ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศอันดอร์รา

พิกัด: 42°30′N 1°31′E / 42.500°N 1.517°E / 42.500; 1.517
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อันดอร์รา)
ราชรัฐอันดอร์รา[1]

Principat d'Andorra (กาตาลา)
คำขวัญ"พลังที่รวมเป็นหนึ่งแข็งแรงกว่า"
(ละติน: Virtus Unita Fortior)[2]
ที่ตั้งของ ประเทศอันดอร์รา  (ตรงกลางวงกลมเขียว) ในทวีปยุโรป  (เทาเข้ม)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]
ที่ตั้งของ ประเทศอันดอร์รา  (ตรงกลางวงกลมเขียว)

ในทวีปยุโรป  (เทาเข้ม)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อันดอร์ราลาเวยา
42°30′N 1°31′E / 42.500°N 1.517°E / 42.500; 1.517
ภาษาราชการกาตาลา[1][a]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2017[3])
  • 48.8% อันดอร์รา
  • 25.1% สเปน
  • 12% โปรตุเกส
  • 4.4% ฝรั่งเศส
  • 9.7% อื่น ๆ
ศาสนา คริสต์ (โรมันคาทอลิก)
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ทวาธิปไตยโดยเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ
ชาบิเอ อัสป็อต ซาโมรา
การ์ลัส อันซัญญัต เร็ตช์
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช
• จากอารากอน
8 กันยายน ค.ศ. 1278[6][7]
ค.ศ. 1814
2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993
พื้นที่
• รวม
467.63 ตารางกิโลเมตร (180.55 ตารางไมล์) (อันดับที่ 178)
0.26 (121.4 เฮกตาร์)[b]
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 77,543[9] (อันดับที่ 203)
179.8 ต่อตารางกิโลเมตร (465.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 71)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
3.237 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10]
42,035 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (ค.ศ. 2003)27.21[c]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.868[12]
สูงมาก · อันดับที่ 36
สกุลเงินยูโร ()[d] (EUR)
เขตเวลาUTC+01 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+02 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
ขับรถด้านขวามือ[13]
รหัสโทรศัพท์+376
โดเมนบนสุด.ad[e]

อันดอร์รา (กาตาลา: Andorra) หรือ ราชรัฐอันดอร์รา (กาตาลา: Principat d'Andorra) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ขนาดเล็ก อยู่ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป อยู่ในเทือกเขาพิเรนีสทางตะวันออก มีอาณาเขตติดกับประเทศฝรั่งเศสและสเปน เดิมเคยเป็นประเทศอยู่โดดเดี่ยว ปัจจุบันอันดอร์รานับเป็นประเทศที่มั่งคั่งประเทศหนึ่ง โดยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และยังเป็นประเทศที่มีการเก็บภาษีที่ต่ำมากด้วย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดินแดนที่เป็นราชรัฐอันดอร์ราในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมต่าง ๆ อาทิ Franks, Visigoths และอาหรับ ในสมัยของกษัตริย์ Charlemagne ของฝรั่งเศส ในปลายศตวรรษที่ 9 ได้มีการจัดตั้ง เขตปกครองในเทือกเขาพีรีนิส ซึ่งรวมเขตอันดอร์ราขึ้นภายใต้ชื่อ Marca Hispanica ต่อมาเชื่อกันว่ากษัตริย์ Charlemagne ยอมให้อันดอร์รามีอิสรภาพโดยเอกสารชื่อ Carta de Fundacio d'Andorra แต่หลังจากกษัตริย์ Charlemagne สิ้นพระชนม์ อันดอร์รากลับตกไปอยู่ใต้อำนาจของ Count of Urgell ซึ่งต่อมาได้ยินยอมยกดินแดนให้ Bishop of Urgell ในปีค.ศ. 1113 ซึ่งได้สืบทอดสิทธิและเป็นเจ้าของเหนือดินแดนนี้เรื่อยมาในนามของ Church of Urgell ในปี ค.ศ. 1159 มีการสู้รบแย่งชิงดินแดนระหว่าง Church of Urgell กับ Count of Foix จนถึงปี ค.ศ. 1278 จึงได้มีการลงนามระหว่าง Church of Urgell และ Count of Foix (Roger Bernard) ในสนธิสัญญา Pariatges อันมีผลให้ราชรัฐอันดอร์ราเป็นดินแดนที่มีสถานะเป็นราชรัฐร่วม (coprincipality) ระหว่าง Church of Urgell และ Count of Foix โดย Bishop of Urgell ได้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน และ Count of Foix มีอำนาจด้านการเมือง การศาล และการทหาร ต่อมา Count of Foix ได้สมรสกับ Viscount of Bearn รัชทายาทแห่งแคว้น Navarre ผู้นำฝรั่งเศสจึงได้สืบทอดการปกครองดังกล่าวจนถึงสมัยของ Henry IV ซึ่งดำรงตำแหน่ง Count of Foix ที่ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ดังนั้น อันดอร์ราจึงกลายเป็นราชรัฐร่วมระหว่าง Church of Urgell ของสเปนกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1419 Church of Urgell และฝรั่งเศสได้ให้สัตยาบันแก่ Council of the Land ในการจัดตั้ง General Council หรือรัฐสภาของราชรัฐอันดอร์ราในปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ. 1866-68 Church of Urgell และฝรั่งเศสได้ประกาศ Nova Reforma (New Reform) เป็นแนวทางในการจัดระบบการเมืองและการบริหารในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และเริ่มยุคของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ วันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1981 Church of Urgell และฝรั่งเศสได้ออกกฤษฎีกาจัดตั้ง ระบบการปกครองราชรัฐอันดอร์ราใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1993 ได้มีการลงประชามติให้ราชรัฐอันดอร์รามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญปกครองฉบับแรก (ซึ่งฝรั่งเศสและสเปนได้ยกร่างร่วมกัน) ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 รัฐธรรมนูญดังกล่าวกำหนดให้อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน โดยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร แบ่งแยกอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติออกจากกัน และยังคงมอบอำนาจให้ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและ Bishop of Urgell แห่งสเปน ดำรงตำแหน่งประมุขร่วมกัน

การเมือง

[แก้]

รัฐธรรมนูญราชรัฐอันดอร์รา ปี ค.ศ. 1993 กำหนดให้ราชรัฐอันดอร์ราปกครอง ด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเดียว โดยมีประมุขร่วม (Parliamentary Co-Principality) คือพระราชาคณะ (Bishop) แห่งเมือง Urgell ของสเปน และประธานาธิบดีฝรั่งเศส โดยประมุขทั้งสองเป็นประมุขในทางสัญลักษณ์เท่านั้น โดยมีผู้แทนของตนอยู่ในราชรัฐอันดอร์รา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เรียกว่า Vegeur ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรี 9 คน ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่ต่ำกว่า 28 คน และไม่เกิน 42 คน ปัจจุบันมี 28 คน และมีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 4 ปี ฝ่ายตุลาการ ใช้ระบบกฎหมายอิงตามแบบสเปนและฝรั่งเศส โดยอำนาจฝ่ายตุลาการดำเนินการโดย Battlles (Magistrates) ทั้งนี้ ศาลมี 3 ระดับ คือ Tribunal of Judges (Tribunal de Batlles) , Tribunal of the Courts (Tribunal de Corts) และ Supreme Court of Justice (Tribunal Superior de Justicia)

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นของอันดอร์รา

อันดอร์ราประกอบด้วยเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น (กาตาลา: parròquia) 7 เขต ได้แก่

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ตั้งอยู่บนเทือกเขา Pyrenees ระหว่างประเทศฝรั่งเศส (ทางทิศเหนือ) และสเปน (ทางทิศใต้) ที่ระดับความสูงระหว่าง 838 – 2,946 เมตร

เศรษฐกิจ

[แก้]

เนื่องจากประเทศอันดอร์ราไม่มีสกุลเงินใช้เป็นของตนเอง โดยก่อนหน้านี้ใช้เงินสกุลฟรังก์ฝรั่งเศสและเปเซตาสเปน ในปัจจุบันใช้สกุลเงินยูโรเป็นหลัก รายได้ GDP ต่อหัว ประมาณ 16,600 ดอลลาร์สหรัฐ และมี GDP โดยรวมประมาณ 1,065,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนประมาณ 15,000,000 คนต่อปี

สภาวะทั่วไปทางเศรษฐกิจ ราชรัฐอันดอร์ราเป็นรัฐปลอดภาษี มีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว (ซึ่งมีนักท่องเที่ยวประมาณปีละ 11.6 ล้านคนและทำรายได้เป็นสัดส่วน 80% ของ GDP) การธนาคาร (tax haven) และด้านอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากภาคอุตสาหกรรมมีไม่มาก

ภาคการผลิตที่สำคัญ คือ บุหรี่ ซิการ์ เครื่องเรือน การที่อันดอร์ร่ามีพื้นที่แพาะปลูกเพียงร้อบละ 2 ของพื้นที่ทั้งหมดทำให้ภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงปศุสัตว์ (แกะ) การทำป่าไม้และปลูกยาสูบได้รับความสำคัญน้อยลงเรื่อย ๆ

ราชรัฐอันดอร์รามีทรัพยากรธรรมชาติไม่มากนัก อาทิ น้ำแร่ ป่าไม้ แร่เหล็ก ตะกั่ว และสามารถผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้มากพอเป็นสินค้าออกสำคัญ

ในด้านการค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) สินค้าส่งออกที่สำคัญ : อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องเสียง ผลิตภัณฑ์ยาสูบ เฟอร์นิเจอร์ ตลาดส่งออกที่สำคัญ : สเปน ฝรั่งเศส สินค้านำเข้าที่สำคัญ : สินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร และไฟฟ้า ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สเปน ฝรั่งเศส

ราชรัฐอันดอร์ราลงนามในความตกลงทางการค้ากับสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1990 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา ซึ่งส่งผลให้มีการก่อตั้งสหภาพศุลกากรสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ทำให้มีการยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าบางรายการ แต่ยังรักษาระบบการค้าสำหรับสินค้าเกษตรกับประเทศที่สามไว้ตามเดิม

ดัชนีทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ (2551) ได้แก่ - ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ GDP (PPP) 2.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ - รายได้ประชาชาติต่อหัว 38,800 ดอลลาร์สหรัฐ - การเติบโตทางเศรษฐกิจ 3.5% - อัตราเงินเฟ้อ 3.2%

ประชากร

[แก้]

จำนวนประชากรทั้งประเทศ มีโดยประมาณ 70,000 คน ประกอบด้วยเชื้อชาติต่าง ๆ คือ อันดอร์ราน สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอื่น ๆ โดยมีอัตราการเติบโตของประชากรอยู่ที่ 0.8% และอายุเฉลี่ยของประชากร 85 ปี

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชรัฐอันดอร์รา

[แก้]

ความสัมพันธ์ทางการทูต

[แก้]

ราชรัฐอันดอร์ราและไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2543 โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริดของสเปน ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำราชรัฐอันดอร์ราอีกตำแหน่งหนึ่ง

ความสัมพันธ์ทางการค้า (พ.ศ. 2552)

[แก้]

ในภาพรวมไทยกับอันดอร์รายังมีความสัมพันธ์ทางการค้าไม่มากนัก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 3.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออก 0.44 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้า 3.42 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยขาดดุล 2.99 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป

สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน สัตว์น้ำสดแช่เย็น/แช่แข็ง สิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า ตลาดราชรัฐอันดอร์ราเป็นตลาดขนาดเล็ก ซึ่งภาครัฐและเอกชนของไทยยังขาดข้อมูลด้านการตลาด

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาฝรั่งเศสมีผู้พูดเป็นชนกลุ่มน้อย
  2. (ในภาษาฝรั่งเศส) Girard P & Gomez P (2009), Lacs des Pyrénées: Andorre.[8]
  3. Informe sobre l'estat de la pobresa i la desigualtat al Principal d'Andorra (2003)[11]
  4. ก่อน ค.ศ. 1999 คือฟรังก์ฝรั่งเศสและเปเซตาสเปน เหรียญและธนบัตรของทั้งสองสกุลเงินใช้ได้ถึง ค.ศ. 2002 ส่วนเหรียญดีเนอันดอร์ราจำนวนน้อย (แบ่งเป็น 100 แซ็นติม) จำนวนน้อยได้รับการผลิตขึ้นหลังจาก ค.ศ. 1982
  5. และ .cat ซึ่งใช้ร่วมกับดินแดนอื่นที่พูดภาษากาตาลา

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Constitution of the Principality of Andorra" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2019.
  2. "Andorran Symbols". WorldAtlas. 29 มีนาคม 2021.
  3. "CIA World Factbook entry: Andorra". Cia.gov. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2012.
  4. Religion and Contemporary Politics: A Global Encyclopedia [2 volumes]. ABC-CLIO. 2019. ISBN 978-1-4408-3933-7.
  5. Temperman, Jeroen (2010). State–Religion Relationships and Human Rights Law: Towards a Right to Religiously Neutral Governance. BRILL. ISBN 978-90-04-18149-6. ... guarantees the Roman Catholic Church free and public exercise of its activities and the preservation of the relations of special co-operation with the state in accordance with the Andorran tradition. The Constitution recognizes the full legal capacity of the bodies of the Roman Catholic Church which have legal status in accordance with their own rules.
  6. "Història d'Andorra". Cultura.ad. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2019. (ในภาษากาตาลา)
  7. "Andorra". Enciclopèdia.cat. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2019. (ในภาษากาตาลา)
  8. "Andorra en xifres 2007: Situació geogràfica, Departament d'Estadística, Govern d'Andorra" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2012.
  9. "Population on 31 December". สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2020.
  10. "Andorra | Data". data.worldbank.org.
  11. "Informe sobre l'estat de la pobresa i la desigualtat al Principal d'Andorra (2003)" (PDF). Estadistica.ad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012.
  12. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 ธันวาคม 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2020.
  13. "List of left- & right-driving countries". WorldStandards. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2024.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Armengol Aleix, E. (2009). Andorra: un profund i llarg viatge. Andorra: Government of Andorra. ISBN 978-99920-0-549-1. (ในภาษากาตาลา)
  • Guillamet Anton, J. (2009). Andorra: nova aproximació a la història d'Andorra. Andorra: Revista Altaïr. ISBN 978-84-936220-4-6. (ในภาษากาตาลา)
  • Llop Rovira, Marta (1998). "L'Edat Moderna a Andorra (S. XVII al XVIII)". Història, Geografia i Institucions d'Andorra. Government of Andorra. ISBN 99920-0-185-2.
  • Ministeri d'Educació, Joventut i Esports (1996). "L'Edat Antiga i Mitjana a Andorra". Història, Geografia i Institucions d'Andorra. Government of Andorra.
  • Peruga Guerrero, J. (1998). La crisi de la societat tradicional (S. XIX). Andorra: Segona Ensenyança. ISBN 978-99920-0-186-8. (ในภาษากาตาลา)

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Berthet, ElieThe Valley of Andorra. Bristol: J. W. Arrowsmith, 1886.
  • Butler, Michael – Frisch: Andorra.
  • Carrick, Noel – Let's Visit Andorra. London: Macmillan, 1988.
  •  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Andorra" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 01 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 965–966.
  • Deane, Shirley – The Road to Andorra. London: John Murray, 1960.
  • Duursma, John C. – Fragmentation and the International Relations of Micro-States. Cambridge University Press, 1996.
  • Jenner, Paul & Christine Smith – Landscapes of the Pyrenees. London: Sunflower Books, 1990.
  • Johnson, Virginia W. – Two Quaint Republics, Andorra and San Marino.
  • Leary, Lewis Gaston – Andorra the Hidden Republic. London: T. Fisher Unwin, 1912.
  • Mackintosh, May – Assignment in Andorra. London: Pan, 1976.
  • Murray, James Erskine – A Summer in the Pyrenees. London: John Macrone, 1837.
  • Newman, BernardRound About Andorra. London: George Allen & Unwin, 1928.
  • Piesold, Werner – Andorra.
  • Reichert, Thomas – Andorra, A Country Survey. Nuremberg, 1986.
  • Spender, Harold & H. Llewellyn Smith – Through the High Pyrenees. London: A. D. Innes, 1898.
  • Vila, Linda Armengol – Approach to the History of Andorra. Perpignan: Institut d'Estudis Andorrans, 1989.
  • Vilajoana, Ricard Fiter & M. Marti Rebols – All Andorra. Barcelona: Escudo de Oro, 1979.
  • Waagenaar, Sam – The Little Five. London: Andre Deutsch, 1960.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
วิกิตำราภาษาอังกฤษ มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ: Andorra