale, Joseph H.; และคณะ (1918). "Jens Iverson Westengard". Harvard Law Review. 32 (2): 93–113.
- ↑ 2.0 2.1 National Cyclopaedia of American Biography. New York: James T. White & Co. 1922. pp. vol. XVIII, pp. 202–203.
- ↑ 3.0 3.1 Beale, Joseph H. (December 1918). "Jens Iverson Westengard". Harvard Law Review. XXXII: 93–97.
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๓๘๗)
- ↑ ข่าวตาย
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า ๒๔๔๑)
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๑๗๙๓)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์