เจ้าจอมมารดาจีน
เจ้าจอมมารดา จีน ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2370 |
เสียชีวิต | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2448 (78 ปี) |
ชื่ออื่น | หม่อมจีน ลดาวัลย์ ณ อยุธยา |
มีชื่อเสียงจาก | พระชนนีในพระอรรคชายาเธอในรัชกาลที่ 5 |
คู่สมรส | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี |
บุตร | พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา |
บิดามารดา | แส้ วัน |
เจ้าจอมมารดาจีน เป็นหม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี มีพระธิดา 3 องค์ ซึ่งในภายหลังได้ถวายองค์เป็นพระอรรคชายาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้ง 3 องค์ คือ [1][2]
- หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์ มีพระอิสริยยศเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค ต่อมาได้ทรงกรมเป็น กรมขุนอรรควรราชกัญญา
- หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์ มีพระอิสริยยศเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
- หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ มีพระอิสริยยศเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ต่อมาได้ทรงกรมเป็น กรมขุนสุทธาสินีนาฏ และได้รับการสถาปนาเป็น พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ในสมัยรัชกาลที่ 7
เจ้าจอมมารดาจีน เดิมคือ “หม่อมจีน ลดาวัลย์ ณ อยุธยา” เป็นหม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าท่านเป็นพระชนนีในพระอรรคชายาเธอ 3 พระองค์ ทั้งยังเป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระมารดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอีก 6 พระองค์ จีงมีพระบรมราชโองการสถาปนา หม่อมจีน ลดาวัลย์ ณ อยุธยา เป็น เจ้าจอมมารดาจีน
เจ้าจอมมารดาจีน ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ที่วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สิริอายุ 78 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศไม้สิบสอง ฉัตรเครื่องสูง 5 ชั้น จำนวน 12 คัน แวดล้อมเป็นเกียรติยศ และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมประจำศพ วันละ 4 รูป และเครื่องประโคมศพ กลองชนะ 5 คู่ จ่าปี 1 และเลี้ยงพระเช้า 4 รูป เพล 4 รูป มีกำหนด 3 เดือน
เกียรติยศ[แก้]
- จีน (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2370 - ไม่ทราบปี)
- หม่อมจีน ในพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ (ไม่ทราบปี - ไม่ทราบปี)
- เจ้าจอมมารดาจีน (ไม่ทราบปี - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2448)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2443 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[3]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 4 (จ.ป.ร.4)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://theyoung.net/tamneap_vip/49_queen/49_37.htm
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ฝ่ายน่า แลฝ่ายใน, เล่ม ๑๗, ตอน ๓๕, ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓, หน้า ๕๐๐