คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Management Sciences,
Kasetsart University
ตราพระพิรุณทรงนาค
คณะวิทยาการจัดการ
ชื่อย่อวจก./MS.
สถาปนาวิทยาลัยชุมชนศรีราชา
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 (27 ปี 284 วัน)
คณะวิทยาการจัดการ
วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (24 ปี 120 วัน)
คณบดีดร.จุมพฏ บริราช
ที่อยู่
199 หมู่ 6 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
เพลงวิทยาการจัดการ ศรีราชา
สี███ สีฟ้าใส [1]
มาสคอต
พังงา
สถานปฏิบัติคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
เว็บไซต์www.ms.src.ku.ac.th

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหนึ่งในคณะที่เปิดการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ประวัติ[แก้]

เมื่อรัฐบาลได้กำหนดนโยบาย กระจายความเจริญออกสู่ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศโดยให้แต่ละภูมิภาค มีการพัฒนาศูนย์กลางความเจริญขึ้น ในพื้นที่ของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการมุ่งเน้นให้เกิดเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ เนื่องจากศักยภาพความพร้อมของภูมิภาคชายฝั่งทะเลตะวันออกที่มีอยู่เดิมค่อนข้างสูง ดังนั้นนโยบายดังกล่าวจึงทำให้สามารถกระตุ้น การขยายฐานการผลิต ในภาคอุตสาหกรรม และการจ้างงานพร้อมกับส่งเสริมธุรกิจ การค้า การท่องเที่ยวและการบริการเพื่อให้ภูมิภาคนี้ สามารถพึ่งตนเองได้ ตลอดจนเป็นฐานการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ให้กับประเทศไทย

จากศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประกอบกับพื้นฐานการจัดการศึกษาเดิม ผนวกเข้ากับความรับผิดชอบ ต่อระบบการศึกษา และการพัฒนาประเทศ ว่าสามารถเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสรรค์ พัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกภายใต้ขอบเขตภาระหน้าที่ที่มีอยู่ได้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงจัดทำแผนจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการขึ้น ณ วิทยาเขตศรีราชา และจัดให้อยู่ในประเภทสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาที่สามารถขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อตอบสนองการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และการพัฒนาประเทศตามลำดับ โดยมุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนระดับสูง เสริมสร้างงานวิจัยและพัฒนาทางวิชาการ ทางการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ธุรกิจบริการสาขาต่างๆ การบริหารสาธารณะและการจัดการการขนส่ง โดยเฉพาะสาขาวิชาที่มีความต้องการ จากฐานการผลิต และระบบเศรษฐกิจหลัก ทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศ

หลังจากดำเนินการตามแผน คณะวิทยาการจัดการได้รับความเห็นชอบ ในหลักการให้บรรจุไว้ในแผนพัฒนา การศึกษา ระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 ในฐานะ “วิทยาลัยชุมชน” ในปี พ.ศ. 2539 คณะอนุกรรมการพิจารณา จัดตั้งหน่วยงานราชการใหม่ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีมติเห็นชอบให้ขยายจากวิทยาลัยชุมชนเป็นวิทยาเขตศรีราชา และสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อนุมัติให้เป็นวิทยาเขตศรีราชาาอย่างสมบูรณ์ ในการประชุมครั้งที่ 3/2542 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 โดยที่มีคณะวิทยาการจัดการเป็นหน่วยงานภายในระดับคณะวิชา มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากทั่วประเทศ และกระจายโอกาสทางการศึกษา สู่ภูมิภาคพื้นที่ภาคตะวันออก คณะวิทยาการจัดการได้เปิดรับนิสิตรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2539 จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่สาขาการจัดการ สาขาการตลาดและสาขาการโรงแรม และดำเนินการเรียนการสอนครั้งแรก ในวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2539 โดยมุ่งที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ทางด้านการจัดการซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ของการบริหารธุรกิจทุกประเภท มารองรับกับการขยายตัว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการแรงงาน ของภูมิภาคบริเวณชายฝั่งทะเล [2]

หน่วยงาน[แก้]

หน่วยงานภายในคณะวิทยาการจัดการ

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรภาคภาษาไทย[แก้]

หลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลและการสร้างตรา (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  - แขนง "การจัดการการท่องเที่ยวร่วมสมัย"
  - แขนง “การจัดการโรงแรม"
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาการบัญชี (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาการเงินและการลงทุน (ภาคปกติและภาคพิเศษ)


หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)

  • สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ภาคปกติ)


หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)

  • บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม)

หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ[แก้]

หลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (International Business)
  • สาขาวิชาการเงินและการลงทุน (ภาคภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (Finance and Investment)
  • สาขาวิชาการจัดการ (ภาคภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (Management)
  • สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลและการสร้างตรา (ภาคภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (Digital Marketing and Branding)
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (ภาคภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (Logistics Management)
  • สาขาวิชาการบัญชี ภาคภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (Accounting)
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ (ภาคภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (Hospitality Industry Management)
  - แขนง "การจัดการการท่องเที่ยวร่วมสมัย" Contemporary Tourism Management (CTM)
  - แขนง “การจัดการโรงแรม" : Hotel Management (HM)


หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)


หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)

อ้างอิง[แก้]