ฟูมิโอะ คิชิดะ
ฟูมิโอะ คิชิดะ | |
---|---|
岸田 文雄 | |
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2564 | |
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดินารูฮิโตะ |
ก่อนหน้า | โยชิฮิเดะ ซูงะ |
ถัดไป | ชิเงรุ อิชิบะ |
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2564 – 27 กันยายน พ.ศ. 2567 | |
ก่อนหน้า | โยชิฮิเดะ ซูงะ |
ถัดไป | ชิเงรุ อิชิบะ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 | |
นายกรัฐมนตรี | ชินโซ อาเบะ |
ก่อนหน้า | โคอิชิโร เกมบะ |
ถัดไป | ทาโร โคโนะ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 | |
เขตเลือกตั้ง | จังหวัดฮิโรชิมะ เขต 1 |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 เขตชิบูยะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีประชาธิปไตย |
คู่สมรส | ยูโกะ คิชิดะ |
บุตร | 3 คน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยวาเซดะ |
ลายมือชื่อ | |
ฟูมิโอะ คิชิดะ (ญี่ปุ่น: 岸田 文雄; โรมาจิ: Kishida Fumio; เกิด 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่น อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และอดีตหัวหน้าพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คิชิดะเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศภายใต้นายกรัฐมนตรีอาเบะ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดฮิโรชิมะ เขต 1 ในสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2536
คิชิดะชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยด้วยคะแนนร้อยละ 60.2[1] พร้อมสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีต่อจากโยชิฮิเดะ ซูงะเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564[2]
คิชิดะเกิดในครอบครัวนักการเมือง ในวัยเด็กเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนประถมในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หลังจากเริ่มต้นอาชีพทางการเงิน คิชิดะเข้าสู่การเมืองและได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2536 ในฐานะสมาชิกพรรคแอลดีพี คิชิดะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในคณะรัฐมนตรีของชินโซ อาเบะและยาซูโอะ ฟูกูดะระหว่าง พ.ศ. 2550 ถึง 2551 ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศใน พ.ศ. 2555 หลังจากที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง คิชิดะดำรงตำแหน่งเป็นเวลาห้าปีถือเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น คิชิดะลาออกจากคณะรัฐมนตรีอาเบะใน พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นหัวหน้าสภาวิจัยนโยบายของพรรคเสรีประชาธิปไตย (ญี่ปุ่น)
คิชิดะได้รับการพิจารณาว่าอาจจะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีในอนาคตมาอย่างยาวนาน แต่อย่างไรก็ตามในการสมัครรับเลือกตั้งผู้นำพรรค LDP ใน พ.ศ. 2563 คิชิดะพ่ายแพ้ให้กับ โยชิฮิเดะ ซูงะ แต่เขาก็ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้งใน พ.ศ. 2564 คราวนี้เขาชนะในรอบที่สองซึ่งมีคู่แข่งคือทาโร โคโนะ จากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 คิชิดะได้รับการยืนยันให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยสภาแห่งชาติ และนำพรรค LDP ไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2564 ในเดือนเดียวกันนั้น
คิชิดะได้รับการวิเคราห์ว่าเขาเป็นคนหัวอนุรักษ์นิยมปานกลาง และระบุว่านโยบายของเขามุ่งเน้นไปที่ "โมเดลใหม่ของระบบทุนนิยม" โดยพยายามที่จะใช้นโยบายการกระจายความมั่งคั่งเพื่อขยายชนชั้นกลางในญี่ปุ่น ในด้านนโยบายต่างประเทศเขาได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการสนทนาจตุรภาคีว่าด้วยความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ในปี พ.ศ. 2565 เขาได้มีคำสั่งให้คณะรัฐมนตรีเพิ่มงบประมาณทางทหารของญี่ปุ่นเป็นสองเท่าขึ้นเป็น 2% ของ GDP
การศึกษาและชีวิตในวัยเด็ก
[แก้]คิชิดะเกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ในครอบครัวการเมือง ในเขตชิบูยะ โตเกียว [3][4][5] มีบิดาชื่อว่าฟูมิตาเกะ คิชิดะ ซึ่งเป็นข้าราชการในกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นและเป็นผู้อำนวยการของ The Small รวมถึงหน่วยงานวิสาหกิจขนาดกลาง เนื่องจากครอบครัวของคิชิดะมาจากฮิโรชิมะเขาและครอบครัวจึงกลับไปเยือนที่นั่นทุกฤดูร้อน สมาชิกในครอบครัวหลายคนของคิชิดะเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะ เมื่อคิชิดะเติบโตมาด้วยการได้ยินเรื่องราวจากผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู[6] ทั้งพ่อของเขาและปู่ของเขาล้วนเป็นอดีตนักการเมืองที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น [5] และโยอิจิ มิยาซาวะซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นก็ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องของคิชิดะด้วย [7][8] คิชิดะยังมีอดีตนายกรัฐมนตรีคิอิจิ มิยาซาวะเป็นญาติคนห่าง ๆ [5]
ในวัยประถมเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนประถม New York City Department of Education ในย่านเอล์มเฮิรสต์ เทศมณฑลควีนส์ รัฐนิวยอร์ก เขาได้เรียนที่นี่ก็เนื่องจากพ่อของเขาได้รับตำแหน่งงานในสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น.[9] ต่อมาเขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประถมโคจิมาจิและโรงเรียนมัธยมต้นโคจิมาจิ คิชิดะจบการศึกษาจากโรงเรียนไคเซอะคาเดมีเป็นที่ซึ่งเขาได้เคยเล่นในทีมเบสบอล[10]
หลังจากคิชิดะผิดหวังจากการถูกมหาวิทยาลัยโตเกียวปฏิเสธหลายครั้ง เขาได้เริ่มศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ และจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวาเซดะในปี พ.ศ. 2525 [4][10] และเขาก็เป็นเพื่อนกับทาเคชิ อิวายะต่อมากลายเป็นนักการเมืองในอนาคต[11][12]
อาชีพทางการเมือง
[แก้]หลังจากที่คิชิดะทำงานที่ธนาคารเครดิตระยะยาวแห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันยุติการให้บริการแล้ว เขาได้ทำงานต่อในฐานะเลขานุการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คิชิดะได้รับเลือกเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2536โดยเป็นตัวแทนเขตที่ 1 จังหวัดฮิโรชิมะ[13]
เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกิจการโอกินาวะตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ถึง 2551 เป็นครั้งแรกในสมัยรัฐมนตรีอาเบะ ต่อมาในสมัยยาซูโอะ ฟูกูดะเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบกิจการผู้บริโภคและความปลอดภัยของอาหาร ต่อมา พ.ศ. 2551 คิชิดะได้เป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในคณะรัฐมนตรีฟูกูดะ [14]
คิชิดะมีความใกล้ชิดกับมาโกโตะ โคงะซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มโคจิไคซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดในพรรคเสรีประชาธิปไตย และเขาก็ได้เป็นหัวหน้ากลุ่มดังกล่าวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 หลังจากที่มาโกโตะ โคงะประกาศวางมือทางการเมือง[15]
ในสมัยรัฐบาลอาเบะ
[แก้]เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 หลังจากพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2555 คิชิดะได้รับเลือกให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ [16][17]
เขากลายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่นหลังสงคราม แซงหน้าชินทาโระ อาเบะซึ่งเป็นบิดาของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ เขามีส่วนสำคัญในการจัดการ การเยือนฮิโรชิมะครั้งประวัติศาสตร์ของบารัก โอบามาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ต่อมาเขาได้รับความสนใจอีกครั้งจากการปรากฏตัวร่วมกับนักแสดงตลกคาซึฮิโตะ โคซากะเพื่อโปรโมตโครงการของสหประชาชาติ [11]
คิชิดะพิจารณาลงสมัครรับเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2562 แต่เขาถูกอาเบะชักชวนไม่ให้ลงสมัคร โดยมีข้อเสนอแนะว่าอาเบะจะสนับสนุนคิชิดะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งในภายหลัง[18] ภายในกลางปี พ.ศ. 2563 สมาชิกสภานิติบัญญัติอาวุโสของพรรคเสรีประชาธิปไตย LDP หลายคนได้เปลี่ยนการสนับสนุนจากคิชิดะไปเป็นหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ รองนายกรัฐมนตรีของอดีตนายกรัฐมนตรีทาโร อาโซก็ได้รับความนิยมจากนโยบายการส่งเงินกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับภาคครัวเรือนในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น[19] อย่างไรก็ตามคิชิดะได้ลงสมัครเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2563 แต่พ่ายแพ้ให้กับโยชิฮิเดะ ซูงะซึ่งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[20]
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2567)
[แก้]หลังจากโยชิฮิเดะ ซูงะ ประกาศเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564 ว่าเขาจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามคะแนนความนิยมที่ตกต่ำ (ณ จุดหนึ่งต่ำกว่า 30%) และการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ คิชิดะและทาโระ โคโนะแห่งพรรคเสรีประชาธิปไตย (ฝ่ายชิโกไก) เป็นผู้นำในการเข้ามาแทนที่เขา[21] การตัดสินใจของโยชิฮิเดะ ซูงะ ที่จะไม่ขอการเลือกตั้งใหม่ในฐานะหัวหน้าพรรค LDP ทำให้เกิดการเลือกตั้งผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตยอีกครั้งในเดือนกันยายน เพียงมากกว่าหนึ่งปีเล็กน้อยหลังจากการเลือกตั้งครั้งก่อนในการเลือกตั้งผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2563 ตลอดการแข่งขันโคโนะได้รับการสนับสนุนอย่างมากให้ชนะคิชิดะ โดยมีการจัดอันดับให้โคโนะอยู่ในอันดับหนึ่งในบรรดาโพล LDP ต่างๆ และอีกทั้งเขาได้รับการรับรองจากซูงะและคนอื่นๆอีกด้วย[22]
เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 คิชิดะสามารถเอาชนะทาโระ โคโนะในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2564 ที่พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยที่เป็นรัฐบาลอยู่และเข้ามาแทนที่หัวหน้าพรรคโยชิฮิเดะ ซูงะ เขาได้รับคะแนนเสียงทั้งหมด 257 เสียง (60.19%) จากสมาชิกรัฐสภา 249 คน และสมาชิกระดับยศอีก 8 คน ทำให้คิชิดะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของญี่ปุ่นในที่สุด[23]
เกียรติยศ
[แก้]- เนเธอร์แลนด์: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน (29 ตุลาคม 2557)[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Fumio Kishida enters LDP leadership race as party sets voting plan". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.
- ↑ "Fumio Kishida: Japan's new prime minister takes office". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 4 October 2021.
- ↑ Akimoto, Daisuke (7 September 2021). "The Arrival of Kishida Diplomacy?". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ 4.0 4.1 "Fumio Kishida". Kantei. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Abe Cabinet (Formed December 26, 2012)". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ Kishida, Fumio (2020). "第一章 故郷・広島への想い [Chapter 1 Thoughts on my hometown, Hiroshima]". 『核兵器のない世界へ 勇気ある平和国家の志』 [Towards a World Without Nuclear Weapons: Ambition of a Courageous Peaceful Nation]. 日経BP. ISBN 978-4296106974.
- ↑ "[自民党総裁選]岸田さんこんな人…「勝つまで戦う」酒豪 : トピックス : ニュース". 読売新聞オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-09-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ "Japan minister support staff 'put sex club on expenses'". BBC. 23 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2014. สืบค้นเมื่อ 24 October 2014.
- ↑ Landers, Peter (3 September 2021). "Japan's Next Prime Minister: Who Are the Candidates to Succeed Yoshihide Suga?". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 28 September 2021.
- ↑ 10.0 10.1 Sin, Walter (2 October 2021). "Fumio Kishida: Japan's ronin turned prime minister-designate". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2021. สืบค้นเมื่อ 4 October 2021.
- ↑ 11.0 11.1 Reynolds, Isabel; Hirokawa, Takashi (20 July 2017). "Abe's Low-Key Foreign Minister Watched as Potential Rival". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
- ↑ "Fumio Kishida: calm centrist picked as Japan's next prime minister". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ). Agence France-Presse. 29 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2021. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
- ↑ "Profiles of key ministers in Abe's new Cabinet - AJW by The Asahi Shimbun". web.archive.org. 5 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-05. สืบค้นเมื่อ 14 July 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "PROFILE: Foreign Minister Kishida boasts background in Okinawa affairs | House of Japan - Japan News Technology Autos Culture Life Style". web.archive.org. 2 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 14 July 2023.
- ↑ Ohmura, Yukiko (26 December 2012). "Cabinet Profiles". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-30. สืบค้นเมื่อ 14 July 2023.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อasahi
- ↑ "Abe elected premier, launches Cabinet". Daily Yomuiru Online. 26 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2012. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
- ↑ Yoshida, Reiji (24 July 2018). "LDP policy chief Fumio Kishida says he won't run in party leadership election, leaving two-way race between Abe and Ishiba". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2021. สืบค้นเมื่อ 4 October 2021.
- ↑ Sakaguchi, Yukihiro (26 June 2020). "Race to replace Abe threatens stability of Japanese politics". Nikkei Asian Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2020. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
- ↑ "Leading by listening: Kishida offers Japan a traditional style of politics". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2021. สืบค้นเมื่อ 31 October 2021.
- ↑ "Taro Kono tops Kyodo poll of LDP members as most fit to be Japan PM". Kyodo News+. สืบค้นเมื่อ 2023-02-18.
- ↑ Auto, Hermes (2021-09-04). "Suga backs Kono, Abe picks Takaichi: Battle lines drawn in fight for Japan's top job". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-18.
- ↑ Ogura, Junko; Wang, Selina; Regan, Helen (29 September 2021). "Fumio Kishida expected to become Japan's next Prime Minister after ruling party vote". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ Decoraties Staatsbezoeken Japan en Republiek Korea เก็บถาวร 4 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - website of the Dutch Royal House