สี จิ้นผิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สี จิ้นผิง
习近平
สี จิ้นผิง ใน พ.ศ. 2566
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ก่อนหน้าหู จิ่นเทา
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2556
หัวหน้ารัฐบาลหลี่ เค่อเฉียง
หลี่ เฉียง
รองประธานาธิบดี
ก่อนหน้าหู จิ่นเทา
ประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
  • คณะกรรมาธิการพรรค:
    15 มีนาคม พ.ศ. 2555
  • คณะกรรมาธิการรัฐ:
    4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าหู จิ่นเทา
รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2556
ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา
ก่อนหน้าเจิ้ง ชิ่งหง
ถัดไปหลี่ หยวนเฉา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มิถุนายน พ.ศ. 2496 (70 ปี)
ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คู่สมรสเค่อ หลิงหลิง (หย่า)
เผิ่ง หลี่หยวน (ปัจจุบัน)
บุพการี
ที่อยู่อาศัยจงหนานไห่
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยชิงหฺวา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สาธารณรัฐประชาชนจีน
สังกัด กองทัพจีน
ประจำการ1979–1982
หน่วยคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
สมาชิกภาพในสถาบันส่วนกลาง
  • 2007–: 17th, 18th Politburo Standing Committee
  • 2007–: 17th, 18th Politburo
  • 2007–: Secretary (first-ranked), 17th Central Secretariat
  • 2002–: Full member, 16th, 17th, 18th Central Committee
  • 1997–2002: Alternate member, 15th Central Committee
  • 1998–: Delegate, 9th, 10th, 11th, 12th National People's Congress

ตำแหน่งกลุ่มนำกลาง

ตำแหน่งอื่น
สี จิ้นผิง
อักษรจีนตัวย่อ习近平
อักษรจีนตัวเต็ม習近平

สี จิ้นผิง (จีนตัวย่อ: 习近平; จีนตัวเต็ม: 習近平; พินอิน: Xí Jìnpíng; เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2496) เป็นนักการเมืองชาวจีน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนและประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง บางทีเรียก "ผู้นำสูงสุด" ของจีน[1][2] ในปี 2559 พรรคให้ตำแหน่งเขาเป็นผู้นำ "แกนกลาง" ในฐานะเลขาธิการ[3] สีเป็นคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นองค์กรวินิจฉัยสั่งการสูงสุดของจีน

สี จิ้นผิงเป็นเลขาธิการคนแรกที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นบุตรของทหารผ่านศึกคอมมิวนิสต์จีน สี จ้งซฺวิน สีขยับตำแหน่งทางการเมืองในมณฑลฝั่งทะเลของจีน สีเป็นผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยนตั้งแต่ปี 2542 ถึง 2545 และผู้ว่าการ ซึ่งขณะนั้นเป็นตำแหน่งเลขาธิการพรรคของมณฑลเจ้อเจียงตั้งแต่ปี 2545 ถึง 2550 หลังการปลดเฉิน เหลียงยฺหวี่ สีถูกโอนไปเซี่ยงไฮ้เป็นเลขาธิการพรรคช่วงสั้น ๆ ในปี 2550 สีเข้าร่วมคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาคณะกรรมการบริหารสูงสุดและสำนักเลขาธิการกลางในเดือนตุลาคม 2550 ใช้เวลาอีกห้าปีเป็นผู้สืบทอดของหู จิ่นเทา สีเป็นรองประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2556 และรองประธานคณะกรรมการกลางทหารส่วนกลางตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2555

ประวัติ[แก้]

สี จิ้นผิง เป็นบุตรของ สี จ้งซฺวิน อดีตรองนายกรัฐมนตรีจีน ผู้ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดของประธาน เหมา เจ๋อตง แต่ก่อนการปฏิวัติวัฒนธรรมไม่นาน จ้งซฺวินก็ถูกปรับลดตำแหน่งลงเป็นเพียงกรรมกร เนื่องจากเป็นผู้อนุมัติให้มีการตีพิมพ์หนังสือที่วิจารณ์ประธานเหมา ครอบครัวสีก็เข้าสู่ความทุกข์ยาก และเนื่องจากประวัติที่ด่างพร้อยของบิดาทำให้เขาเป็นนักเรียนที่มักถูกกลั่นแกล้งอยู่เสมอ พี่สาวของสีก็ถูกกลั่นแกล้งเช่นกัน ด้วยความทุกข์หลายประการสุดท้ายเธอก็ฆ่าตัวตาย[4] และแล้ว สี จิ้นผิง ก็กลายเป็นหนึ่งใน 29,000 ปัญญาชนชุดแรกที่ถูกกวาดต้อนไปเข้ารับการศึกษา ใช้ชีวิตเรียนรู้การทำไร่ทำนาและปศุสัตว์ พำนักอยู่ในถ้ำที่เหลียงเจี่ยเหอ หมู่บ้านเล็ก ๆ ทางเหนือของมณฑลชานซีในปี พ.ศ. 2512[4] ถึงกระนั้น เขามีความมุ่งมั่นที่จะเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาก สี จิ้นผิง ซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในถ้ำ ได้เขียนจดหมายสมัครเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งแล้วครั้งเล่า แม้จะถูกปฏิเสธมาตลอด แต่ในที่สุด หลังจากความพยายามหลายครั้ง เขาก็ได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ [4]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

สีแต่งงานครั้งแรกกับ เค่อ หลิงหลิง บุตรีของเค่อ หัว อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำอังกฤษ ก่อนที่ทั้งคู่แยกทางกันหลังจากแต่งงานเพียงไม่กี่ปี [5]

ต่อมา พ.ศ. 2530 สีแต่งงานกับ เผิง ลี่ยฺเหวียน เธอเป็นนักร้องเพลงพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งเธอเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกครั้งเมื่อนายสีได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และภายหลังสามีได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ นางเผิง เริ่มที่จะเข้ามามีบทบาทในด้านการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ในฐานะที่เธอเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของจีน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ภริยาผู้นำสูงสุดออกมามีบทบาทต่อสาธารณชน ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคน ชื่อว่า สี หมิงเจ๋อ ซึ่งเธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2558 ขณะที่เรียนเธอใช้นามแฝง โดยศึกษาทางด้านจิตวิทยาและภาษาอังกฤษ[6][7]

นางเผิงเคยกล่าวถึงชีวิตในครอบครัวว่า "พอเขามาถึงบ้าน ดิฉันไม่เคยรู้สึกเลยว่ามีผู้นำกำลังอยู่ในบ้าน ในสายตาฉันเขายังคงเป็นแค่สามี" [8]

ประธานาธิบดี[แก้]

หลังเถลิงอำนาจ สีริเริ่มมาตรการกว้างขวางเพื่อใช้บังคับวินัยของพรรคและรับประกันเอกภาพภายใน การรณรงค์ปราบการฉ้อราษฎร์บังหลวงอันเป็นสัญลักษณ์ของเขานำสู่การหมดอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งปัจจุบันและเกษียณแล้วคนสำคัญหลายคน[9] สีเพิ่มการจำกัดสังคมพลเมืองและวจนิพนธ์อุดมการณ์ ส่งเสริมการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนตามมโนทัศน์ "เอกราชอินเทอร์เน็ต"[10][11] สีเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบตลาดเพิ่ม การปกครองตามกฎหมายและเสริมสร้างสถาบันกฎหมาย โดยเน้นความทะเยอทะยานปัจเจกบุคลและชาติภายใต้คำขวัญ "ฝันจีน"[12] สียังเป็นผู้นำนโยบายต่างประเทศที่ในเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะกับความสัมพันธ์ระหว่าง จีน–ญี่ปุ่น ไปจนถึงการอ้างสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ และบทบาทในการเป็นผู้นำการค้าเสรีและโลกาภิวัฒน์[13] เขายังมุ่งขยายอิทธิพลในยูเรเชียของจีนผ่านการริเริ่มหนึ่งเข็มขัดหนึ่งเส้นทาง[9]

สีจิ้นผิงในปี ค.ศ. 2015

เขาถือเป็นบุคคลศูนย์กลางของผู้นำรุ่นที่ 5 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน[14] สีรวบอำนาจสถาบันมากขึ้นโดยดำรงตำแหน่งผู้นำหลายตำแหน่ง รวมทั้งประธานคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติที่ตั้งใหม่ ตลอดจนคณะกรรมการขับเคลื่อนใหม่ว่าด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม การจัดโครงสร้างกองทัพใหม่ และอินเทอร์เน็ต ความคิดทางการเมืองของสี ถูกเขียนอยู่ในธรรมนูญของพรรค และมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อเลิกข้อจำกัดวาระของประธานาธิบดี นั่นทำให้ผู้นำจีนต่อไปนี้ สามารถรับเลือกเป็นประธานาธิบดีได้โดยไม่จำกัดวาระ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกจำกัดมาตั้งแต่สมัยที่เติ้งเสี่ยวผิงปฏิรูปประเทศจีน[15] สีมีการสร้างลัทธิบูชาบุคคลรอบตัวเขา[16][17] "โดยมีหนังสือ การ์ตูน เพลงป๊อบ และกระทั่งท่าเต้น"[18]

จุดยืนการเมือง[แก้]

ความคิดสี จิ้นผิง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2559 เดือน ก.ย. ทางคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ได้มีมตินำปรัชญาความคิดทางการเมืองของสีจิ้นผิง บรรจุเป็นแนวทางและยุทธ์ศาสตร์หลักในการบริหารประเทศ ซึ่งถูกเรียกว่า "ความคิดของสีจิ้นผิง" เป็นการรวบรวมเอา ปาฐกถา สุนทรพจน์ คำปราศรัย ถ้อยแถลง บทสัมภาษณ์ ปรัชญา ไปจนถึงจดหมายและข้อเขียนของสีจิ้นผิง ในระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ออกเผยแพร่ โดยสีให้ความสำคัญต่อหลักการสังคมนิยม และรูปร่างของจีนในยุคใหม่ เพื่อเป็นทิศทางของการบริหารประเทศจีนต่อไป[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. Huang, Cary. "Xi Jinping pledges renewal of the nation". South China Morning Post.
  2. Wang, Xiangwei (18 November 2013). "Xi moves closer to becoming another paramount leader". South China Morning Post.
  3. Wu, Zhong (2016-10-23). "All hail Xi, China's third 'core' leader". www.atimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-22. สืบค้นเมื่อ 2016-11-11.
  4. 4.0 4.1 4.2 Cultural Revolution Shaped Xi Jinping, From Schoolboy to Survivor Christ Buckley and Didi Kirsten Tatlow. The New York Times. 24 กันยายน 2015.
  5. Elizabeth Yuan (2012-11-08). "Xi Jinping: From 'sent-down youth' to China's top". CNN. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
  6. Liu, Melinda (18 January 2011). "Can't we just be friends?". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 19 January 2011.
  7. Osnos, Evan (6 April 2015). "What Did China's First Daughter Find in America?". The New Yorker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2018. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018.
  8. "In depth". BBC. สืบค้นเมื่อ 11 September 2012.
  9. 9.0 9.1 "China's Soft-Power Deficit Widens as Xi Tightens Screws Over Ideology". the China Brief. Brookings Institution. 5 December 2014.
  10. Tiezzi, The, Shannon. "China's 'Sovereign Internet'". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-08-04.
  11. Ford, Peter (2015-12-18). "On Internet freedoms, China tells the world, 'leave us alone'". Christian Science Monitor. ISSN 0882-7729. สืบค้นเมื่อ 2017-08-04.
  12. "Xi Jinping calls for a Chinese dream, Daily Telegraph". สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.
  13. "王毅:指導新形勢下中國外交的強大思想武器 Wang Yi: Zhidao xin xingshi xia Zhongguo waijiao de qiangda sixiang wuqi (Wang Yi: Powerful ideological weaponry for the purpose of channelling China under new circumstances)". 中國共產黨新聞 Zhongguo Gongchandang xinwen. สืบค้นเมื่อ 2017-09-25.
  14. "deckblatt-ca-data sup-form.pdf" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-17. สืบค้นเมื่อ 20 October 2010.
  15. Choi, Chi-yuk; Jun, Mai (2017-09-18). "Xi Jinping's political thought will be added to Chinese Communist Party constitution, but will his name be next to it?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-09-22.
  16. Frenkiel, Emilie (2015). "Le président chinois le plus puissant depuis Mao Zedong (The most powerful Chinese president since Mao Zedong)". Le monde diplomatique. Octobre 2015: 4f.
  17. "The power of Xi Jinping. A cult of personality is growing around China's president. What will he do with his political capital?". The Economist (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-09-20.
  18. Phillips, Tom (2015-09-19). "Xi Jinping: Does China truly love 'Big Daddy Xi' – or fear him?". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2017-08-31.
  19. 中共中央政治局召开会议 研究拟提请党的十八届七中全会讨论的文件-新华网, The Political Bureau of the CPC Central Committee Convened to Study the Documents to be Submitted to the Seventh Plenary Session of the 18th CPC Central Committee. news.xinhuanet.com (in Chinese). Retrieved 4 October 2017.
ก่อนหน้า สี จิ้นผิง ถัดไป
หู จิ่นเทา เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
(15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
หู จิ่นเทา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
(15 มีนาคม พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ