ประพันธ์ อัมพุช
ประพันธ์ อัมพุช | |
---|---|
รองหัวหน้าพรรคสันติชน | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 เมษายน พ.ศ. 2465 อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย (ในขณะนั้น) |
เสียชีวิต | 21 เมษายน พ.ศ. 2536 (71 ปี) |
พรรคการเมือง | ชาติไทย |
คู่สมรส | แสงหล้า อัมพุช |
ประพันธ์ อัมพุช เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 2 สมัย ในช่วงปี พ.ศ. 2500 และ พ.ศ. 2518 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของจังหวัดพะเยา เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคสันติชน และเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา
ประวัติ[แก้]
ประพันธ์ อัมพุช เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2465 ที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายเมืองใจ อัมพุช กับนางบุง อัมพุช มีน้อง 4 คน นายประพันธ์สมรสกับนางแสงหล้า วุฒิศรี มีบุตร 2 คน
ประพันธ์ จบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนบ้านถ้ำประชานุเคราะห์ จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเทศบาล 1 อำเภอเมืองพะเยา ต่อมาเข้าเรียนต่อจนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพครู จากโรงเรียนฝึกหัดครู จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จากนั้นในปี พ.ศ. 2485 เข้ารับราชการครูที่โรงเรียนบ้านถ้ำประชานุเคราะห์
ประพันธ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2536
การเมือง[แก้]
ประพันธ์ อัมพุช ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคสันติชน ในปี พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค[1] ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต 2 (พื้นที่อำเภอแม่สรวย, อำเภอเวียงป่าเป้า, อำเภอพาน, อำเภอแม่ใจ, อำเภอพะเยา, อำเภอดอกคำใต้ และ กิ่งอำเภอป่าแดด) และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 เป็น 1 ใน 8 ส.ส.ของพรรคสันติชน[2]
ประพันธ์ อัมพุช เป็นนักการเมืองที่ผลักดันการจัดตั้งจังหวัดพะเยา โดยการเสนอแยกออกจากจังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2518
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 พะเยายกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดเป็นครั้งแรก (ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522) เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ในนามพรรคชาติไทย
ประพันธ์ อัมพุช ได้รับการยกย่องโดยการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2523 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
อ้างอิง[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2465
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2536
- บุคคลจากจังหวัดพะเยา
- ครูชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคสันติชน
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.