สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ ในปี พ.ศ. 2566 | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน | ||||
พิธีขึ้น | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562 พระราชวังหลวงโตเกียว | ||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิอากิฮิโตะ | ||||
รัชทายาทโดยสันนิษฐาน | เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ | ||||
นายกรัฐมนตรี | |||||
พระราชสมภพ | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 พระราชวังหลวงโตเกียว | ||||
จักรพรรดินี | มาซาโกะ โอวาดะ (พ.ศ. 2536–ปัจจุบัน) | ||||
พระราชบุตร | เจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิอากิฮิโตะ | ||||
พระราชมารดา | มิจิโกะ โชดะ | ||||
ศาสนา | ชินโต |
ราชวงศ์ญี่ปุ่น |
---|
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนะมิยะ |
สมเด็จพระจักรพรรดิ (ญี่ปุ่น: 天皇陛下; โรมาจิ: Tennō Heika) พระนามจริงว่า นารูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 徳仁; โรมาจิ: Naruhito, พระราชสมภพ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่ 126 และพระองค์ปัจจุบัน ทรงขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกะคุชูอินและมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ทรงสนพระทัยในเรื่องของประวัติศาสตร์และดนตรี และยังโปรดปรานการสีวิโอลาอีกด้วย พระองค์ทรงอภิเษกกับมาซาโกะ โอวาดะ ที่จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และทางด้านการทูตที่กระทรวงการต่างประเทศ
พระราชประวัติ
[แก้]จักรพรรดินารูฮิโตะมีพระอิสริยยศเดิมว่า ฮิโระโนะมิยะ (ญี่ปุ่น: 浩宮) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 เวลา 16:15 น. ณ โรงพยาบาลสำนักพระราชวังหลวง ในพระราชวังหลวงโตเกียว และดำรงพระราชอิสริยยศนั้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2534[1] จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร เป็นเวลาสองปีหลังจักรพรรดิโชวะพระราชอัยกาของพระองค์เสด็จสวรรคตปี พ.ศ. 2532
ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยกะกุชุอิง ในสาขาประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2531 ตามลำดับ แต่ในปี พ.ศ. 2526-2528 ทรงไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยเมอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร
พระองค์โปรดการเล่นวิโอลา รวมไปถึงการวิ่งจ๊อกกิ้ง การไต่เขา และการปีนเขาในยามว่าง นอกจากนี้พระองด้ยังมีพระราชนิพนธ์หนังสือ The Thames and I: A Memoir of Two Years at Oxford ซึ่งเป็นบันทึกประจำวันขณะที่พระองค์ประทับศึกษาอยู่ในออกซฟอร์ด
ชีวิตส่วนพระองค์
[แก้]การอภิเษกสมรส
[แก้]เจ้าชายนารูฮิโตะอภิเษกสมรสกับสตรีวัย 29 ปี ชาวญี่ปุ่น นามว่ามะซะโกะ โอะวะดะ นักการทูตในกระทรวงการต่างประเทศ ที่เดียวกับที่ทำงานของบิดาเธอคือฮิซะชิ โอะวะดะ ที่ปัจจุบันเป็นตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และเป็นอดีตรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงอดีตทูตญี่ปุ่นประจำสหประชาชาติ โดยที่สำนักพระราชวังหลวง ได้ประกาศถึงการหมั้นหมายของทั้งสองพระองค์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536
พระราชพิธีอภิเษกสมรส ถูกจัดขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ที่หอชินโตของพระราชวังหลวงโตเกียว มีแขกผู้ได้รับเชิญราว 800 คน ซึ่งรวมถึงพระราชวงศ์จากราชวงศ์ในยุโรปจำนวนมาก และมีการถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมราว 500 ล้านคนทั่วโลก ทั้งสองได้เลือกพำนักที่วังโทงู ในเขตมินะโตะ โตเกียว
ทั้งสองมีพระราชธิดา 1 พระองค์ คือ เจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนมิยะ (敬宮愛子内親王; ประสูติ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544)
ข้อโต้แย้งต่อพระชายา
[แก้]ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 มกุฎราชกุมารนารูฮิโตะทรงพยายามให้สาธารณชนเข้าใจถึงเจ้าหญิงมาซาโกะพระชายาของพระองค์ ที่กำลังทรงประสบกับภาวะความเครียดและซึมเศร้า ซึ่งถูกวินิจฉัยว่าทรงเป็นภาวะการปรับตัวผิดปกติ เจ้าชายนารูฮิโตะ ทรงตรัสว่า "ข้าพเจ้าอยากจะให้ทุกคนเข้าใจว่า มาซาโกะจะยังคงดำเนินตามความพยายามสูงสุดของเธอต่อไปด้วยกำลังใจจากผู้คนรอบข้าง โปรดเฝ้ามองเธอต่อไปด้วยความเห็นใจ" ทั้งนี้การประชวรของจักรพรรดินีมาซาโกะ ถูกมองว่าอาจมาจากการทรงถูกกดดันให้ประสูติกาลพระราชโอรสเป็นว่าที่องค์รัชทายาท เพราะตามโบราณราชประเพณีและกฎมณเฑียรบาลแล้วสตรีไม่สามารถขึ้นครองราชย์ได้[2][3]
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
[แก้]เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สำนักพระราชวังหลวง ได้ประกาศว่าจักรพรรดิอากิฮิโตะ จะสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 เนื่องจากทรงเห็นว่าทรงอยู่ในวัยพระชราภาพ อีกทั้งพระพลานามัยที่อ่อนล้าลง ทำให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ยากลำบากขึ้น และจะเปิดทางให้ เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมาร ขึ้นครองราชสมบัติแทน
เป็นครั้งแรกในรอบ 200 กว่าปี ที่จักรพรรดิญี่ปุ่นประกาศสละราชสมบัติ หลังจากที่จักรพรรดิโคกะกุได้สละราชสมบัติให้กับจักรพรรดินินโก พระราชโอรส พระองค์ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2360 (วันที่ 22 เดือน 3 ปี บุงกะ ที่ 14) ซื่งสภาสำนักพระราชวังหลวง ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี ชินโซ อะเบะ พร้อมด้วยประธานสภาผู้แทนราษฎร คณะองคมนตรี และผู้แทนสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่น เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนมิยะ เสด็จฯ ออกพร้อมด้วย เจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาฯ ได้มีการประชุมร่วมกันเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิอากิฮิโตะ ต่อมา ชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อนักข่าวสั้น ๆ ว่า สภาสำนักพระราชวังหลวง กำหนดวันสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562
จักรพรรดิอากิฮิโตะขณะนี้มีพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระองค์ได้เคยผ่านการผ่าตัดพระหทัยและการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา พระองค์เคยตรัสว่า
ทรงมีพระชนมพรรษามากขึ้น และพระพลานามัยอ่อนแอลง ทำให้การทรงงานและปฏิบัติพระราชกรณียกิจทำได้ไม่เต็มที่
วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประกาศนามของรัชศกใหม่ที่นำมาใช้แทนรัชศกเฮเซ ที่จะสิ้นสุดลงคือ เรวะ ซึ่งจะเริ่มต้นใช้ในวันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เมื่อการสละราชสมบัติของพระราชบิดามีผลในเที่ยงคืนวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 มกุฎราชกุมารนารูฮิโตะทรงขึ้นสืบราชสมบัติต่อในทันที
พระราชพิธีขึ้นครองราชย์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562[4] ต่อมาอีกสองปี ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (เลื่อนมาจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19) ซึ่งกรุงโตเกียวเป็นเจ้าภาพ ณ สนามกีฬาแห่งชาติใหม่ โดยทรงตามรอยสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ พระบรมอัยกาธิราช ซึ่งทรงเปิดการแข่งขันโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2507 ณ สนามกีฬาแห่งชาติเดิม
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักรในฐานพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3[5] ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวคาบเกี่ยวกับการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมืองของสหราชอาณาจักรก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม[6]
พระราชอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | เท็นโนเฮกะ (天皇陛下) |
การแทนตน | โบะกุ (บุรุษ) / วาตาชิ (สตรี) |
การขานรับ | เฮกะ (陛下) |
ลำดับโปเจียม | 1 |
- 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 : เจ้าชายนารูฮิโตะ ฮิโระโนะมิยะ (浩宮徳仁親王殿下 ฮิโระ-โนะ-มิยะ นารูฮิโตะ ชินโน เดนกะ)
- 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – 30 เมษายน พ.ศ. 2562 : เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น (皇太子徳仁親王殿下 โคไตชิ นารูฮิโตะ ชินโน เดนกะ)
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน : สมเด็จพระจักรพรรดิ (天皇陛下 เท็นโน เฮกะ)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น
[แก้]- ค.ศ. 2019 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกียรติคุณและราชมิตราภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ชั้นสังวาล
- ค.ศ. 2019 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณสูงส่ง โชติช่วงยิ่งดอกคิริ
- ค.ศ. 2019 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]ประเทศ | ปีที่ได้รับ | เครื่องอิสริยาภรณ์ | แพรแถบ | อ้างอิง | |
---|---|---|---|---|---|
ออสเตรีย | ค.ศ. 1999 | เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทองพร้อมสายสะพาย | |||
เบลเยียม | เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งพระเจ้าเลโอโปลด์ ชั้นที่ 1 | ||||
เดนมาร์ก | ค.ศ. 2004 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง ชั้นอัศวิน | |||
เยอรมนี | เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นประถมาภรณ์ | ||||
ฟิลิปปินส์ | ค.ศ. 2002 | เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสายสร้อย | |||
สหราชอาณาจักร | 25 มิถุนายน 2024 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ ชั้นสูงสุด | [7] |
ราชตระกูล
[แก้]พงศาวลีของสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Personal Histories of Their Imperial Highnesses the Crown Prince and Crown Princess". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2002. สืบค้นเมื่อ 2 December 2016.
- ↑ "Crown Prince Naruhito defends ailing wife". Irish Examiner. 2008-07-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.
- ↑ Japan's crown prince seeks public understanding for ailing princes gmanews.tv.
- ↑ "Enthronement ceremony for new emperor mulled for Oct. 2019". Mainichi Shimbun. 31 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2017.
The government is mulling scheduling the enthronement ceremony for the next emperor for October 2019, months after Crown Prince Naruhito accedes to the Imperial Throne on May 1 that year upon his father Emperor Akihito's abdication, it has been learned.
- ↑ Author, No (2024-06-04). "Japan's emperor and empress to pay three-day state visit to U.K." The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 2024-06-09.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Japanese state visit to UK not stopped by general election". www.bbc.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-09.
- ↑ Rebecca English [@RE_DailyMail] (June 25, 2024). "The King has appointed The Emperor of Japan to the Most Noble Order of the Garter" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Japankiku เก็บถาวร 2008-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิอากิฮิโตะ | จักรพรรดิญี่ปุ่น (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในราชสมบัติ | ||
เจ้าชายอากิฮิโตะ | มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – 30 เมษายน พ.ศ. 2562) |
ว่าง |