ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิอังกัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิอังกัง
安閑天皇
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยามาโตะ
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ป. 10 มีนาคม ค.ศ. 531 – 25 มกราคม ค.ศ. 536
ก่อนหน้าเคไต
ถัดไปเซ็งกะ
พระราชสมภพค.ศ. 466
มางาริ ()
สวรรคต25 มกราคม ค.ศ. 536(536-01-25) (69–70 ปี)
ฝังพระศพฟูรูจิ โนะ ทากายะ โนะ โอกะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 古市高屋丘陵โรมาจิFuruchi no Takaya no oka no misasagi; โอซากะ)
คู่อภิเษกคาซูงะ โนะ ยามาดะ
พระราชบุตร
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิอังกัง (安閑天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ฮิโรกูนิ-โอชิตาเกกานาฮิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (広国押武金日天皇)
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิเคไต
พระราชมารดาเมโนโกฮิเมะ

จักรพรรดิอังกัง (ญี่ปุ่น: 安閑天皇โรมาจิAnkan-tennō; ค.ศ. 466 — 25 มกราคม ค.ศ. 536) เป็นจักรพรรดิในตำนานองค์ที่ 27 ของญี่ปุ่น[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2]

ไม่สามารถกำหนดวันที่แน่นอนให้กับพระชนมชีพหรือรัชสมัยของจักรพรรดิองค์นี้ แต่ตามธรรมเนียมถือว่าได้ครองสิริราชสมบัติจาก 10 มีนาคม ค.ศ. 531 ถึง 25 มกราคม ค.ศ. 536[3]

ตำนาน

[แก้]

รายงานจากโคจิกิ เจ้าชายมางาริ โนะ โอเอะ (ญี่ปุ่น: 勾大兄皇子; ภายหลังคือจักรพรดริอังกัง) เป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิเคไตผู้ปกครองประเทศในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 แม้ว่ามีข้อมูลเกี่ยวกัยพระองค์เพียงเล็กน้อย[4] เมื่อพระองค์มีพระชนมพรรษา 66 พรรษา เคไตจึงสละราชสมบัติให้พระองค์

ตำแหน่งร่วมสมัยของอังกังน่าจะไม่ใช่ เท็นโน เนื่องจากนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าตำแหน่งนี้ยังไม่ปรากฏจนกระทั่งรัชสมัยจักรพรรดิเท็มมุและจักรพรรดินีจิโตแต่คาดว่าตำแหน่งในเวลานั้นคือ ซูเมรามิโกโตะ หรือ อาเมโนชิตะ ชิโรชิเมซุ โอกิมิ (ญี่ปุ่น: 治天下大王, หมายถึง "กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ปกครองใต้สวรรค์" หรืออาจเรียกเป็น ヤマト大王/大君 หรือ "กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยามาโตะ"

เหตุการณ์สำคัญที่สุดที่บันทึกในรัชสมัยของพระองค์คือการสร้างยุ้งฉางของรัฐจำนวนมากทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบ่งชี้ถึงอำนาจของจักรวรรดิที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวางในขณะนั้น[5]

ศาลเจ้าและสุสานชินโตที่อุทิศแด่จักรพรรดิอังกัง

สุสานของอังกังตามธรรมเนียมมีความเกี่ยวข้องกับโคฟุงทากายัตสึกิยามะในฮาบิกิโนะ จังหวัดโอซากะ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 安閑天皇 (27)
  2. Varley, Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 120; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 33., p. 33, ที่กูเกิล หนังสือ
  3. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 44.
  4. Kelly, Charles F. "Kofun Culture," Japanese Archaeology. April 27, 2009.
  5. Mason, Joseph. (2002). The Meaning of Shinto, p. 172., p. 172, ที่กูเกิล หนังสือ

ข้อมูล

[แก้]
  • Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
  • Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
  • Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
  • Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
  • Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842