ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟุตบอลทีมชาติไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Great456 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
| Home Stadium = [[ราชมังคลากีฬาสถาน]]
| Home Stadium = [[ราชมังคลากีฬาสถาน]]
| FIFA Trigramme = THA
| FIFA Trigramme = THA
| FIFA Rank = 152
| FIFA Rank = 139
| 1st ranking date = สิงหาคม พ.ศ. 2536
| 1st ranking date = สิงหาคม พ.ศ. 2536
| FIFA max = 43
| FIFA max = 43

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:03, 2 มกราคม 2556

หน้านี้สำหรับทีมฟุตบอลชาย สำหรับทีมหญิงดูได้ที่ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย
ฟุตบอลทีมชาติไทย
Shirt badge/Association crest
ฉายาช้างศึก
สมาคมสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาพันธ์ย่อยเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนวินฟรีด เชเฟอร์
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอเล็กซานเดร โพลกิง
กัปตันภานุพงศ์ วงศ์ษา
ติดทีมชาติสูงสุด ตะวัน ศรีปาน (145)
ทำประตูสูงสุด ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน (103)
สนามเหย้าราชมังคลากีฬาสถาน
รหัสฟีฟ่าTHA
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน139
อันดับสูงสุด43 (กันยายน พ.ศ. 2541)
อันดับต่ำสุด136 (ธันวาคม พ.ศ. 2555)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
เวียดนามใต้ เวียดนามใต้ 3 - 1 ไทย ไทย
(เวียดนามใต้; พ.ศ. 2499)
ชนะสูงสุด
ไทย ไทย 10 - 0 บรูไน บรูไน
(กรุงเทพ, ไทย; 24 พฤษภาคม, พ.ศ. 2514)
แพ้สูงสุด
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 9 - 0 ไทย ไทย
(เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย; 26 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2499)
เอเอฟซี เอเชียนคัพ
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน พ.ศ. 2515)
ผลงานดีที่สุดอันดับ 3, พ.ศ. 2515

ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยทีมมีประวัติของความสำเร็จในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชนะเลิศอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 3 สมัย และชนะเลิศซีเกมส์ 9 สมัย โดยทีมชาติไทยยังสามารถคว้าอันดับ 3 ในเอเชียนคัพ 1972 และเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง และในเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง

โดยอันดับโลกฟีฟ่าที่ทีมชาติไทยทำอันดับได้ดีที่สุด คือ อันดับที่ 42 ในเดือนกันยายน พ.ศ.2541 ปัจจุบันทีมชาติไทยอยู่อันดับที่ 152 ของโลก อันดับที่ 23 ของเอเชีย และ อันดับที่ 3 ของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการจัดอันดับโดยฟีฟ่า(พฤศจิกายน พ.ศ.2555)

ประวัติ

ปี สมาคม
2459 ก่อตั้ง
2468 ฟีฟ่า
2500 เอเอฟซี
2537 เอเอฟเอฟ

ทีมก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ในนามคณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม และเล่นการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก (พบกับทีมฝ่ายยุโรป) ที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20 ธันวาคม ในปีนั้น จนวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ โดยลงเล่นในการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2492 เมื่อสยามกลายเป็นประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956ที่เมลเบิร์น โดยเป็นครั้งแรกของทางทีมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยจับฉลากพบกับสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 0-9 (ความพ่ายแพ้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์) และไม่ผ่านเข้ารอบก่อนชิงชนะเลิศ โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ 1 โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และทีมชาติโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[1] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ นักฟุตบอลในชุดโอลิมปิกนั้น ไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนีเพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ประเทศไทยคว้าเหรียญทองในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเรียกว่าซีเกมส์) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จนถึง พ.ศ. 2552 ประเทศไทยชนะเลิศการแข่งขันทุกๆสองปีรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง

ทีมไทยได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อนอีกครั้งในปีพ.ศ. 2511 โดยแพ้ต่อทีมชาติบัลแกเรีย 0-7, ทีมชาติกัวเตมาลา 1-4 และทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย 0-8 ตกรอบแรกในการแข่งขัน ซึ่งผู้ชนะในคราวนี้ คือทีมชาติฮังการี ได้เหรียญทองไปครอง ซึ่งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิคเป็นครึ่งสุดท้ายจนถึง พ.ศ. 2552

ในปี 2515 ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอล เอเชียนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพครั้งที่ 5 โดยในการแข่งขันนี้ ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 โดยยิงลูกโทษชนะทีมชาติกัมพูชา 5 ประตูต่อ 3 ภายหลังจากเสมอกัน 2 ต่อ 2 ซึ่งในการแข่งขันนี้ ทีมชาติอิหร่าน ชนะเลิศ และทีมชาติเกาหลีใต้ ได้รางวัลรองชนะเลิศตามลำดับ

ในปี 2519 ประเทศไทยได้แชมป์คิงส์คัพครั้งแรก โดยเป็นแชมป์ร่วมกับ ทีมชาติมาเลเซีย ภายหลังจากที่มีการเริ่มมีการจัดคิงส์คัพในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 โดยต่อมาทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์คิงส์คัพอีกหลายครั้งรวมทั้งสิ้น 10 ครั้งด้วยกัน

นักฟุตบอลไทยและผู้ฝึกสอน ชุดที่ลงแข่งขันในเอเชียนเกมส์ที่กาตาร์ (พ.ศ. 2549)

สำหรับการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ ทีมชาติไทยยังไม่สามารถที่จะชนะเลิศได้ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2533 เช่นเดียวกับ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2541 และ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้นที่ ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2545และครั้งล่าสุดเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นที่ โดฮา ในปี พ.ศ. 2549 ทีมชาติไทยก็เป็นทีมเดียวในย่านอาเซียนที่ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ (8 ทีมสุดท้าย) ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมเข้ารอบโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่มซี

ในปี 2537 ไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน กับอีก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลก มาแข่งขันกับในประเทศไทยหลายครั้ง ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์ (2540) ลิเวอร์พูล (2544) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2547) เอฟเวอร์ตัน (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่อังกฤษ[2]) และสโมสรชั้นนำอื่น ๆ และในปี 2551 ไทยตกรอบฟุตบอลรอบคัดเลือก รอบ 20ทีมสุดท้าย โดยได้อยู่สายเดียวกับทีมอย่าง ญี่ปุ่น โอมาน บาห์เรน โดยไทยแข่ง6นัด ไม่ชนะใครเลย แพ้5เสมอ1 ทำให้ชาญวิทย์ ผลชีวิน ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นไม่นาน ปีเตอร์ รีด อดีตนักเตะเอฟเวอร์ตันและทีมชาติอังกฤษ ก็เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ไทย ก็พลาดแชมป์ อาเซียน คัพ โดยการแพ้เวียดนามรวมผลสองนัด 3-2 และยังพลาดคิงส์ คัพ อีกรายการหนึ่งโดยดวลจุดโทษแพ้ เดนมาร์ก จนถึงช่วงเดือนกันยายน ปี 2552 ปีเตอร์ รีด ถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากอนาคตที่ไม่แน่นอนในการคุมทีมชาติเพราะรีด มีข่าวว่าจะไปทำงานที่สโมสร สโต๊ค ซิตี้ โดยเป็นผู้ช่วยของ โทนี่ พูลิส ผู้จัดการทีมสโต๊ค ซิตี้

ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทีมชาติไทยแพ้ต่อ 2-0 สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้ ในวันสุดท้ายของของฟ๊อกซ์ทัวร์ที่ประเทศไทย

ข้อมูลทั่วไป

ราชมังคลากีฬาสถาน

สนามเหย้า

ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2541 สำหรับใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ปัจจุบันมีความจุทั้งสิ้น 65,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ที่สนามกีฬาหัวหมาก ภายในที่ทำการของการกีฬาแห่งประเทศไทย แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย ตั้งแต่เริ่มเปิดใช้จนถึงปัจจุบัน

สนามอื่นๆ ที่สามารถใช้งานได้

ชุดที่ใช้สำหรับการแข่งขัน

แต่เดิมชุดแข่งขันของฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดที่หนึ่งประกอบด้วย เสื้อสีแดง กางเกงสีแดง และถุงเท้าสีแดง ส่วนชุดที่สองประกอบด้วย เสื้อสีน้ำเงิน กางเกงสีน้ำเงิน และ ถุงเท้าสีน้ำเงิน ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ทำเรื่องขอเปลี่ยนชุดที่หนึ่ง ไปยังสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) เป็นเสื้อสีเหลือง กางเกงสีเหลือง และถุงเท้าสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมกรรมการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีมติให้ทำเรื่องขอเปลี่ยนชุดที่หนึ่งไปยังฟีฟ่า กลับมาเป็นเสื้อสีแดง กางเกงสีแดง และถุงเท้าสีแดงอีกครั้ง

ไทย เอฟบีที (ไม่มีข้อมูล-2550)
ชุดที่หนึ่ง
(2545)
ชุดที่สอง
(2545)
ชุดที่หนึ่ง
(2546-2547)
ชุดที่สอง
(2546-2547)
ชุดที่หนึ่ง
(2548)
ชุดที่สอง
(2548)
ชุดที่หนึ่ง
(2549-2550)
ชุดที่สอง
(2549-2550)
สหรัฐ ไนกี (2550-2554)
ชุดที่หนึ่ง
(เอเชียนคัพ 2550)
ชุดที่สอง
(เอเชียนคัพ 2550)
ชุดสีเหลือง
(2550)
ไฟล์:THA home kit.jpg
ชุดที่หนึ่ง
(2553-2554)
ชุดที่หนึ่ง
(2551-2552)
ชุดที่สอง
(2551-2552)
ชุดที่หนึ่ง
(2553-2554)
ชุดที่สอง
(2553-2554)
ไทย แกรนด์สปอร์ต (2555-ปัจจุบัน)
ชุดที่หนึ่ง
(2555-2556)
ชุดที่สอง
(2555-2556)

ประวัติการแข่งขัน

ฟุตบอลโลก 2010

จากการจับฉลากสำหรับรอบที่ 1 และ รอบที่ 2 ในการแข่งขันรอบคัดเลือกโซนเอเชีย เพื่อหาตัวแทนไปแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยในรอบที่ 1 ทีมชาติไทยสามารถเอาชนะมาเก๊า ด้วยผลประตูรวม 13-2 และต้องพบกับเยเมนในรอบที่ 2 โดยทีมชาติไทยสามารถเอาชนะด้วยผลประตูรวม 2-1 โดยทีมชาติไทยถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับญี่ปุ่น, บาห์เรน, และ โอมาน ในรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก

เอเอฟซีรอบที่ 3 : กลุ่ม 2

ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย รวม แต้ม
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 6 4 1 1 12 3 +9 13
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน 6 3 2 1 7 5 +2 11
ธงชาติโอมาน โอมาน 6 2 2 2 5 7 −2 8
ธงชาติไทย ไทย 6 0 1 5 5 14 −9 1
  บาห์เรน ญี่ปุ่น โอมาน ไทย
บาห์เรน ธงชาติบาห์เรน 1 – 0 1 – 1 1 – 1
ญี่ปุ่น ธงชาติญี่ปุ่น 1 – 0 3 – 0 4 – 1
โอมาน ธงชาติโอมาน 0 – 1 1 – 1 2 – 1
ไทย ธงชาติไทย 2 – 3 0 – 3 0 – 1