การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น
ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันต่อประชากร 100,000 คนแบ่งตามจังหวัด[a]
โรคโควิด-19
สายพันธุ์ไวรัสไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)
สถานที่ประเทศญี่ปุ่น
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ผู้ป่วยต้นปัญหาจังหวัดคานางาวะ
ผู้ป่วยยืนยันสะสม1,726,479 คน
หาย2,282,871 คน[1]
เสียชีวิต18,567 คน
อัตราการเสียชีวิต0.81 เปอร์เซ็นต์
การฉีดวัคซีน
เว็บไซต์ของรัฐบาล
กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ (ญี่ปุ่น)
ซูเปอร์มาร์เก็ต

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น ได้รับการยืนยันว่ามีการแพร่กระจายไปยังประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563 จากประเทศจีน

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ขอให้โรงเรียนประถมศึกษา, มัธยมต้น และมัธยมปลายของญี่ปุ่นปิดทำการจนถึงต้นเดือนเมษายนเพื่อช่วยป้องกันไวรัส[2] การระบาดครั้งนี้เป็นความกังวลสำหรับโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นที่โตเกียวตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม[3] รัฐบาลญี่ปุ่นจึงใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อช่วยลดผลกระทบจากการระบาด[4]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 รัฐบาลญี่ปุ่นได้แก้ปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัย โดยดำเนินการแจกหน้ากากผ้าให้กับทุกครัวเรือน แต่ก็ได้รับการวิจารณ์ในแง่ลบเป็นอันมาก ทั้งขนาดที่เล็กเกินไป และการใช้งบประมาณที่สูงมาก อีกทั้งบางครัวเรือนได้รับไม่เพียงพอต่อจำนวนคน และหน้ากากบางส่วนไม่ได้มาตรฐาน เช่นมีคราบสกปรกหรือขึ้นราเป็นต้น[5] นโยบายนี้และตัวหน้ากากที่แจกได้ถูกเรียกว่าเป็น "อาเบะโนมาสก์" (อังกฤษ: Abenomask)[6][7][8][9] คล้ายคลึงกับคำว่าอะเบะโนมิกส์ที่หมายความถึงนโยบายเศรษฐกิจของนายชินโซ อาเบะเช่นเดียวกัน[5]

ผลกระทบทางการเมือง[แก้]

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้แย่ลงเนื่องจากการระบาดของโรคโคโรนาไวรัสใน พ.ศ. 2563[10] ประเทศเกาหลีใต้วิพากษ์วิจารณ์ญี่ปุ่นว่า "มีความพยายามกักกันที่คลุมเครือและไม่ดิ้นรน"[11]

หมายเหตุ[แก้]

  1. The Kuril Islands are administered by Russia, six cases have been reported in the Sakhalin Oblast overall.


อ้างอิง[แก้]

  1. "Coronavirus updates". NHK. สืบค้นเมื่อ 2022-01-03.
  2. NEWS, KYODO. "PM Abe asks all schools in Japan to temporarily close over coronavirus". Kyodo News+.
  3. "Coronavirus: Tokyo 2020 could be postponed to end of year – Japan's Olympic minister". BBC News. 3 March 2020.
  4. "Coronavirus could see the Tokyo Olympics cancelled. Is Japan's handling of the outbreak to blame?". ABC News. 3 March 2020.
  5. 5.0 5.1 "มาตรการแจกหน้ากากผ้าของญี่ปุ่น สู่กระแส "อาเบะโนมาสก์" ถูกสับเปลืองภาษี 4.7 หมื่นล้านเยน". นิตยสารโพซิชั่นนิ่ง. 25 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Japan's Coronavirus Mask Handout Tainted by Gripes Over Mould, Stains, Insects". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). 2020-04-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
  7. "Abe faces calls for decisive action after 'Abenomask' blunder". nikkei asia reviews (ภาษาอังกฤษ). 2020-04-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
  8. Japan’s Abe Taken to Task Over Itsy-Bitsy Masks (The Wall Street Journal, 2020.4.21); Anger as Japanese Prime Minister offers two cloth masks per family while refusing to declare coronavirus emergency (CNN, 2020.4.2); Coronavirus: Japan PM gets social media roasting for offering free cloth masks (South China Morning Post, 2020.4.2); Two masks, no lockdown: Japan PM's latest coronavirus step riles social media (Reuters, 2020.4.2)
  9. From Abenomics to Abenomask: Japan Mask Plan Meets With Derision (Bloomberg, 2020.4.2); You've got mail: 'Abenomask' distribution starts in Japan (France 24, 2020.4.17); Coronavirus measure in Japan of 2 masks per home taken as April Fool's joke, mocked as 'Abenomask' (Fox News, 2020.4.2)
  10. "Japan and Korea Won't Let A Pandemic Stop Them Fighting". Foreign Policy. 12 March 2020.
  11. "Coronavirus quarantine plans ignite row between South Korea and Japan". The Guardian. 6 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]