ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิเฮเซ (อาเตะ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิเฮเซ
平城天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 806–809
ราชาภิเษก9 เมษายน ค.ศ. 806
ก่อนหน้าคัมมุ
ถัดไปซางะ
พระราชสมภพค.ศ. 773
อาเตะ (ญี่ปุ่น: 安殿โรมาจิAte)
สวรรคต5 สิงหาคม ค.ศ. 824(824-08-05) (50–51 ปี)
เฮโจเกียว (นาระ)
ฝังพระศพยามาโมโมะ โนะ มิซาซางิ (楊梅陵; นาระ)
คู่อภิเษกฟูจิวาระ โนะ ทาราชิโกะ/ไทชิ
พระราชบุตร
  • เจ้าชายอาโบะ
  • เจ้าชายทากาโอกะ
  • เจ้าชายโคเซะ
  • เจ้าหญิงคามิตสึเกโนะ
  • เจ้าหญิงอิโซโนกามิ
  • เจ้าหญิงโอฮาระ
  • เจ้าหญิงเอนุ
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิเฮเซ (平城天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ยามาโตะ-เนโกะ-อาเมโอชิกูนิ-ทากาฮิโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (日本根子天推国高彦天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิคัมมุ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ โอโตมูโระ

จักรพรรดิเฮเซ (ญี่ปุ่น: 平城天皇โรมาจิHeizei-tennō; ค.ศ. 773 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 824) มีอีกพระนามว่า เฮโจเท็นโน เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 51[1] ตามลำดับการสืบทอดแบบดั้งเดิม[2] รัชสมัยของพระองค์อยู่ใน ค.ศ. 806 ถึง 809[3]

เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม

[แก้]

เฮเซเป็นพระราชโอรสองค์โตที่สุดในจักรพรรดิคัมมุกับจักรพรรดินีฟูจิวาระ โนะ โอโตมูโระ[4] เฮเซมีจักรพรรดินีสามพระองค์กับพระราชโอรสและพระราชธิดา 7 พระองค์[5]

เหตุการณ์ในชีวิตของพระองค์

[แก้]
  • ค.ศ. 785: (ปีเอ็นเรียกุที่ 4, เดือนที่ 11[6]): เฮเซได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อพระชนมายุ 12 พรรษา[7]
  • 9 เมษายน ค.ศ. 806 [8] (ปีไดโดที่ 1, วันที่ 17 เดือนที่ 3[9]): ในปีที่ 25 ของรัชสมัยจักรพรรดิคัมมุ พระองค์สวรรคต และถึงแม้จะมีการโต้เถียงกันว่าใครควรเป็นผู้สืบทอดคนต่อไป นักวิชาการร่วมสมัยตีความว่าพระราชโอรสของพระองค์ได้รับตำแหน่งผู้สืบทอด (เซ็ซโซ) หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิเฮเซจึงขึ้นครองราชย์ (โซกูอิ)[10]

ในรัชสมัยเฮเซ มีการจัดรูปแบบองครักษ์ใหม่ โดยองครักษ์ของจักรพรรดิที่มีอยู่แล้วกลายเป็นองครักษ์ฝ่ายซ้ายของจักรพรรดิ ในขณะที่องครักษ์ฝ่ายกลางกลายเป็นองครักษ์ฝ่ายขวาของจักรพรรดิ[11] องครักษ์ทั้งสองฝ่ายได้รับผู้บัญชาการอาวุโสคนใหม่ ณ เวลานั้น จักรพรรดิเฮเซทรงแต่งตั้งซากาโนอูเอะ โนะ ทามูรามาโระ (ค.ศ. 758–811) เป็นผู้บัญชาการอาวุโสประจำองครักษ์ฝ่ายขวาของจักรพรรดิ[11] โดยในรัชสมัยจักรพรรดิคัมมุก่อนหน้า ทามูรามาโระเคยได้รับแต่งตั้งเป็นโชกุนประจำกองสำรวจทางทหารต่อเอมิชิ[12]

  • ค.ศ. 809 (ปีไดโดที่ 4, เดือนที่ 1[13]): หลังครองราชย์เป็นเวลา 4 ปี จักรพรรดิเฮเซทรงพระประชวร และทรงกลัวว่าพระองค์อาจไม่มีชีวิตรอด จักรพรรดิเฮเซจึงสละราชสมบัติให้แก่พระอนุชาของพระองค์ ผู้ภายหลังมีพระนามว่าจักรพรรดิซางะ[11]
  • 18 พฤษภาคม ค.ศ. 809 (ปีไดโดที่ 4, วันที่ 1 เดือนที่ 4[14]): จักรพรรดิซางะขึ้นครองราชย์ตอนพระชนมายุ 24 พรรษา[11]
  • 5 สิงหาคม ค.ศ. 824 (ปีเท็นโจที่ 1, วันที่ 7 เดือนที่ 7[15]): หลังจักรพรรดิเฮเซสละราชสมบัติเนื่องจากพระโรคเป็นเวลา 14 ปี พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยพระชนมายุ 51 พรรษา[16]

ปีในรัชสมัยเฮเซ

[แก้]

ปีในรัชสมัยเฮเซมีแค่หนึ่งศักราช (เน็งโง)[17]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

จักรพรรดินี (สถาปนาหลังสวรรคตเป็นโคโง): ฟูจิวาระ โนะ ทาราชิโกะ/ไทชิ (藤原帯子; สวรรคต ค.ศ. 794) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โมโมกาวะ[18]

ฮิ: เจ้าหญิงอาซาฮาระ (朝原内親王; 779–817) พระราชธิดาในจักรพรรดิคัมมุ

ฮิ: เจ้าหญิงโอยาเกะ (大宅内親王; สวรรคต ค.ศ. 849) พระราชธิดาในจักรพรรดิคัมมุ

ฮิ: เจ้าหญิงคันนาบิ (甘南美内親王; 800-817) พระราชธิดาในจักรพรรดิคัมมุ

โชชิ นางใน (ไนชิ-โนะ-คามิ): (ฟูจิวาระ โนะ คูซูโกะ ญี่ปุ่น: 藤原薬子โรมาจิFujiwara no Kusuko; สวรรคต ค.ศ. 810) อดีตพระมเหสีใน ชูนางง ฟูจิวาระ โนะ ทาดานูชิ[19] และพระราชธิดาในฟูจิวาระ โนะ ทาเน็ตสึงุ

ฮิ: ธิดาในฟูจิวาระ ทาดานูชิ

นางใน: อิเซะ โนะ สึงูโกะ (伊勢継子; 772–812) ธิดาในอิเซะ โนะ โอนะ

  • เจ้าชายองค์ที่สาม: เจ้าชายจักรพรรดิทากาโอกะ (高丘親王; 799–881) มกุฎราชกุมารใน ค.ศ. 809 (ถอดถอนใน ค.ศ. 810)
  • เจ้าชายองค์ที่สี่: เจ้าชายจักรพรรดิโคเซะ (巨勢親王; สวรรคต ค.ศ. 882)
  • เจ้าหญิงคามิตสึเกโนะ (上毛野内親王; สวรรคต ค.ศ. 842)
  • เจ้าหญิงอิโซโนกามิ (石上内親王; สวรรคต ค.ศ. 846)
  • เจ้าหญิงองค์ที่สาม: เจ้าหญิงโอฮาระ (大原内親王; สวรรคต ค.ศ. 863) ไซโอที่ 14 ประจำศาลเจ้าอิเซะ (806–809)

นางใน: ฟูจิอิ โนะ ฟูจิโกะ/โทชิ (葛井藤子) ธิดาในฟูจิอิ โนะ มิจิโยริ

นางใน: คิ โนะ อิโอกาซุ (紀魚員) ธิดาในคิ โนะ คตสึโอะ

  • เจ้าหญิงเอนุ (叡努内親王; สวรรคต ค.ศ. 835)

พงศาวลี

[แก้]

[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Emperor Heizei, Yamamomo Imperial Mausoleum, Imperial Household Agency
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 62–63.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 96–97; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 279–280; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, p. 151.
  4. Varley, p. 151; Brown, p. 279.
  5. Brown, p. 279.
  6. 延暦四年十一月
  7. Brown and Ishida, p. 279
  8. วันที่จูเลียนจาก NengoCalc
  9. 大同一年三月十七日
  10. Titsingh, p. 95; Brown and Ishida, p. 279; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Brown and Ishida, p. 280
  12. Brown and Ishida, p. 279; Varley, p. 272; Titsingh, p. 99.
  13. 大同四年一月
  14. 大同四年四月一日
  15. 天長一年七月七日
  16. Brown and Ishida, p. 280; Varley, p. 151.
  17. Titsingh, p. 96.
  18. Ponsonby-Fane, P. 318; in 806, 12 years after death, this is first time this posthumously elevated rank was bestowed
  19. Ponsonby-Fane, p. 318. Brown and Ishida, pp. 281
  20. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 28 January 2018.

บรรณานุกรม

[แก้]