ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิชูไอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิชูไอ
仲哀天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 192–200 (ตามธรรมเนียม)[1]
ก่อนหน้าเซมุ
ถัดไปจิงงู (โดยพฤตินัย)[a]
โอจิง (โดยนิตินัย)[b]
พระราชสมภพค.ศ. 149[2]
ทาราชินากัตสึฮิโกะ (足仲彦尊)
สวรรคต200 (อายุ 50–51)
ฝังพระศพเองะ โนะ นางานุ โนะ นิชิ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 恵我長野西陵; นาระ)
คู่อภิเษกโอกินางาตาราชิฮิเมะ-โนะ-มิโกโตะ
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
จักรพรรดิโอจิง
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิชูไอ (仲哀天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ทาราชินากัตสึฮิโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (足仲彦天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดายามาโตะ ทาเกรุ
พระราชมารดาฟูตาจิ อิริฮิเมะ [ja][3]

จักรพรรดิชูไอ (ญี่ปุ่น: 仲哀天皇โรมาจิChūai-tennō) มีอีกพระนามว่า ทาราชินากัตสึฮิโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 足仲彦天皇โรมาจิTarashinakatsuhiko no Sumeramikoto) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นในตำนานองค์ที่ 14 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[4][5] ทั้งโคจิกิและนิฮงโชกิ (เรียกรวมกันเป็น คิกิ) บันทึกเหตุการณ์ที่อ้างว่าเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของชูไอ ชูไอเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่ขึ้นครองราชย์ โดยไม่ได้เป็นพระราชโอรสในจักรพรรรดิองค์ก่อนหน้า เนื่องจากพระราชโอรสในจักรพรรดิองค์ก่อนสวรรคตตั้งแต่วัยเยาว์ พระองค์ยังเป็นที่รู้จักจากการมีเมืองหลวงที่คีวชู แทนที่จะเป็นยามาโตะเหมือนกันจักรพรรดิองค์ก่อน บันทึกระบุว่าชูไอมีพระมเหสีนาม โอกินางาตาราชิฮิเมะ-โนะ-มิโกโตะ (ภายหลังเป็นจิงงู) กับพระมเหสีอีก 2 พระองค์ที่ทั้งหมดให้กำเนิดพระราชโอรสธิดารวม 4 พระองค์

ตามธรรมเนียม รัชสมัยของจักรพรรดิชูไอถือกันว่าอยู่ระหว่าง ค.ศ. 192 ถึง 200[6] เหตุการณ์ที่นำไปสู่การสวรรคตของจักรพรรดิถูกตีความเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับคามิ (ดวงวิญญาณ) พยาบาทที่สังหารชูไอในทางอ้อม เหตุการณ์ดังกล่าวอ้างว่าเกิดขึ้นหลังจักรพรรดิเย้ยหยันคำขอของคามิอย่างไม่เคารพ จิงงูพระมเหสีดำเนินตามคำขอของคามิที่ให้เข้ารุกรานเกาหลี แต่ข้อมูลนี้ถือว่าเป็นตำนานมากกว่าข้อเท็จจริง

เรื่องเล่าตามตำนาน

[แก้]

ในคิกิบันทึกว่าชูไอประสูติแด่ฟูตาจิ โนะ อิริฮิเมะในช่วง ค.ศ. 149 และได้รับพระราชทานนามว่า ทาราชินากาฮิโกะ หรือ ทาราชินากัตสึฮิโกะ (ญี่ปุ่น: 足仲彦天皇โรมาจิTarashinakahiko หรือ Tarashinakatsuhiko)[2][3][7] ข้อมูลอ้างว่าพระราชบิดาของชูไดเป็นเจ้าชายในตำนานนามว่ายามาโต ทาเกรุ พระองค์จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่ไม่ได้เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิองค์ก่อน แต่เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเซมุ[8][9] พระองค์ได้รับพระราชทานตำแหน่ง มกุฎราชกุมาร โดยพระปิตุลา (อา) ก่อนสวรรคตใน ค.ศ. 190 สองปีต่อมาชูไอขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไป บันทึกระบุว่าพระราชวังของพระองค์ในตอนแรกตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทางตอนเหนือของช่องแคบชิโมโนเซกิ จากนั้นจึงย้ายไปทางใต้ของช่องแคบในเกาะคีวชู ต่างจากบรรพบุรุษของพระองค์ที่คงตั้งเมืองหลวงในแคว้นยามาโตะ[10][11]

คิกิกล่าวถึงจักรพรรดิชูไอว่ามีความสูง 10 ฟุตกับ "พระพักตร์อันงดงามสมบูรณ์แบบ"[10] พระองค์มีพระมเหสีองค์หนึ่งนามว่า โอกินางาตาราชิ (จิงงู) และพระมเหสีอีกสองพระองค์ ซึ่งทั้งหมดให้กำเนิดพระราชโอรสธิดารวม 4 พระองค์ ในช่วงต้นรัชสมัย พระองค์เดินหน้าถึงสึรูงะในปัจจุบัน และได้นำทัพไปยังคิอิ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ได้ยินข่าวการก่อกบฏ[10] จิงงูเสด็จร่วมกับพระองค์ไปทางตะวันตกเพื่อต่อสู้กับเผ่าในสึกูชิ (บริเวณจังหวัดฟูกูโอกะในปัจจุบัน) ที่มีชื่อว่า คูมาโซะ[9] แต่ก่อนถึงวันรบ พระมเหสีของพระองค์ถูกคามิไม่ทราบนามเข้าสิง ซึ่งแนะนำพระองค์ให้รุกรานและพิชิตเกาหลี โดยให้เหตุผลว่า คูมาโซะ นั้นไม่คู่ควรกับ "เหล็กกล้าของพระองค์"[10] ชูไอทรงปฏิเสธอย่างดูถูกด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งรวมถึงการละทิ้งการสู้รบ และสงสัยว่าดินแดนดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่[10][12] กล่าวกันว่าคามิโกรธแค้นต่อการดูหมิ่นเกียรตินี้มาก จนต่อมาจักรพรรดิชูไอถูกสังหารในการต่อสู้ที่ทำลายกองกำลังของพระองค์[10][11]

จิงงู ผู้ปราบคุมาโซะด้วยความอาฆาตแค้นหลังจากนั้นไม่นาน ทรงเก็บเรื่องการสวรรคตขององค์จักรพรรดิเป็นความลับ[10] จิงงูทรงให้ความเคารพต่อความปรารถนาของคามิด้วยการรุกรานเกาหลีและปราบปรามอาณาจักรชิรางิในเกาหลีตะวันออก ส่วนอาณาจักรเกาหลีอีกสองแห่งในขณะนั้นยอมจำนนโดยสมัครใจ และจิงงูขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดินี[9] ในปัจจุบัน เรื่องราวการครอบครองคาบสมุทรเกาหลีของจิงงูและรัชสมัยในฐานะจักกรพรรดินีถือเป็นตำนานมากกว่าข้อเท็จจริง[13] ธรรมเนียมสมัยใหม่มีมุมมองว่าพระราชโอรสของชูไอ (โฮมูตาวาเกะ) ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไปหลังจิงงูทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการ พระนางจึงเป็นผู้ปกครองช่วงระหว่างรัชกาลโดยพฤตินัย[2]

ข้อมูลเท่าที่มีอยู่

[แก้]
โอกามิซันไซโคฟุง [ja] สถานที่ฝังพระศพที่เป็นไปได้ของจักรพรรดิชูไอ

นักประวัติศาสตร์ถือให้จักรพรรดิชูไอเป็น "จักรพรรดิในตำนาน" เนื่องจากมีข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับการตรวจสอบและศึกษาเพิ่มเติม การขาดข้อมูลดังกล่าวทำให้การมีตัวตนของพระองค์กลายเป็นประเด็นถกเถียง[14] ไม่มีหลักฐานที่เสนอแนะว่ามีการใช้งานตำแหน่งเท็นโนในรัชสมัยที่ชูไอมีพระชนมชีพอยู่ ทำให้เป็นไปได้ว่าพระนามนี้ระบุขึ้นหลังสวรรคตโดยคนรุ่นหลัง[15] พระนามของพระองค์อาจได้รับการกำหนดหลังช่วงชีวิตของชูไอมาหลายศตวรรษ ซึ่งอาจเป็นช่วงที่มีการรวบรวมตำนานเกี่ยวกับต้นกำเนิดราชวงศ์ญี่ปุ่นเข้าในพงศาวดารที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ โคจิกิ[13]

ลักษณะการสวรรคตตของชูไอถูกแบ่งออกเป็นทฤษฎีอย่างน้อยสองแบบ ในหนังสือ Confucianism O - Z ของศาสตรจารย์ เหยา ซินจงระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่จักรพรรดิผู้ล่วงลับอาจประสบกับอาการพระประชวรมากกว่าที่จะสวรรคตในสนามรบ[9] แหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลของเหยา, ฟรานซิส บริงก์ลีย์ และคิกูจิ ไดโรกุยังอ้างสถานการณ์ลูกศรของศัตรูด้วย[10] จักรพรรดิชูไอตามธรรมเนียมจัดให้เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายในยุคยาโยอิ ซึ่งในความเป็นจริงทรงปกครองในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ยุคถัดไปมีชื่อว่ายุคโคฟุง ซึ่งมีมีการค้นพบข้อมูลเกี่ยวกับจักรพรรดิจากหลักฐานทางโบราณคดีในปัจจุบันมากขึ้น[14]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

จักรพรรดินี: โอกินางาตาราชิ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: Okinagatarashi-himeโรมาจิ気長足姫尊) ภายหลังเป็นจักรพรรดินีจิงงู พระธิดาในเจ้าชายโอกินางะ โนะ ซูกูเนะ

พระมเหสี: โอนากัตสึ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 大中姫命โรมาจิŌnakatsu-hime) พระธิดาในเจ้าชายฮิโกฮิโตโอเอะ (พระราชโอรสในจักรพรรดิเคโกะ)

  • เจ้าชายคาโงซากะ (ญี่ปุ่น: 麛坂皇子; สวรรคต ค.ศ. 201)
  • เจ้าชายโอชิกูมะ (ญี่ปุ่น: 忍熊皇子; สวรรคต ค.ศ. 201)

พระมเหสี: โอโตะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 弟媛โรมาจิOto-hime) ธิดาในโอซากานูชิ

หมายเหตุ

[แก้]
  1. รัชสมัยของจิงงูในฐานะจักรพรรดิปัจจุบันถือเป็นตำนานมากกว่าข้อเท็จจริง นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ระบุพระนางเป็น "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ" ที่ปกครองโดยพฤตินัยจนกระทั่ง โฮมูตาวาเกะ (โอจิง) กลายเป็นจักรพรรดิ
  2. โอจิงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิใน ค.ศ. 270[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ August 2, 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
  3. 3.0 3.1 Kidder, Jonathan E. (2007). Himiko and Japan's Elusive Chiefdom of Yamatai: Archaeology, History, and Mythology. University of Hawaii Press. p. 344. ISBN 9780824830359.
  4. "仲哀天皇 (14)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ August 2, 2019.
  5. Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 15, 34–36.
  6. Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. 433.
  7. Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko (the Oriental Library), Issues 32-34. Toyo Bunko. 1974. p. 64. สืบค้นเมื่อ August 2, 2019.
  8. Packard, Jerrold M. (2000). Sons of Heaven: A Portrait of the Japanese Monarchy. FireWord Publishing, Incorporated. p. 45. ISBN 9781930782013.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Xinzhong, Yao (2003). Confucianism O - Z. Taylor & Francis US. p. 467. ISBN 9780415306539.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 Brinkley, Frank, Dairoku, Kikuchi (1915). A History of the Japanese People: From the Earliest Times to the End of the Meiji Era. Encyclopaedia Britannica Company. pp. 88–89. สืบค้นเมื่อ August 2, 2019. emperor Chūai.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 Martin, Peter (1997). The Chrysanthemum Throne: A History of the Emperors of Japan. University of Hawaii Press. pp. 23–24. ISBN 9780824820299. สืบค้นเมื่อ August 2, 2019.
  12. Hardacre, Helen (2017). Shinto: A History. Oxford University Press. p. 91. ISBN 9780190621711.
  13. 13.0 13.1 Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 2. The Japan Society London. p. 109 & 217–223. ISBN 9780524053478.
  14. 14.0 14.1 Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ August 2, 2019.
  15. Brinkley, Frank (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the end of the Meiji Era. Encyclopaedia Britannica Company. p. 21. Posthumous names for the earthly Mikados were invented in the reign of Emperor Kanmu (782–805), i.e., after the date of the compilation of the Records and the Chronicles.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า จักรพรรดิชูไอ ถัดไป
จักรพรรดิเซมุ
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(ค.ศ. 192 - ค.ศ. 200)
จักรพรรดินีจิงงุ