จักรพรรดิคัมมุ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จักรพรรดิคัมมุ | |
---|---|
![]() พระสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิคัมมุ | |
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 50 | |
30 เมษายน ค.ศ. 781 - 9 เมษายน ค.ศ. 806 | |
พิธีราชาภิเษก | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 781 |
ไดโจไซ | 4 ธันวาคม ค.ศ. 781 |
รัชกาลก่อนหน้า | โคนิง |
รัชกาลถัดไป | เฮเซ |
พระราชสมภพ | ค.ศ. 737 |
พระบรมนามาภิไธย | เจ้าชายยะมะเบะ |
พระอิสริยยศ | จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น |
สวรรคต | 9 เมษายน ค.ศ. 806 พระราชวังหลวงเฮอัง |
สุสานหลวง | คาชิวาบาระ โนะ มิซะซะงิ |
พระราชบิดา | จักรพรรดิโคนิง |
พระราชมารดา | ทากาโนะ โนะ นีงาซะ |
จักรพรรดินี (โคโง) | ฟุจิวะระ โนะ โอะโตะมุโระ |
เจ้าหญิงพระชายา | เจ้าหญิงซะกะฮิโตะ |
นางสนองพระโอษฐ์ | ทะชิบะนะ โนะ สึเนะโกะ |
พระราชโอรส-ธิดา | จักรพรรดิเฮเซ จักรพรรดิซะงะ จักรพรรดิจุนนะ เจ้าหญิงโอยะเกะ |
จักรพรรดิคัมมุ (ญี่ปุ่น: 桓武天皇; โรมาจิ: Kammu-tennō) จักรพรรดิองค์ที่ 50 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น[2] และเป็นช่วงที่พระราชอำนาจของจักรพรรดิเรืองอำนาจถึงจุดสูงสุด[3] โดยพระองค์มีอีกพระนามหนึ่งว่า จักรพรรดิคาชิวาบาระ ซึ่งมีที่มาจากพระนามสุสานของพระองค์
จักรพรรดิคัมมุครอง ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างปี ค.ศ. 781 - ค.ศ. 806
ในเวลาต่อมาพระนาม คาชิวาบาระ ของจักรพรรดิคัมมุได้ถูกนำไปใช้เป็นพระนามของจักรพรรดิโกะ-คาชิวาบาระ จักรพรรดิในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16
พระราชประวัติ[แก้]

จักรพรรดิคัมมุมีพระนามเดิมก่อนจะขึ้นสืบ ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ว่า เจ้าชายยามาเบะ (山部)[4] เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในจักรพรรดิโคนิง จักรพรรดิองค์ที่ 49 และประสูติก่อนที่จักรพรรดิโคนิงจะขึ้นครองราชย์[5] อ้างอิงจาก โชกุนิฮงงิ พระราชมารดาของจักรพรรดิคัมมุ, ยามาโตะ โนะ นีงาซะ (ภายหลังเรียกว่าทากาโนะ โนะ นีงาซะ) เป็นทายาทรุ่นที่ 10 ของพระเจ้ามูรยองแห่งแพ็กเจ
และนอกจากนี้ยังเป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิอีก 3 พระองค์คือจักรพรรดิเฮเซ จักรพรรดิองค์ที่ 51, จักรพรรดิซางะ จักรพรรดิองค์ที่ 52 และ จักรพรรดิจุนนะ จักรพรรดิองค์ที่ 53
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิคัมมุ[แก้]
เจ้าชายยะมะเบะมิได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทเนื่องจากพระอนุชาต่างพระราชมารดาของพระองค์คือ เจ้าชายโอะซะเบะ ที่ประสูติแต่จักรพรรดินีคือ เจ้าหญิงอิโนะเอะ พระราชธิดาในจักรพรรดิโชมุได้รับสถาปนาเป็นรัชทายาทจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์สาปแช่งจักรพรรดิโคนิงทำให้จักรพรรดินีและเจ้าชายโอะซะเบะถูกปลดและถูกเนรเทศเจ้าชายยะมะเบะจึงได้รับสถาปนาเป็นรัชทายาทแทน
- 29 มกราคม ค.ศ. 773 (วันที่ 2 เดือน 1 ปี โฮกิ ที่ 3) : ปีที่ 3 ในรัชสมัยจักรพรรดิโคนิงเจ้าชายยะมะเบะพระราชโอรสองค์ใหญ่พระชนมายุ 36 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นรัชทายาทแทนเจ้าชายโอะซะเบะพระอนุชาต่างพระราชมารดาที่ถูกปลด
- 30 เมษายน ค.ศ. 781 (วันที่ 3 เดือน 4 ปี โฮกิ ที่ 3) : จักรพรรดิโคนิงสละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายยะมะเบะที่รัชทายาทพระชนมายุ 44 พรรษาขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิคัมมุ
- ค.ศ. 784 (ปี เอ็งยะกุ ที่ 3) : จักรพรรดิคัมมูโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงจาก เฮโจเกียว มายัง นะงะโอะกะเกียว เพื่อหลีกหนีอิทธิพลของ พระพุทธศาสนา และ ตระกูลฟุจิวะระ ที่กำลังเรืองอำนาจ
แผนผัง[แก้]
(38) เท็นจิ | (40) เท็มมุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
(39) โคบุง | (41) จิโต | (43) เก็มเม | (42) มมมุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
(44) เก็นโช | (45) โชมุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
(46/48) โคเก็ง โชโตะกุ | (49) โคนิง (สืบสายจากจักรพรรดิเท็นจิ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
(47) จุนนิง | (50) คัมมุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
(50) คัมมุ | |||||||||||||||||||||||||||
(51) เฮเซ | (52) ซางะ | (53) จุนนะ | |||||||||||||||||||||||||
(54) นิมเมียว | |||||||||||||||||||||||||||
พระราชวงศ์[แก้]
จักรพรรดิคัมมุมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 36 พระองค์
- จักรพรรดินี : ฟุจิวะระ โนะ โอะโตะมุโระ (1303 – 1333) ธิดาของ ฟุจิวะระ โนะ โยะชิสึงุ
- เจ้าชายอะเตะ (จักรพรรดิเฮเซ) (1317 – 1367)
- เจ้าชายคะมิโนะ (จักรพรรดิซะงะ) (1329 – 1385)
- เจ้าหญิงโคชิ (1332 – 1352) จักรพรรดินีใน จักรพรรดิจุนนะ
- เจ้าหญิงพระชายา : เจ้าหญิงซะกะฮิโตะ (1297 – 1372) พระราชธิดาใน จักรพรรดิโคนิง
- เจ้าหญิงอะซะฮะระ (1322 – 1360) ไซโอ องค์ที่ 12 แห่ง ศาลเจ้าอิเสะ และ เจ้าหญิงพระชายา ใน จักรพรรดิเฮเซ
- Bunin : ฟุจิวะระ โนะ ทะบิโกะ (1302 – 1331) ธิดาของ ฟุจิวะระ โนะ โมะโมะกะวะ
- เจ้าชายโอโตะโมะ (จักรพรรดิจุนนะ) (1329 – 1383)
- นางสนองพระโอษฐ์ : ทะชิบะนะ โนะ สึเนะโกะ (1331 – 1360) ธิดาของ ทะชิบะนะ โนะ ชิมะดะมะโระ
- เจ้าหญิงโอยะเกะ (? – 1392) เจ้าหญิงพระชายา ใน จักรพรรดิเฮเซ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 桓武天皇 (50); retrieved 2013-8-22.
- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Etchū" in Japan Encyclopedia, p. 464; Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 61–62.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 86–95, p. 86, ที่ Google Books; Brown, Delmer M. Gukanshō, pp. 277–279; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, pp. 148–150.
- ↑ Brown, p. 277.
- ↑ Titsingh, p. 86, p. 86, ที่ Google Books; Varley, p. 149.