ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดินีจิโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดินีจิโต
พระบรมสาทิสลักษณ์จักรพรรดินีจิโต
จักรพรรดินีนาถแห่งญี่ปุ่น
ครองราชย์1 ตุลาคม พ.ศ. 1229 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 1240
รัชสมัย11 ปี
ราชาภิเษก14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1233
ก่อนหน้าจักรพรรดิเท็มมุ
ถัดไปจักรพรรดิมมมุ
จักรพรรดินีญี่ปุ่น
ดำรงพระยศ673–686
พระราชสมภพพ.ศ. 1188
อุโน-โนะ-ซะระระ (鸕野讚良)
สวรรคต13 มกราคม พ.ศ. 1246 (58 พรรษา)
คู่อภิเษกจักรพรรดิเท็มมุ
พระราชบุตรเจ้าชายคุซะคะเบะ
รัชศก
อาซูกะ
พระราชบิดาจักรพรรดิเท็นจิ
พระราชมารดาโซงะ โนะ โอจิ-โนะ-อิระสึเมะ

จักรพรรดินีจิโต(持統天皇 จิโต-เทนโน, พ.ศ. 1188 - 13 มกราคม พ.ศ. 1246) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแห่งญี่ปุ่นพระองค์ที่ 41[1] อันเนื่องมาจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามโบราณราชประเพณี[2] จักรพรรดินีจิโตครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1229 จนกระทั่งพ.ศ. 1240 เป็นระยะเวลา 11 ปี[3]

ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น จักรพรรดินีจิโตเป็นสตรีองค์ที่สามในแปดพระองค์ที่มีบทบาทในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ จักรพรรดินีนาถ 2 พระองค์ก่อนรัชสมัยของพระนางคือ จักรพรรดินีซุอิโกะและจักรพรรดินีโคเงียวกุหรืออีกพระนามหนึ่งคือ จักรพรรดินีเซอิเม จักรพรรดินีนาถอีก 5 พระองค์หลังรัชสมัยของพระนางได้แก่ จักรพรรดินีเก็มเม, จักรพรรดินีเก็นโช, จักรพรรดินีโคเก็งหรืออีกพระนามหนึ่งคือ จักรพรรดินีโชโตะกุ, จักรพรรดินีเมโช และจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ

เรื่องราชประเพณี

[แก้]

จักรพรรดินีจิโตเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระจักรพรรดิเท็นจิ พระราชมารดาของพระนางคือ โซงะ โนะ โอจิ-โนะ-อิระสึเมะ ซึ่งเป็นธิดาของขุนนางที่มีชื่อว่า โอโอมิ โซงะ โนะ ยะมะดะ-โนะ อิชิกะวะ มาโระ พระนางเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิเท็มมุ ผู้เป็นพระอนุชาในจักรพรรดิเท็นจิ พระบิดาของพระนาง หรือในทางเดียวกัน พระนางอภิเษกสมรสกับพระปิตุลาแท้ๆและทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระสวามี[4]

พระนามเดิมของจักรพรรดินีจิโตคือ เจ้าหญิงอุโน-โนะ-ซะระระ หรือ อุโน-โนะ-ซะซะระ(鸕野讚良) หรือ เจ้าหญิงอุโนะ[5]

เหตุการณ์ในรัชสมัยของจักรพรรดินีจิโต

[แก้]

จักรพรรดินีจิโตต้องรับผิดชอบในการบริหารราชกิจทั้งหมดหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิเท็มมุ พระสวามี และมีศักดิ์เป็นพระปิตุลาของพระนางด้วย พระนางครองราชบัลลังก์ในปีพ.ศ. 1230 เพื่อที่จะแน่นอนพระทัยในสิทธิการสืบราชสมบัติของเจ้าชายคุซะคะเบะ พระโอรส ตลอดรัชสมัยนี้ จักรพรรดินีจิโตว่าราชการจากพระราชวังฟุจิวะระในยะมะโตะ[4]

เจ้าชายคุซะคะเบะได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารเพื่อครองราชบัลลังก์สืบต่อจากจักรพรรดินีจิโต แต่เจ้าชายกลับสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 28 พรรษา เจ้าชายคะรุ-โนะ-โอะ พระโอรสของเจ้าชายคุซะคะเบะได้รับการสถาปนาให้เป็นรัชทายาทสืบต่อจากจักรพรรดินีจิโต ผู้เป็นพระอัยยิกา และต่อมาเจ้าชายครองราชสมบัติเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิมงมุ[4]

จักรพรรดินีจิโตครองราชย์เป็นระยะเวลา 11 ปี ถึงแม้ว่ามีจักรพรรดินีนาถพระองค์อื่น 7 พระองค์ รัชทายาทของแต่ละพระองค์มักเลือกจากสายสันตติวงศ์ที่เป็นบุรุษ ที่ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงจากนักปราชญ์สายอนุรักษนิยมเกี่ยวกับสิทธิของสตรีในการสืบราชสันตติวงศ์ และที่ซึ่งประเพณีในการสืบสันตติวงศ์ต้องเป็นบุรุษเท่านั้นยังคงมีการรักษาไว้ดังเดิมในศตวรรษที่ 21[6] จักรพรรดินีเก็มเม ผู้ซึ่งทรงให้พระราชธิดาครองราชสมบัติสืบต่อในพระนามว่า จักรพรรดินีเก็นโช ยังคงเป็นที่ยกเว้นจากการถกเถียงเรื่องสิทธิของสตรีนี้

ในปีพ.ศ. 1240 จักรพรรดินีจิโตสละราชสมบัติแก่เจ้าชายคะรุ-โนะ-โอะ พระนัดดาองค์โปรด ให้ครองราชย์เป็น สมเด็จพระจักรพรรดิมมมุ และพระนางดำรงพระยศไดโจเท็นโน (มหาจักรพรรดิ) มีพระราชอำนาจในราชสำนักเหนือองค์จักรพรรดิ หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ จักรพรรดิพระองค์ต่อ ๆ มาทรงกระทำเช่นเดียวกับพระนาง และดำรงพระอิศริยยศนี้หลังสละราชบัลลังก์[4]

ปัจจุบันสถานที่ฝังพระบรมศพของจักรพรรดินีจิโตเป็นที่รู้จัก[1] พระนางทรงได้รับการเคารพตามโบราณราชประเพณีที่ศาลเจ้าชินโตในเมืองนะระ

สำนักพระราชวังอิมพีเรียลได้จดทะเบียนสถานที่ฝังพระบรมศพของจักรพรรดินีนาถจิโต และได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า โอะจิ-โนะ-โอะกะโนะเอะ โนะ มิซะซะกิ[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Imperial Household Agency (Kunaichō): 持統天皇 (41)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 54.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, p. 59., p. 59, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, p. 137.
  5. Brown, D. (1979). Gukanshō, p. 270.
  6. "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl, " Japan Times. March 27, 2007.
  7. Ponsonby-Fane, p. 420.
ก่อนหน้า จักรพรรดินีจิโต ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิเทงมุ
สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น
(พ.ศ. 1229 - พ.ศ. 1240)
สมเด็จพระจักรพรรดิมงมุ