ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโยเซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิโยเซ
陽成天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์18 ธันวาคม ค.ศ. 876 – 4 มีนาคม ค.ศ. 884
ราชาภิเษก20 มกราคม ค.ศ. 877
ก่อนหน้าเซวะ
ถัดไปโคโก
พระราชสมภพ2 มกราคม ค.ศ. 869
ซาเมโดโนะอิง เฮอังเกียว (เกียวโต)
สวรรคต23 ตุลาคม ค.ศ. 949(949-10-23) (80 ปี)
เฮอังเกียว (เกียวโต)
ฝังพระศพคางูรางาโอกะ โนะ ฮิงาชิ โนะ มิซาซางิ (神楽岡東陵; เกียวโต)
พระราชบุตร
  • เจ้าชายโมโตโยชิ
  • เจ้าชายโมโตนางะ
  • เจ้าชายโตโตโตชิ
  • เจ้าชายโชชิ
  • เจ้าหญิงเก็นชิ
  • เจ้าชายโมโตฮิระ
  • มินาโมโตะ โนะ คิโยกาเงะ
  • มินาโมโตะ โนะ คิโยโต
  • มินาโมโตะ โนะ คิโยมิ
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิโยเซ (陽成天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิเซวะ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ ทาไกโกะ [ja]

จักรพรรดิโยเซ (ญี่ปุ่น: 陽成天皇โรมาจิYōzei-tennō; 2 มกราคม ค.ศ. 869 – 23 ตุลาคม ค.ศ. 949) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 57[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]

รัชสมัยของจักรพรรดิโยเซยาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 876 ถึง 884[3]

พระราชประวัติ

[แก้]

ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ โยเซมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ว่า ซาดาอากิระ ชินโน (貞明親王)[5]

จักรพรรดิโยเซเป็นพระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิเซวะ พระราชมารดาของพระองคค์คือจักรพรรดินีฟูจิาวระ โนะ ทาไกโดะ ผู้เป็นที่รู้จักในอีกพระนามหนึ่งว่า จักรพรรดินีนิโจ หลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเซวะ[6] พระราชมารดาของโยเซเป็นพี่สาวของฟูจิวาระ โนะ โมตตสึเนะ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของจักรพรรดิวัยหนุ่ม[7]

โยเซมีพระราชโอรสธิดารวม 9 พระองค์ที่ประสูติหลังพระองค์สละราชสมบัติ[8]

กล่าวกันว่าพระองค์มีอาการไม่มั่นคงทางจิตใจหลังขึ้นครองราชย์เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์มุ่งมั่นในด้านบทกวีวากะในช่วงบั้นปลายชีวิต บทกวีวากะอันโด่งดังของพระองค์แสดงถึงความรักที่เพิ่มมากขึ้นของพระองค์ซ้อนทับภาพการไหลของแม่น้ำ[9]

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของโยเซ

[แก้]

รัชสมัยของโยเซ

[แก้]

ปีในรัชสมัยโยเซมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือ เน็งโง[7] ในช่วงนี้ ธรรมเนียมการตั้งชื่อศักราชด้วยลางดีได้เปลี่ยนไป ชื่อของยุคสมัยอาจถูกเลือกมาเพื่อจำกัดผลกระทบของสิ่งเลวร้าย[10]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

พระมเหสี (ฮิ): เจ้าหญิงคันชิง (簡子内親王; สวรรคต ค.ศ. 914) พระราชธิดาองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิโคโก

พระมเหสี (ฮิ): เจ้าหญิงยาซูโกะ (綏子内親王; สวรรคต ค.ศ. 925) พระราชธิดาองค์ที่ 3 ในจักรพรรดิโคโก

พระมเหสี (ฮิ): เจ้าหญิงเคียวโกะ (姣子女王; สวรรคต ค.ศ. 914) พระธิดาในเจ้าชายโคเรตาดะ

นางพระกำนัล: ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โทนางะ

นางพระกำนัล: ธิดาจากตระกูลคิ

  • พระราชโอรสองค์แรก: มินาโมโตะ โนะ คิโยกาเงะ (源清蔭; 884–950), ไดนางง (948–950)

นางพระกำนัล: ธิดาในโทโมะ ยาซูฮิระ

  • มินาโมโตะ โนะ คิโยมิ (源清鑒; เสียชีวิต ค.ศ. 936)

นางพระกำนัล: ธิดาจากตระกูลซาเอกิ

  • มินาโมโตะ โนะ คิโยโต (源清遠; เสียชีวิต ค.ศ. 912)

พระราชพงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 陽成天皇 (57)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 66–67.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 121–124; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 288–289; Varley, H. Paul, ed. (1980). Jinō Shōtōki, pp. 170–171.
  4. Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  5. Titsingh, p. 121; Varley, p. 170.
  6. Varley, p. 170.
  7. 7.0 7.1 Titsingh, p. 121.
  8. Brown, p. 288.
  9. "小倉百人一首の全首を見る".
  10. Bialock, David T. (2007). Eccentric Spaces, Hidden Histories: Narrative, Ritual, and Royal Authority, p. 138.
  11. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 3 February 2018.

ข้อมูล

[แก้]