ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงอากิชิโนะ
มกุฎราชกุมารี (皇嗣妃)
พระวรชายาในมกุฎราชกุมาร
เจ้าหญิงอากิชิโนะ เมื่อ พ.ศ. 2567
ประสูติ11 กันยายน พ.ศ. 2509 (58 ปี)
ชิซูโอกะ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
คิโกะ คาวะชิมะ
พระสวามีเจ้าชายอากิชิโนะ มกุฎราชกุมาร (พ.ศ. 2533–ปัจจุบัน)
พระโอรส/ธิดามาโกะ โคมูโระ
เจ้าหญิงคาโกะ
เจ้าชายฮิซะฮิโตะ
ราชวงศ์ญี่ปุ่น (เสกสมรส)
พระบิดาทัตสึฮิโกะ คาวะชิมะ
พระมารดาคาซูโยะ คาวะชิมะ

เจ้าหญิงอากิชิโนะ มกุฎราชกุมารี[1] (ญี่ปุ่น: 秋篠宮皇嗣妃殿下[2]; โรมาจิ: Akishino-no-Miya Kōshihi Denka; อังกฤษ: Her Imperial Highness Crown Princess Akishino[3])

เจ้าหญิงอากิชิโนะ หรือ เจ้าหญิงคิโกะ ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์เป็นพระวรชายาในเจ้าชายอากิชิโนะ มกุฎราชกุมาร และเป็นพระสุณิสา[4]ในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ

ทรงมีพระนามจริงว่า เจ้าหญิงคิโกะ ส่วนเจ้าหญิงอากิชิโนะ เป็นการออกพระนามตามชื่อของราชวงศ์สาขาของพระสวามี (เจ้าชายอากิชิโนะ) ที่ทรงได้รับพระราชทานหลังจากอภิเษกสมรส

สัญลักษณ์ประจำพระองค์ (お印) คือ ดอกไอริสเซโตซ่า (ヒオウギアヤメ)

พระประวัติ

[แก้]

เด็กหญิงคิโกะ คาวะชิมะ

[แก้]

เด็กหญิงคิโกะ คาวะชิมะ (ญี่ปุ่น: 川嶋紀子โรมาจิKawashima Kiko) เกิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2509 (ปีโชวะที่ 41) ที่โรงพยาบาลไซเซไกชิสุโอกะ (静岡済生会総合病院) จังหวัดชิสุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นธิดาของนายทัตสึฮิโกะ คาวะชิมะ และนางคาซุโยะ คาวะชิมะ[5]

เนื่องจากนายทัตสึฮิโกะ คาวะชิมะ (บิดา) ไปศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา จึงทำให้เธอต้องย้ายตามครอบครัวไปอาศัยที่สหรัฐอเมริกาด้วย[5][6]

เดือนกันยายน พ.ศ. 2512 เธอเข้าศึกษาที่โรงเรียนโรสมอนต์ ทรินิตี้ สังกัดวิทยาลัยโรสมอนต์ รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เธอก็สำเร็จการศึกษาจากโปรแกรมการศึกษาทางไกลสำหรับเด็กปฐมวัย (自由学園幼児生活団通信グループ) โรงเรียน Jiyu Gakuen (人自由学園) กรุงโตเกียว [6][7]

เดือนกันยายน พ.ศ. 2513 เธอเข้าศึกษาระดับชั้นปฐมวัยที่โรงเรียนอนุบาลเซนต์แมรี่ ในรัฐเดียวกัน[6]

เดือนกันยายน พ.ศ. 2514 เธอเข้าศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษา Henry C. Lea[5][6]

พ.ศ. 2515 นายทัตสึฮิโกะ คาวะชิมะ (บิดา) ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยกาคุชูอิน จึงทำให้ครอบครัวต้องย้ายกลับญี่ปุ่น[5] ในช่วงเริ่มแรกเธอได้ไปพักอาศัยกับครอบครัวของทางฝั่งมารดา และเข้าศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษานากะดะ เทศบาลเมืองชิสุโอกะ จังหวัดชิสุโอกะ[6][8]

จากนั้นจึงย้ายมาพักอาศัยที่โตเกียว และเข้าศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษาวาเซดะ เขตชินจูกุ กรุงโตเกียว[6][9]

เธอได้ย้ายไปศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนประถมศึกษาเมจิโระ เขตโทชิมะ กรุงโตเกียว เนื่องจากใกล้ที่ทำงานของบิดา (มหาวิทยาลัยกาคุชูอิน)[6][9]

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เธอได้ย้ายเข้าศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษากาคุชุอิน กรุงโตเกียว ตามคำแนะนำของมารดา[6][9]

พ.ศ. 2519 นายทัตสึฮิโกะ คาวะชิมะ (บิดา) ได้รับเชิญให้เป็นหัวหน้านักวิจัยที่สถาบันวิเคราะห์ระบบประยุกต์นานาชาติ (International Institute for Applied Systems Analysis: IIASA) เมืองลาเซินเบิร์ก ประเทศออสเตรีย จึงทำให้ครอบครัวต้องทำการย้ายที่อยู่อีกครั้งไปยังประเทศออสเตรีย[6][9]

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2520 เธอเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียน The American International School of Vienna (AIS) ซึ่งนอกจากที่เธอใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว[5] เธอยังมีการเรียนภาษาเยอรมันจนสามารถใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้[6]

เดือนกันยายน พ.ศ. 2522 เธอย้ายกลับไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนมัธยมหญิงล้วนกาคุชูอิน[9]

พ.ศ. 2528 เธอเข้าศึกษาที่ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยากาคุชูอิน

เธอได้พบกับเจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) ครั้งแรกที่ร้านหนังสือของมหาวิทยาลัย เนื่องจากเธอทำงานพาร์ทไทม์ที่ร้าน ซึ่งเจ้าชายได้ชวนเธอเข้าชมรมวิจัยด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมที่พระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้ง จึงทำให้เธอและเจ้าชายมีโอกาสพบกันบ่อยครั้งและสนิทกันมากขึ้นผ่านกิจกรรมในชมรม[10][11]

การเสกสมรส

[แก้]
เจ้าหญิงอากิชิโนะในวันเสกสมรส

หลังจากที่เธอและเจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) เริ่มสนิทกันมากขึ้น เจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) ก็ได้มีการชวนเธอไปที่พระราชวังตั้งแต่ช่วงแรกๆที่สนิทกัน ทั้งมีการชวนเล่นเทนนิสประเภทคู่กับเจ้าชายอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมารและเจ้าหญิงมิจิโกะ มกุฎราชกุมารี และชวนรับประทานของว่างด้วยกัน เพื่อให้เธอสามารถปรับตัวเข้ากับราชวงศ์ได้อย่างราบรื่น[6]

วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) ทรงขอเธอแต่งงาน ซึ่งขณะนั้นเจ้าชายทรงมีพระชนมายุ 20 ชัณษา ส่วนเธอมีอายุ 19 ปี[11]

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยากาคุชูอิน[12]

วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2532 มีข่าวรายงานออกมาว่าเธอและเจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) ทำการหมั้นกันอย่างไม่เป็นทางการ[13]

วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2532 มีการจัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการและให้สื่อสัมภาษณ์ โดยเจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) กับนางสาวคิโกะ คาวาชิมะ ทรงให้สัมภาษณ์ว่าได้ทำการหมั้นอย่างไม่เป็นทางการเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำพิธีตามธรรมเนียมราชวงศ์ได้ เนื่องจากในช่วงนั้นอยู่ในช่วงไว้อาลัยของจักรพรรดิโชวะ [14]

หลังจากการแถลงข่าวว่าเธอหมั้นกับเจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) เธอก็ตกอยู่ในความสนใจของคนทั้งประเทศ ทุกการปรากฏตัวของเธอได้รับความสนใจจากประชาชน จนถึงขั้นเกิดปรากฏการณ์ "Kiko-Mania" กล่าวคือ มีเด็กหญิงสาวพากันตัดผมและยิ้มแบบสุภาพเลียนแบบเธอ, มีนายหน้าแนะนำให้คนลงทุนในบริษัทไข่มุก เพราะเธอสวมสร้อยไข่มุกในการแถลงข่าว เป็นต้น[15]

อีกทั้งเธอถูกตั้งฉายาว่าเป็น "3LDKのプリンセス" หรือ เจ้าหญิงอพาร์ทเมนต์ (โดย 3LDK หมาย 3 ห้องนอน, 1 ห้องนั่งเล่น (L), 1 ห้องรับประทานอาหาร (D), 1 ห้องครัว (K)) เนื่องจากเธอพักอาศัยที่อพาร์ทเมนต์ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยกาคุชูอิน (ตามสิทธิ์ของบิดา) และอีกฉายาว่า "ซินเดอเรลล่ายุคใหม่ที่เกิดในครอบครัวธรรมดา" ถึงเธอจะเป็นสามัญชนที่อภิเษกสมรสกับราชวงศ์เหมือนกรณีของสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ แต่ที่แตกต่างคือเธอมาจากครอบครัวฐานะปานกลาง [6]

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2533 มีการจัดพิธีสู่ขอและพิธีหมั้น (納采の儀) อย่างเป็นทางการตามธรรมเนียมราชวงศ์ระหว่างเจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) กับนางสาวคิโกะ คาวาชิมะ[16] ซึ่งจัดขึ้นหลังการไว้อาลัยของจักรพรรดิโชวะ

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 เจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) ทรงประกอบพิธีอภิเษกสมรสกับนางสาวคิโกะ คาวาชิมะ[17]

หลังจากการอภิเษกสมรส เจ้าชายอายะ (ฟูมิฮิโตะ) ทรงได้รับพระราชทานชื่อราชวงศ์สาขา "อากิชิโนะ" จากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ซึ่งเจ้าชายจะทรงดำรงตำแหน่งผู้นำราชวงศ์สาขานี้ โดยสำนักพระราชวังระบุพระนามในภาษาอังกฤษเป็น "His Imperial Highness Prince Akishino"[18] หรือ "เจ้าชายอากิชิโนะ"

ส่วนนางสาวคิโกะ คาวะชิมะ ได้รับการแต่งตั้งเป็น 文仁親王妃紀子殿下[19] (Fumihito Shinnōhi Kiko Denka) โดยสำนักพระราชวังญี่ปุ่นระบุพระนามในภาษาอังกฤษเป็น "Her Imperial Highness Princess Akishino"[20] หรือ "เจ้าหญิงอากิชิโนะ"

เจ้าหญิงอากิชิโนะ

[แก้]
บาร์บารา บุช (ภรรยาประธานาธิบดีจอร์ช บุช) กำลังอุ้มเจ้าหญิงมาโกะ เมื่อปี พ.ศ. 2535

หลังการอภิเษกสมรสได้ไม่นาน เจ้าหญิงอากิชิโนะก็ได้ตั้งพระครรภ์ และทรงประสูติพระธิดาพระองค์แรก เจ้าหญิงมาโกะ ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ซึ่ง เจ้าหญิงมาโกะ ทรงเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรกในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ

วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เจ้าหญิงอากิชิโนะก็ทรงประสูติพระธิดาพระองค์ที่สอง หรือ เจ้าหญิงคาโกะ

พ.ศ. 2538 ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยากาคุชูอิน ซึ่งเป็นส่วนแรกของการศึกษาระดับปริญญาเอก[12]

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เจ้าหญิงอากิชิโนะทรงเข้ารับการอัลตราซาวด์ ณ พระราชวังที่ประทับ ผลการตรวจคือพบการเต้นของหัวใจทารกและได้รับการยืนยันว่าทรงพระครรภ์เป็นเวลา 6 สัปดาห์แล้ว โดยมีกำหนดการประสูติในเดือนกันยายน ซึ่งสำนักพระราชวังได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[21]

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เจ้าหญิงอากิชิโนะทรงเข้ารับการตรวจพระครรภ์ ทราบผลว่ามีภาวะรกเกาะต่ำบางส่วน มีความเสี่ยงที่เลือดจะออกมากและประสูติก่อนกำหนด[21][22]

วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2549 เจ้าหญิงอากิชิโนะทรงประสูติพระโอรส เจ้าชายฮิซะฮิโตะ โดยวิธีการผ่าคลอด ซึ่งเป็นราชวงศ์ชายคนล่าสุดของราชวงศ์ญี่ปุ่นในรอบเกือบ 41 ปี โดยพระพลานามัยของทั้งเจ้าหญิงและพระโอรสนั้นสมบูรณ์ปลอดภัยดี[21][22]

สมาชิกราชวงศ์สาขาอากิชิโนะ

พ.ศ. 2552 สมาคมส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น (JSPS) ได้จัดตั้งระบบ "特別研究員-RPD制度" ขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักวิจัยหญิงที่ต้องหยุดการทำวิจัยเนื่องจากการคลอดบุตรหรือเลี้ยงดูบุตร สามารถกลับเข้าสู่วงการวิจัยได้อีกครั้ง ด้วยระบบนี้จึงทรงได้รับการแต่งตั้งเป็น "นักวิจัยกิตติมศักดิ์" และได้กลับมาการวิจัยอีกครั้ง ซึ่งมหาวิทยาลัยโอชาโนะมิซุเป็นสถาบันที่รับรองการทำวิจัยของพระองค์[23] โดยทรงดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัณโรคจากมุมมองด้านจิตวิทยาสุขภาพ

ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้พระองค์ทรงให้เจ้าชายฮิซะฮิโตะเข้าศึกษาระดับชั้นอนุบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยโอชาโนะมิซุ เนื่องจากเป็นโควตาของนักวิจัยหญิงที่ทำงานในสถาบัน[24]

พ.ศ. 2556 ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกสาขาในสาขาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยากาคุชูอิน[12]

มกุฎราชกุมารี (พระวรชายาในมกุฎราชกุมาร)

[แก้]
เจ้าชายและเจ้าหญิงอากิชิโนะ ในงานพระราชพิธีขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์ ทำให้เจ้าชายอากิชิโนะ พระสวามี ทรงขึ้นเป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 ตามกฎหมายราชวงศ์ญี่ปุ่น[25]

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 สำนักพระราชวังจัดพิธี "立皇嗣の礼" ซึ่งเป็นพิธีที่สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะทรงแต่งตั้งเจ้าชายอากิชิโนะขึ้นเป็น 皇嗣 (Kōshi) หรือมกุฎราชกุมารแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ พระนามเต็มของเจ้าชายอากิชิโนะจึงเปลี่ยนเป็น 秋篠宮皇嗣殿下 (Akishino-no-Miya Kōshi Denka) โดยสำนักพระราชวังระบุพระนามในภาษาอังกฤษว่า "His Imperial Highness Crown Prince Akishino"[12] (เจ้าชายอากิชิโนะ มกุฎราชกุมาร)

เจ้าหญิงอากิชิโนะ ก็ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระชายาของมกุฎราชกุมาร โดยมีพระนามเต็มว่า 秋篠宮皇嗣妃殿下[2] (Akishino-no-Miya Kōshihi Denka) ซึ่งสำนักพระราชวังระบุพระนามในภาษาอังกฤษว่า "Her Imperial Highness Crown Princess Akishino"[12] (เจ้าหญิงอากิชิโนะ มกุฎราชกุมารี)

พระกรณียกิจ

[แก้]

ทรงดำรงตำแหน่งในองค์กร [26]

[แก้]

พระนิพนธ์

[แก้]

ทรงแปลหนังสือภาพในซีรีส์ "IT'S A WILDLIFE BUDDY" ซึ่งเขียนโดย Vicky Egan และวาดโดย Daniela De Luca ซึ่งทรงงานนี้ในช่วงเลี้ยงดูพระโอรส เจ้าชายฮิซะฮิโตะ หลังประสูติ

เยือนต่างประเทศ[29]

[แก้]
เจ้าชายและเจ้าหญิงอากิชิโนะ เสด็จเยือนสหราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2566

ไทย

[แก้]
Flag of the United States (1912-1959)

สหรัฐอเมริกา

[แก้]
  • วันที่ 4 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนรัฐฮาวาย เพื่อเข้าร่วมงานครบรอบ 150 ปีการอพยพของชาวญี่ปุ่น
Flag of Sri Lanka (16-9)

ศรีลังกา

[แก้]
Flag of Pakistan

ปากีสถาน

[แก้]
Flag of India

อินเดีย

[แก้]
  • วันที่ 5 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเข้าร่วมงานครบรอบ 40 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Indonesia

อินโดนีเซีย

[แก้]
  • วันที่ 18 - 25 มกราคม พ.ศ. 2551 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงร่วมงานพิธีเปิดงานครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Authority Singapore (Patty)T47

ออสเตรเลีย

[แก้]
  • วันที่ 9 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Flag of Bhutan

ภูฏาน

[แก้]
Flag of Nepal

เนปาล

[แก้]
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 7 มีนาคม พ.ศ. 2540 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Flag of Mexico

เม็กซิโก

[แก้]
  • วันที่ 9 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเข้าร่วมงานครบรอบ 100 ปีของการอพยพของชาวญี่ปุ่น
  • วันที่ 30 กันยายน - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 400 ปีที่คณะทูตญี่ปุ่นเยือนเม็กซิโก
Flag of Jamaica

จาไมกา

[แก้]
  • วันที่ 9 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
War Flag of the Philippines

ฟิลิปปินส์

[แก้]
  • วันที่ 16 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ และงานครบรอบ 100 ปีการประกาศเอกราชของฟิลิปปินส์
ธงชาติประจำประเทศจีน

จีน

[แก้]
  • วันที่ 3 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ เนื่องจากเจ้าชายทรงทำวิจัยเกี่ยวกับนก
Flag of Argentina

อาร์เจนตินา

[แก้]
  • วันที่ 25 กันยายน - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเข้าร่วมงานครบรอบ 100 ปีความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-อาร์เจนตินา
  • วันที่ 25 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงร่วมงานครบรอบ 50 ปีของข้อตกลงการอพยพ
Flag of Vietnam

เวียดนาม

[แก้]
  • วันที่ 27 มิถุนายน - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • วันที่ 20 - 25 กันยายน พ.ศ. 2566 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Laos

ลาว

[แก้]
  • วันที่ 27 มิถุนายน - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Flag of Germany

เยอรมนี

[แก้]
  • วันที่ 26 - 29 กันยายน พ.ศ. 2542 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเข้าร่วมพิธีเปิดงานความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนี-ญี่ปุ่น
Flag of the Netherlands
เจ้าชายและเจ้าหญิงอากิชิโนะเสด็จเยือนอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2559

เนเธอร์แลนด์

[แก้]
Flag of Cambodia

กัมพูชา

[แก้]
  • วันที่ 21 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Flag of Mongolia

มองโกเลีย

[แก้]
  • วันที่ 19 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Flag of Fiji (16-9)

ฟิจิ

[แก้]
Flag of Tonga

ตองกา

[แก้]
Flag of Samoa

ซามัว

[แก้]
  • วันที่ 27 กันยายน - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Flag of Luxembourg

ลักเซมเบิร์ก

[แก้]
Flag of Austria

ออสเตรีย

[แก้]
Flag of Bulgaria

บัลแกเรีย

[แก้]
Flag of Romania

โรมาเนีย

[แก้]
  • วันที่ 10 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเข้าร่วมงานส่งเสริมวัฒนธรรมญี่ปุ่น-ประเทศในลุ่มแม่น้ำดานูบ
ธงชาติฮังการี (ธงไตรรงค์สีแดง, ขาว, เขียว)

ฮังการี

[แก้]
  • วันที่ 10 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเข้าร่วมงานส่งเสริมวัฒนธรรมญี่ปุ่น-ประเทศในลุ่มแม่น้ำดานูบ

Flag of Costa Rica คอสตาริกา

[แก้]
  • วันที่ 24 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Uganda

อูกานดา

[แก้]
  • วันที่ 11 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 75 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Croatia

โครเอเชีย

[แก้]
Flag of Slovakia

สโลวะเกีย

[แก้]
Flag of Slovenia

สโลวีเนีย

[แก้]
  • วันที่ 19 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 20 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Peru (state)

เปรู

[แก้]
  • วันที่ 25 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 140 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Zambia

แซมเบีย

[แก้]
  • วันที่ 27 มิถุนายน - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Tanzania (WFB 2000)

แทนซาเนีย

[แก้]
  • วันที่ 27 มิถุนายน - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Flag of Guatemala

กัวเตมาลา

[แก้]
  • วันที่ 30 กันยายน - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Flag of Brazil

บราซิล

[แก้]
  • วันที่ 27 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 120 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Italy

อิตาลี

[แก้]
  • วันที่ 10 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 150 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Chile
เจ้าชายและเจ้าหญิงอากิชิโนะ เสด็จเยือนฟินแลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2562

ชิลี

[แก้]
  • วันที่ 25 กันยายน - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 120 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of Poland

โปแลนด์

[แก้]
Flag of Finland

ฟินแลนด์

[แก้]
  • วันที่ 27 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 100 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
Flag of the United Kingdom (3-5)

สหราชอาณาจักร

[แก้]
well cometo thai.land

ตุรกี

[แก้]
  • วันที่ 3 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เสด็จพร้อมเจ้าชายอากิชิโนะ ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 100 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต

พระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าหญิงอากิชิโนะ มกุฎราชกุมารี
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำราชวงศ์สาขา
สัญลักษณ์ดอกไอริสเซโตซ่า (ヒオウギアヤメ)
คำยกย่องเด็งกะ (殿下)
ราชวงศ์สาขาอากิชิโนะ
ลำดับโปเจียม6

ประวัติพระอิสริยยศ

[แก้]
  • 11 กันยายน พ.ศ. 2509 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533: คิโกะ คาวะชิมะ (ญี่ปุ่น: 川嶋紀子โรมาจิKawashima Kiko)
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563: เจ้าหญิงอากิชิโนะ (ญี่ปุ่น: 文仁親王妃紀子殿下; โรมาจิ: Fumihito Shinnōhi Kiko Denka; อังกฤษ: Her Imperial Highness Princess Akishino)
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน: เจ้าหญิงอากิชิโนะ มกุฎราชกุมารี (ญี่ปุ่น: 秋篠宮皇嗣妃殿下; โรมาจิ: Akishino-no-Miya Kōshihi Denka; อังกฤษ: Her Imperial Highness Crown Princess Akishino)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

เกร็ด

[แก้]
  • Robert Douglas ผู้ที่ทำงานกับนายทัตสึฮิโกะ คาวะชิมะ (บิดา) ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับพระองค์ในวัยเด็กว่า "พระองค์ทรงเป็นคนที่เป็นมิตร มีชีวิตชีวา และสดใสหลักแหลมมาก"[5]
  • ทรงเริ่มเรียนขี่มาตั้งแต่อายุ 5 ชัณษา และเคยเข้าค่ายฝึกขี่ม้า ตอนที่พระองค์อาศัยอยู่ที่ออสเตรีย[37]
  • วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เจ้าชายทรงขอเจ้าหญิงแต่งงานระหว่างรอสัญญาณไฟเดินข้ามถนนที่สี่แยกหน้าสถานีเมจิโระ[11][38]
  • เจ้าชายทรงมอบแหวนหมั้นที่ทำเป็นรูปทรงปลาดุกให้กับพระองค์ เนื่องจากปลาดุกเป็นสิ่งที่เจ้าชายทรงวิจัยในช่วงนั้น[38] [39]
  • มีการสร้างอนิเมชันเรื่อง "平成のシンデレラ 紀子さま物語" (เจ้าหญิงคิโกะ ซินเดอเรลล่ายุคเฮเซ) ผลิตโดยสตูดิโอโคเมท ฉายทาง Fuji TV ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 เพื่อเฉลิมฉลองการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายและเจ้าหญิงอากิชิโนะ โดยมีนักร้อง ฮิเดมิ อิชิคาวะ พากย์เสียงเจ้าหญิง และผู้ประกาศข่าว ชินสุเกะ คะไซ พากย์เสียงเจ้าชาย[40]
  • ทรงเรียนการเล่นซิทเทอร์จากโทชิโกะ ไนโต[41] และทรงโปรดเล่นเพลงพื้นเมืองของออสเตรีย
  • ทรงสามารถใช้ภาษามือได้ และสามารถกล่าวสุนทรพจน์โดยใช้ภาษามือ[42]
  • ทรงเริ่มเรียนเทนนิสตอนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทรงเล่นแนวตั้งรับลูก ไม่เน้นเกมบุกคล้ายกับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ[43]
  • หนังสือเล่มโปรดของพระองค์คือ "こころの旅" (การเดินทางของจิตใจ)[44]
  • พระองค์ทรงทำข้าวกล่อง (เบนโตะ) ให้เจ้าชายฮิซะฮิโตะด้วยพระองค์เอง บางครั้งมีการนำใบหัวไชเท้าที่ปลูกอยู่ในสวนพระตำหนักมาผัดใส่ในข้าวกล่อง หรือบางครั้งก็นำมาดองทำเป็นเครื่องเคียง[45]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงจากทางสำนักพระราชวังญี่ปุ่น https://www.kunaicho.go.jp/e-about/history/history03.html ได้มีการระบุพระนามในภาษาอังกฤษว่า "Crown Princess Akishino" และศัพท์บัญญัติของ Crown Princess คือ "มกุฎราชกุมารี"
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงพระนามเต็มภาษาญี่ปุ่น จากเว็บไซต์สำนักพระราชวังเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น https://www.kunaicho.go.jp/about/history/history03.html
  3. อ้างอิงการเขียนพระนามภาษาอังกฤษ จากเว็บไซต์สำนักพระราชวังเวอร์ชันภาษาอังกฤษ https://www.kunaicho.go.jp/e-about/history/history03.html
  4. ลูกสะใภ้
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "Japanese Royal Bride's Years At Penn: A 'Vivacious' Child - philly-archives". web.archive.org. 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2025-05-24.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 "紀子さまの若い頃がかわいいと話題に!生い立ち・父親・学歴・秋篠宮さまとのなれそめについてもご紹介します|ポイントデビューデジタル(POINT DE VUE DIGITAL) │ 世界の王室・セレブの歴史、文化、ファッションメディア". ポイントデビューデジタル(POINT DE VUE DIGITAL) │ 世界の王室・セレブの歴史、文化、ファッションメディア (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-01-06. สืบค้นเมื่อ 2025-05-24.
  7. "2006年09月06日/〈日記〉013・紀子さま男子ご出産 - 吉村青春ブログ『津屋崎センゲン』". goo blog (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-27.
  8. "皇嗣妃は静岡生まれ「ピアノが聞こえると紀子ちゃんが」:朝日新聞". 朝日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-11-08. สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 妙子, 石井 (2021-04-13). "(3ページ目)「雅子妃が輝きを失っていかれたのとは対照的」 紀子さまはなぜ皇室で"自己実現"を果たされたのか". 文春オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-27.
  10. little8candy (2017-09-02). "★★★エンタメX★★★". little8candy’s diary (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  11. 11.0 11.1 11.2 "【ボンボニエールの物語vol.47】秋篠宮ご夫妻の物語". 紡ぐプロジェクト (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-06-18. สืบค้นเมื่อ 2025-05-26.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 "Their Imperial Highnesses Crown Prince and Crown Princess Akishino and their family". The Imperial Household Agency (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-05-27.
  13. "【1989(平成元)年8月26日】礼宮さま紀子さまのご婚約内定報道|Infoseekニュース". Infoseekニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-27.
  14. คลิปงานแถลงข่าว https://www.youtube.com/watch?v=kP6JiBIzGmk&t=776s
  15. Sanger, David E.; Times, Special To the New York (1990-06-26). "Tokyo Journal; She's Shy and Not So Shy, Japan's Princess Bride". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2025-05-24.
  16. "【紀子さま秘話】納采の儀の晴れ着に込められた美智子さまの思い | 普通の家庭から皇室に嫁がれて…… 立皇嗣の礼で振り返る「紀子さま物語」 | mi-mollet(ミモレ) | 明日の私へ、小さな一歩!". mi-mollet(ミモレ) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-21.
  17. "文仁親王同妃両殿下ご結婚満25年に際し - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-05-21.
  18. "Their Imperial Highnesses Prince and Princess Akishino - The Imperial Household Agency". web.archive.org. 2009-08-17. สืบค้นเมื่อ 2025-05-24.
  19. "秋篠宮家 - 宮内庁". web.archive.org. 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2025-05-24.
  20. "Their Imperial Highnesses Prince and Princess Akishino - The Imperial Household Agency". web.archive.org. 2009-08-17. สืบค้นเมื่อ 2025-05-24.
  21. 21.0 21.1 21.2 "asahi.com: 紀子さま、男児ご出産 皇室41年ぶり、皇位継承3位 母子とも健やか - この記事を手がかりに". www.asahi.com. สืบค้นเมื่อ 2025-05-24. {{cite web}}: no-break space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 45 (help)
  22. 22.0 22.1 "Japan princess gives birth to boy" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-09-06. สืบค้นเมื่อ 2025-05-24.
  23. "紀子さま、出産・育児から復帰した研究者と交流 自らも研究再開経験:朝日新聞". 朝日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 2024-09-17. สืบค้นเมื่อ 2025-05-27.
  24. "悠仁さまの"難関名門高"路線は「お茶の水女子大付属幼稚園」を選んだ時から始まった|秋篠宮家の学校選び". 日刊ゲンダイDIGITAL. 2024-06-22. สืบค้นเมื่อ 2025-05-27.
  25. "The Imperial House Law". The Imperial Household Agency (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-05-27.
  26. "秋篠宮家". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  27. "愛育会総裁に紀子さま". 日本経済新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 2010-10-01. สืบค้นเมื่อ 2025-05-24.
  28. "「第33回大聖寺文化・護友会総会」ご臨席及び関係者とのご懇談(大聖寺/京都府京都市)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  29. "天皇・皇族の外国ご訪問一覧表(平成元年~平成10年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-05-22.
  30. "สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย". www.th.emb-japan.go.jp (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-12-01. สืบค้นเมื่อ 2025-05-21.
  31. Company, The Asahi Shimbun. "朝日新聞デジタル写真特集「秋篠宮さま 立皇嗣の礼」の「2003年、タイを訪問し、国王一家が住むチトラダ宮殿の敷地内にある「サポート財団訓練センター」を視察した秋篠宮ご夫妻、眞子さま、佳子さま(13/28)」". 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-27.
  32. จากรูปถ่าย https://3.bp.blogspot.com/-b3KHeMJBMYA/V_03d3MuDdI/AAAAAAABMuI/7w0m_OCm4hgRx12WScfhZuvVBCh8T0HOgCLcB/s600/Crown%2BPrince%2BNaruhito-Crown-Princess-Masako-Prince-Akishino-and-Princess-Akishino.jpg
  33. https://www.boe.es/boe/dias/2008/11/10/pdfs/A44705-44705.pdf
  34. จากรูปถ่าย Photo
  35. Zaken, Ministerie van Algemene (2014-10-25). "Decoraties Staatsbezoeken Japan en Republiek Korea - Nieuwsbericht - Het Koninklijk Huis". www.koninklijkhuis.nl (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2025-05-22.
  36. https://www.pe.emb-japan.go.jp/jp/politicaperuana201401.html
  37. "乗馬と紀子様". 皇室の写真 (ภาษาญี่ปุ่น). 2015-10-10. สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  38. 38.0 38.1 little8candy (2017-09-02). "★★★エンタメX★★★". little8candy’s diary (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  39. "ナマズの婚約指輪". 皇室の写真 (ภาษาญี่ปุ่น). 2015-10-15. สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  40. อนิเมชัน https://www.nicovideo.jp/watch/sm244154
  41. "弦楽器「チター」にささげ、人のために奏でた人生 第一人者・内藤敏子さんが死去 教え子に紀子さま:東京新聞デジタル". 東京新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  42. "紀子さまは特別支援学校で手話を交えて挨拶 秋篠宮さまはゾウを見学 ご夫妻それぞれにご活動(FNNプライムオンライン(フジテレビ系))". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  43. "皇室ご一家の"スポーツの秋"秘話(週刊女性PRIME)". LINE NEWS (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
  44. 東京都古書籍商業協同組合. こころの旅 <神谷美恵子コレクション>(神谷美恵子 著) / 古本、中古本、古書籍の通販は「日本の古本屋」 (ภาษาญี่ปุ่น).
  45. "悠仁さまのお弁当は紀子さまの手作り「大根の葉もおかずに」 秋篠宮家流のSDGs | AERA DIGITAL(アエラデジタル)". AERA DIGITAL(アエラデジタル) (ภาษาญี่ปุ่น). 2024-03-16. สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]