ข้ามไปเนื้อหา

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
Faculty of Business Administration and Liberal Arts
ตราสัญลักษณ์ประจำคณะ
สถาปนา27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
คณบดีรศ.ดร.กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว
ที่อยู่
สี  สีฟ้า
เว็บไซต์bala.rmutl.ac.th

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549[1] มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนสาขาศิลปศาสตร์ และบริหารธุรกิจ มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 128 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

รายนามคณบดี

[แก้]
  • นางสาวอารยา พัชรเมธา พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2554
  • นายคูณธนา เบี้ยวบรรจง พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัฐฐพาดา(ชนิตา) โชติเสถียรกุล พ.ศ. 2558 - 2562
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิศรา จันทร์เจริญสุข พ.ศ.2562 - 2566
  • รองศาสตราจารย์ ดร.กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

การจัดการเรียนการสอน

[แก้]

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เปิดทำการเรียนการสอนใน 2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) และระดับปริญญาตรี โดยมีการเรียนการสอนใน 6 เขตพื้นที่ คือ เชียงใหม่ (ส่วนกลาง) เชียงราย ลำปาง น่าน ตาก และพิษณุโลก มีจำนวนนักศึกษา 4,508 คน[2]

สาขาที่เปิดสอน

[แก้]


หน่วยงาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี
สาขาการบัญชี

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

สาขาศิลปศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการ
  • สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
สาขาบริหารธุรกิจ

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ - การจัดการธุรกิจ
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ - การจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ - การตลาด
  • สาขาวิชาการตลาดและการตลาดดิจิทัล
  • สาขาวิชาธุรกิจการค้าและบริการ
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ - ภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ-การจัดการสารสนเทศทางธุรกิจ
  • สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ-พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ - การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

หน่วยงานของนักศึกษา

[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับคณะ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[3] ได้แก่

  • สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
  • ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากคณะ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๙ (กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘)
  2. สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2566
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]