คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะอุตสาหกรรมบริการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Hospitality Industry (HI),
Kasetsart University
สถาปนา4 เมษายน พ.ศ. 2565
(2 ปี 22 วัน)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.อนามัย ดำเนตร
ที่อยู่
เลขที่ 1 หมู่ 6 ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 โทรศัพท์ 0-3435-2285 (ภายใน) 3099 , 3976 , 3977
สี███ สีเขียวเงินยวง (Metalic Green)
เว็บไซต์hi.kps.ku.ac.th, fb.com/hi.kps

คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นส่วนงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ล่าสุดที่จัดตั้งขึ้น ณ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการการจัดการเรียนการสอนด้านอุตสาหกรรมการบริหารอยู่ภายใต้คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และได้รับการพิจารณาอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้เป็นส่วนงานระดับคณะ ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำการเรียนการสอนหลักสูตรด้านอุตสาหกรรมบริการในวิทยาเขตกำแพงแสน อยู่ในสังกัดของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยจัดตั้ง "โครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมทางภาษา (สอบน)" สังกัดภายใต้คณะศิลปศาสตร์์และ วิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะศิลปศาสตร์์และวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 12/2551 วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์การจัดการศึกษานานาชาติ (ศจศน) International Study Management Centre (ISMC) ภายหลังได้ขอเปลี่ยนชื่อใหม่อีก 3 ครั้ง เป็นศูนย์การศึกษาอุตสาหกรรมบริการนานาชาติ (ศอบน) International Service Industry Study Center (ISIS) ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะศิลปศาสตร์์และวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 9/2552 วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 โครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการ (สอบ) Department of Service Industry (DSI) ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะศิลปศาสตร์์และวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3/2553 วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553 และล่าสุดเปลี่ยนเป็นโครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา (สอบน) Department of Service Industry and Language Innovation (DSIL) ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะศิลปศาสตร์์และวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 7/2553 วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 อนึ่ง โครงการจัดจัดตั้งสายวิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา (สอบน) ได้เสนอขอปรับฐานะเป็นสายวิชาพร้อมกับโครงการจัดตั้งภาควิชาอื่นๆ ของคณะศิลปศาสตร์์และวิทยาศาสตร์แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาเขตกำแพงแสนประจำเดือนมกราคม 2554 ดังนั้น โครงการจัดจัดตั้งสายวิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา (สอบน) จึงคงสถานะเป็นโครงการจัดตั้งภายใต้คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ตามเดิม [1]

ต่อมาปี พ.ศ 2565 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุม ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565 ได้พิจารณาอนุมัติให้จัดตั้งเป็นส่วนงานระดับคณะ และสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีประกาศจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมบริการ ณ วิทยาเขตกำแพงแสน เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 [2] โดยมีผลในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565 ประกอบกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีคำสั่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 715/2565 ลงวันที่ 4 เมษายน 2565 โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์นุชนาถ มั่นคง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน เป็นผู้รักษาราชการแทนคณบดี [3]

รายนามรักษาการคณบดีและคณบดีคณะอุตสาหกรรมบริการ[แก้]

รายนามรักษาการคณบดีและคณบดีคณะอุตสาหกรรมบริการ
ลำดับ ตำแหน่งทางวิชาการ รายนาม การศึกษาสูงสุด ชื่อตำแหน่งบริหาร ระยะเวลา หมายเหตุ
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นุชนาถ มั่นคง รักษาการคณบดี
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธานินทร์ คงศิลา ปริญญาเอก รักษาการคณบดี
3 รองศาสตราจารย์ ดร.อนามัย ดำเนตร ปริญญาเอก คณบดี 27 มิถุนายน 2566 - ปัจจุบัน

หน่วยงาน[แก้]

ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย 4 หน่วยงานระดับภาควิชา ดังนี้

หน่วยงานภายในคณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภาควิชา หน่วยงานวิจัย พัฒนา และสนับสนุน
  • ภาควิชานวัตกรรมบริการและสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
  • ภาควิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการบิน
  • ภาควิชาธุรกิจโรงแรมและไมซ์
  • สำนักงานเลขานุการ

หลักสูตร[แก้]

คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการเรียน-การสอนในปัจจุบัน 3 ระดับ คือ ปริญญาตรี จำนวน 8 หลักสูตร ปริญญาโท จำนวน 1 หลักสูตร และปริญญาเอก จำนวน 1 หลักสูตร[4] [5]

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ (ภาคปกติ และภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาการสร้างสรรค์การบริการเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการโรงแรมและภัตตาคาร (ภาคปกติ และภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาการจัดการธุรกิจการบิน (ภาคปกติ และภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการ (การจัดการโรงแรม) (ภาคปกติ และภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการ (การจัดการการท่องเที่ยวร่วมสมัย) (ภาคปกติ และภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบริการและอุตสาหกรรมไมซ์


หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชานวัตกรรมบริการและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม


หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขานวัตกรรมบริการและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

อัตลักษณ์[แก้]

สีประจำคณะ : สีเขียวเงินยวง (Metalic Green) [6]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติความเป็นมาโครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา (สอบน) เก็บถาวร 2022-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 เมษายายน 2565
  2. ประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมบริการ (Faculty of Hospitality Indutry) ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน 2565
  3. คำสั่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 715/2565 เรื่องแต่งตั้งผู้รักษาการแทนคณบดีอุตสาหกรรมบริการ ลงวันที่ 4 เมษายน 2565
  4. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แก้ไขข้อมูลหลักสูตรและสาขาวิชา สังกัดคณะอุตสาหกรรมบริการ (วิทยาเขตกำแพงแสน) การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน 2565 เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2565
  5. https://dsil.flas.kps.ku.ac.th เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566
  6. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 ประกาศเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 179 ง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566