เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน
เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน | |
---|---|
Recep Tayyip Erdoğan | |
ประธานาธิบดีตุรกี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 28 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | |
นายกรัฐมนตรี | อาห์เหม็ด ดาวูโตกลู (2014-16) บีนาลี ยึลดือรึม (2016-18) |
รองประธานาธิบดี | ฟ็วต ออคเตย์ (2018-2023) Cevdet Yılmaz (2023-ปัจจุบัน) |
ก่อนหน้า | อับดุลลาห์ จึล |
นายกรัฐมนตรีตุรกี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม ค.ศ. 2003 – 28 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | |
ประธานาธิบดี | อาห์เมต เนจเดต เซแซร์ อับดุลลาห์ จึล |
ก่อนหน้า | อับดุลลาห์ จึล |
ถัดไป | อาห์เหม็ด ดาวูโตกลู |
เลขาธิการพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 14 สิงหาคม ค.ศ. 2001 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | |
รอง | เมห์เมต อาลี ชาฮิน นูมัน กูร์ตุลมุช |
ก่อนหน้า | ตำแหน่งตั้งขึ้นใหม่ |
ถัดไป | อาห์เหม็ด ดาวูโตกลู |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อิสตันบูล ตุรกี | 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954
เชื้อชาติ | ตุรกี |
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี |
พรรคการเมือง | National Salvation Party (1972–1981) Welfare Party (1983–1998) Virtue Party (1998–2001) พรรคยุติธรรมและการพัฒนา (2001–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | Emine Gülbaran (สมรส 1978) |
บุตร | Ahmet Burak Sümeyye Necmettin Bilal Esra |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยมาร์มะรา |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์รัฐบาล เว็บไซต์ส่วนตัว |
เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน (ตุรกี: Recep Tayyip Erdoğan, เกิด 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954) เป็นนักการเมืองชาวตุรกีซึ่งปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีตุรกีนับแต่ปี 2547 เดิมเขาเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2557 และนายกเทศมนตรีอิสตันบูลตั้งแต่ปี 2537 ถึง 2541 เขาก่อตั้งพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (AKP) ในปี 2544 และนำพรรคชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2545 2550 และ 2554 ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2557 เขามาจากภูมิหลังการเมืองอิสลามมิสต์ (Islamist) และอธิบายตนเองว่าเป็นประชาธิปไตยอนุรักษนิยม เขาส่งเสริมอนุรักษนิยมทางสังคมและนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม[1] ภายใต้รัฐบาลเขา ประชาธิปไตยในประเทศตุรกีถดถอย
แอร์โดอันเคยเล่นฟุตบอลให้กับทีมคาซิมบาซาก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีอิสตันบูลในปี 2537 จากพรรคสวัสดิการอิสลามมิสต์ เขาถูกริบตำแหน่ง ห้ามรับตำแหน่งทางการเมือง และจำคุกสี่เดือน ฐานอ่านบทกวีซึ่งส่งเสริมมุมมองการปกครองทางศาสนาระหว่างสุนทรพจน์ในปี 2541 แอร์โดอันทิ้งนโยบายอิสลามมิสต์เปิดเผยและตั้งพรรค AKP ซึ่งเป็นอนุรักษนิยมสายกลางในปี 2544 หลังพรรคชนะการเลือกตั้งถล่มทลายในปี 2555 ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค อับดุลลาห์ จึล เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลประกาศให้คำสั่งห้ามรับตำแหน่งทางการเมืองของแอร์โดอันเป็นโมฆะ แอร์โดอันเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนมีนาคม 2546 หลังชนะการเลือกตั้งซ่อมในจังหวัดซีร์ต[2]
รัฐบาลแอร์โดอันควบคุมการเจรจาสมาชิกภาพของตุรกีในสหภาพยุโรป การฟื้นฟูเศรษฐฏิจหลังภาวะการเงินตกต่ำในปี 2544 การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติในปี 2550 และ 2553 นโยบายต่างประเทศออตโตมันใหม่ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนน สนามบินและเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง[3][4] และสุดท้ายวิกฤตเงินตราและหนี้ตุรกีปี 2561[5][6][7] ด้วยความช่วยเหลือของขบวนการกูเลน แอร์โดอันสามารถกำราบอำนาจของกองทัพผ่านคดีความในศาล ปลายปี 2555 รัฐบาลของเขาเริ่มการเจรจาสันติภาพกับพรรคแรงงานเคอร์ดิสถานเพื่อยุติการก่อการกำเริบของพรรคฯ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2521 การหยุดยิงล้มเหลวในปี 2558 นำไปสู่การบานปลายของความขัดแย้งรอบใหม่ ในปี 2559 มีความพยายามรัฐประหารที่ไม่สำเร็จต่อแอร์โดอันและสถาบันของรัฐตุรกี เกิดการกวาดล้างและภาวะฉุกเฉินที่กำลังดำเนินอยู่ตามมา
นักรัฐศาสตร์ไม่ถือว่าประเทศตุรกีเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อีกต่อไป โดยยึดการขาดการเลือกตั้งที่อิสระและยุติธรรม การกวาดล้างและจำคุกฝ่ายตรงข้าม การจำกัดเสรีภาพสื่อและความพยายามของแอร์โดอันในการขยายอำนาจบริหารของเขาและลดความรับผิดของฝ่ายบริหารของเขา[8][9][10][11] การประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2556 เกิดจากประชาชนมองว่านโยบายเขาเป็นเผด็จการ เขาวิจารณ์ผู้ประท้วงและสั่งตำรวจปราบปราม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 22 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รัฐบาลต่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนประณามเหตุดังกล่าว เหตุนี้ยังทำให้การเจรจาสมาชิกภาพสหภาพยุโรปหยุดชะงัก หลังแตกแยกกับกูเลน แอร์โดอันประกาศการปฏิรูปตุลาการอย่างกว้างขวางซึ่งเขายืนกรานว่าจำเป็นเพื่อกวาดล้างผู้เข้ากับกูเลน แต่ถูกวิจารณ์ว่าคุกคามความเป็นอิสระของตุลาการ กรณีอื้อฉาวฉ้อราษฎร์บังหลวง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 นำไปสู่การจับกุมพันธมิตรใกล้ชิดของแอร์โดอัน และตัวเขาเองก็ถูกกล่าวโทษด้วย[12][13][14] นับแต่นั้นรัฐบาลเขาถูกวิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนและปราบปรามสื่อมวลชนและสื่อสังคม โดยสกัดกั้นการเข้าถึงวิกิพีเดีย ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊กและยูทูบในหลายโอกาส[15] รัฐบาลแอร์โดอันยุติคำสั่งห้ามตามคำสั่งศาล[16][17][18] แต่ต่อมาก็ออกคำสั่งใหม่[19][20] ในปี 2559 ประเทศตุรกีภายใต้แอร์โดอันเริ่มการกวาดล้างเสรีภาพสื่อ ในปี 2559 และ 2560 มีนักหนังสือพิมพ์ถูกขังในประเทศตุรกีมากที่สุดในโลก[21] เขาได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2561 และรับตำแหน่งประธานาธิบดีบริหารและเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 แอร์โดอันได้เปลี่ยนสถานะฮาเกียโซเฟียไปเป็นมัสยิด[22] การเปลี่ยนครั้งนั้นสร้างเสียงวิจารณ์และคัดค้านทั้งฝ่ายค้าน, ยูเนสโก, สภาคริสตจักรสากล และผู้นำนานาชาติหลายแห่ง[23][24][25]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Turkey's Davutoglu expected to be a docile Prime Minister with Erdogan calling the shots". Fox News. Associated Press. 21 August 2014. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
- ↑ Arda Can Kumbaracibasi (24 July 2009). Turkish Politics and the Rise of the AKP: Dilemmas of Institutionalization and Leadership Strategy. Routledge. pp. 1–2. ISBN 978-0-203-87629-9.
- ↑ Nick Tattersall (28 February 2013). "Erdogan's ambition weighs on hopes for new Turkish constitution". Stratejik Boyut. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-17. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
- ↑ "Growing consumption". Metro Group. 24 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-02. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.
- ↑ Borzou Daragahi (25 May 2018). "Erdogan Is Failing Economics 101". Foreign Policy.
- ↑ "Inflation rise poses challenge to Erdogan as election looms". Financial Times. 5 June 2018.
- ↑ Matt O'Brien (13 July 2018). "Turkey's economy looks like it's headed for a big crash". Washington Post.
- ↑ Yildirim, A. Kadir; Lynch, Marc (2016-12-08). "Is there still hope for Turkish democracy?". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
- ↑ "Rising competitive authoritarianism in Turkey". Third World Quarterly. 2016. doi:10.1080/01436597.2015.1135732.
- ↑ "Turkey". freedomhouse.org (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
- ↑ "Turkey takes a big step toward nationalist fascism". www.washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
- ↑ Genç, Göksel; Esit, Elif (27 ธันวาคม 2013). "Yeni yolsuzluk dosyasının ekonomik boyutu 100 milyar dolar" [New economic corruption files valued at $100 billion]. Zaman (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2014.
- ↑ "100 milyar dolarlık yolsuzluk" [$100 billion dollar corruption]. Sözcü (ภาษาตุรกี). 26 December 2013. สืบค้นเมื่อ 3 December 2014.
- ↑ "Yolsuzluk operasyonunun maliyeti 100 milyar Euro" [Corruption operation costs 100 billion euros]. Milliyet (ภาษาตุรกี). 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 3 December 2014.
- ↑ "Turkey Blocks Twitter". The Washington Post. 21 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-22. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
- ↑ "Official in Turkey 'lift Twitter ban'". BBC News. 3 April 2014. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
- ↑ "Turkey lifts Twitter ban after court ruling". Reuters. 3 April 2014. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
- ↑ "YouTube access restored in Turkey". BBC News. 4 June 2014. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBanReimposed1
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBanReimposed2
- ↑ Record number of journalists jailed as Turkey, China, Egypt pay scant price for repression, Committee to Protect Journalists (December 13, 2017).
- ↑ "Presidential Decree on the opening of Hagia Sophia to worship promulgated on the Official Gazette". Presidency of the Republic of Turkey: Directorate of Communications (ภาษาอังกฤษ). 2020-07-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-05. สืบค้นเมื่อ 2020-07-17.
- ↑ "Church body wants Hagia Sophia decision reversed". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 11 July 2020. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
- ↑ "Pope 'pained' by Hagia Sophia mosque decision". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 12 July 2020. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
- ↑ "World reacts to Turkey reconverting Hagia Sophia into a mosque". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 10 July 2020. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)