คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Liberal Arts and Management Science,
Kasetsart University
FAM CSC KU.svg
สถาปนา8 มิถุนายน พ.ศ. 2543
คณบดีผศ.ดร.ปัททมา สุริยกุล ณ อยุธยา
ที่อยู่
59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
สี███ สีฟ้าใส
เว็บไซต์fam.csc.ku.ac.th

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตเพื่อจัดการเรียนการสอนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยตั้งอยู่ที่สนามบินเก่า บ้านเชียงเครือ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 19 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 (สกลนคร-นครพนม) บนเนื้อที่วิทยาเขต 4,000 ไร่ หนองหารน้อย 700 ไร่ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ในการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภูมิภาคของ ประเทศไทย และพัฒนาให้จังหวัดสกลนครเป็นศูนย์กลางด้าน การศึกษาของภูมิภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน โดยจัดให้มีคณะวิชาจัดการเรียนการสอนด้านอุตสาหกรรมการเกษตร และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม อีกทั้งให้เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าวิจัย การรวบรวมข้อมูลในการบริการวิชาการด้านเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอีสานตอนบน เพื่อพัฒนาให้ภูมิภาคแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเกษตรครบวงจรที่ก้าวหน้า อุตสาหกรรมเกษตร และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของภูมิภาคอินโดจีน และให้มีองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยคือหลักสูตร บริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยใน ภาคอีสานตอนบน โดยตั้ง"คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ"ขึ้นที่วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

ประวัติ[แก้]

เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ เป็นปีที่ 50 ประกอบกับเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคของประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ( 2535-3539 ) และฉบับที่ 8 ( 2540-2544 ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับทบวงมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน ภายในจังหวัดสกลนคร จัดทำโครงการจัดตั้ง “ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ” ขึ้นเป็นวิทยาเขตสารสนเทศ [1] คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ รับนิสิตและเปิดเรียน ณ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เป็นครั้งแรก ในภาคต้น ของปีการศึกษา 2543-44 (KU60) การจัดตั้งคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร เป็น 1 ใน 3 คณะที่ได้จัดตั้งตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน2543 (ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องการจัดตั้งคณะ สำนัก และ สำนักงานวิทยาเขต ที่จังหวัดสกลนคร ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2543)

 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เป็นวิทยาเขตหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาค ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการส่งเสริม สนับสนุน และขยายโอกาสทางการศึกษาในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ บริหารจัดการตลาดและธุรกิจ รวมทั้งด้านสาธารณสุขและสุขภาพ โดยตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 ได้มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ภาคพิเศษ (ต่อเนื่อง) 2 ปี เพื่อผลิตบัณฑิตและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุขระดับชุมชนของรัฐบาล ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและภูมิภาค จนถึงปีการศึกษา 2553 ต้องยุติการรับนักศึกษาเข้าศึกษา เพื่อให้สอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาต้องยุติการรับเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) และในปีการศึกษา 2553 วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ได้เปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุข ศาสตรบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ (4 ปี) สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ และดำเนินการจัดการเรียนการสอนจนปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่มีนักเรียนให้ความสนใจในการสมัครเข้าศึกษาต่อเป็นอย่างมาก

  • คณะศิลปศาสตรและวิทยาการจัดการ เป็นหน่วยงานหนึ่งในห้าหน่วยงาน ที่จัดตั้งโดยการอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่55/2543 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ตามประกาศของสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยเมื่อก่อนปีการศึกษา 2543 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมของบุคลากร ควบคู่กับการสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษา ให้แก่นักเรียน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดสกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร นครพนม หนองคาย และ จังหวัดใกล้เคียง
  • ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นช่วง 4 ปีแรก ก่อนการจัดตั้งวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการได้รับนิสิตและฝากนิสิตเพื่อทำการเรียนการสอนไว้ที่ คณะบริหารธุรกิจ (วิทยาเขตบางเขน) โดยได้เปิดดำเนินการเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดการและการบริหารธุรกิจ มีการรับนิสิตรุนที่ 1 จำนวน 35 คน ปีการศึกษา 2540 รับนิสิตรุ่นที่ 2 จำนวน 12 คน ปีการศึกษา 2541 รับนิสิตรุ่นที่ 3 จำนวน 26 คน และในปีการศึกษา 2542 รับนิสิตจำนวน 26 คน
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ได้เปิดทำการเรียนการสอนขึ้นใน วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกสกลนคร โดยได้เปิดสอน ๒ หลักสูตร คือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต และ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการ ซึ่งเป็นหลักสูตรของคณะบริหารธุรกิจ มีการรับนิสิตในปีนี้จำนวน 191 คน แบ่งเป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต 86 คน และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาการจัดการจำนวน 105 คน
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ได้เปิดหลักสูตรเพิ่มอีก 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด และหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโรงแรมและทองเที่ยว ซึ่งหลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาการตลาดนั้นเป็นหลักสูตรของคณะบริหารธุรกิจ(วิทยาเขตบางเขน) และหลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาการจัดการโรงแรมและทองเที่ยว เป็นหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ วิทยาเขตศรีราชา
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้มี นโยบายในการให้บริการหลักสูตรระดับปริญญาโท โดยได้ มอบหมายให้คณะศิลปศาสตรและวิทยาการจัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการผลิตบัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษา และจัดตั้งขึ้นเป็นโครงการปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(M.B.A) ภาคพิเศษ จนถึง ปี พ.ศ. 2556 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 6 หลักสูตร และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) จำนวน 1 หลักสูตรตามลำดับ[2]

หน่วยงาน[แก้]

ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

หลักสูตร[แก้]

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)

  • สาขาวิชาการบัญชี

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการเงิน

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)

  • สาขาวิชานิติศาสตร์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2010-12-01.
  2. http://fam.csc.ku.ac.th/?p=216