ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดินีเก็มเม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดินีเก็มเม
元明天皇
จักรพรรดินีญี่ปุ่น
ครองราชย์18 สิงหาคม ค.ศ. 707 – 3 ตุลาคม ค.ศ. 715
ก่อนหน้ามมมุ
ถัดไปเก็นโช
ประสูติ20 เมษายน ค.ศ. 660
อาเฮะ (阿閇 หรือ 阿部)
สวรรคต29 ธันวาคม ค.ศ. 721(721-12-29) (61 ปี)[ต้องการอ้างอิง]
นาระ ประเทศญี่ปุ่น
ฝังพระศพนาโฮยามะ โนะ ฮิงาชิ โนะ มิซาซางิ (奈保山東陵; นาระ)
คู่อภิเษกเจ้าชายคูซากาเบะ
พระราชบุตร
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดินีเก็มเม (元明天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ยามาโตะ-เนโกะ-อามัตสึมิโยะ-โทโยกูนิ-นาริฮิเมะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (日本根子天津御代豊国成姫天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิเท็นจิ
พระราชมารดาโซงะ โนะ เม-โนะ-อิรัตสึเมะ

จักรพรรดินีเก็มเม (ญี่ปุ่น: 元明天皇โรมาจิGenmei-tennō; 20 เมษายน ค.ศ. 660 – 29 ธันวาคม ค.ศ. 721) มีอีกพระนามว่า จักรพรรดินีเก็มเมียว เป็นพระมหากษัตริย์ญี่ปุ่นองค์ที่ 43[1] ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2] รัชสมัยของเก็มเมอยู่ในช่วง ค.ศ. 707 ถึง 715[3] พระนางสถาปนาเมืองหลวงที่เฮโจเกียวใน ค.ศ. 710 ถือเป็นจุดเริ่มต้นยุคนาระ

ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เก็มเมเป็นสตรีคนที่ 4 จาก 8 พระองค์ที่ขึ้นปกครองเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ สตรี 3 พระองค์ก่อนหน้าพระนางคือซูอิโกะ, โคเงียวกุ/ไซเม และจิโต ส่วนอีก 4 พระองค์หลังจากพระนางคือเก็นโช, โคเก็ง/โชโตกุ, เมโช และโกะ-ซากูรามาจิ

เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม

[แก้]

ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ เก็มเมมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ว่า อาเบะ-ฮิเมะ[5]

จักรพรรดินีเก็มเมเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 4 ในจักรพรรดิเท็นจิ[5] และเป็นพระกนิษฐาในจักรพรรดิจิโตผ่านพระราชมารดาคนละพระองค์ เม-โนะ-อิรัตสึเมะ (รู้จักในพระนามว่า โซงะ-ฮิเมะ) พระราชมารดาของเก็มเม เป็นพระธิดาใน อูไดจิงโซงะ-โนะ-คูระ-โนะ-ยามาดะ-โนะ-อิชิกาวะ-โนะ-มาโระ (รู้จักกันในชื่อ โซงะ ยามาดะ-โนะ โอ-โอมิ)[5]

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของเก็มเม

[แก้]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

จักรพรรดินีเก็มเมเสด็จพระราชสมภพจากจักรพรรดิเท็นจิกับพระสนม โซงะ โนะ เม-โนะ-อิรัตสึเมะ ผู้มีบรรดาศักดิ์ฮิง (โฉมงาม) ในตอนแรกพระนางมีพระนามว่า เจ้าหญิงอาเบะ (阿閇皇女) พระนางมีพระเชษฐภคินีร่วมพระราชมารดานามว่า เจ้าหญิงมินาเบะ

เจ้าหญิงอาเบะทรงสมรสกับเจ้าชายคูซากาเบะและให้กำเนิดพระราชโอรสธิดา ในจำนวนนี้มีพระราชธิดาองค์หนึ่งจากสองพระองค์จะขึ้นเป็นจักรพรรดินีเก็นโช และพระราชโอรสองค์หนึ่งจะขึ้นเป็นจักรพรรดิมมมุ

รัชสมัย

[แก้]

ปีในรัชสมัยของเก็มเมมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือ เน็งโง[7]

พระราชพงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 元明天皇 (43); retrieved August 22, 2013.
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 56.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 63–65, p. 63, ที่กูเกิล หนังสือ; Brown, Delmer M. (1979). Gukanshō, p. 271; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. p. 140.
  4. Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  5. 5.0 5.1 5.2 Brown, p. 271.
  6. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ January 27, 2018.
  7. Titsingh, p. 63.
  8. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ January 27, 2018.

ข้อมูล

[แก้]
ก่อนหน้า จักรพรรดินีเก็มเม ถัดไป
จักรพรรดิมมมุ
สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแห่งญี่ปุ่น
จักรพรรดินีเก็นโช