ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิเคโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิเคโก
景行天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 71–130 (ตามธรรมเนียม)[1]
ก่อนหน้าซูอินิง
ถัดไปเซมุ
ประสูติ13 ปีก่อน ค.ศ.[2]
โอตาราชิฮิโกะ (大足彦尊)
สวรรคตค.ศ. 130 (143 พรรษา)
ฝังพระศพยามาโนเบะ โนะ มิจิ โนะ เอะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 山辺道上陵; นาระ)
ชายาฮาริมะ โนะ อินาบิ โนะ โออิรัตสึเมะ [ja]
ยาซาไกริ-ฮิเมะ [ja]
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
เจ้าชายโอซุ
จักรพรรดิเซมุ
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิเคโก (景行天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
โอตาราชิฮิโกะ-โอชิโรวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (大足彦忍代別天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิซูอินิง
พระราชมารดาฮิบาซุ-ฮิเมะ [ja][3]
ศาสนาชินโต

จักรพรรดิเคโก (ญี่ปุ่น: 景行天皇โรมาจิKeikō-tennō) มีอีกพระนามว่า โอตาราชิฮิโกะ-โอชิโรวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 大足彦忍代別天皇โรมาจิŌtarashihiko-oshirowake no Sumeramikoto) และ โอตาราชิฮิโกะ-โอชิโรวาเกะ โนะ มิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 大帯日子淤斯呂和氣天皇โรมาจิŌtarashihiko-oshirowake no Mikoto) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นในตำนานองค์ที่ 12 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[4][5] ทั้งโคจิกิและนิฮงโชกิ (เรียกรวมเป็น คิกิ) บันทึกเหตุการณ์ที่อ้างว่าเกิดขึ้นในรัชสมัยเคโก จักรพรรดิเคโกได้รับการบันทึกว่าเป็นจักรพรรดิที่มีรูปร่างสูงใหญ่และมีครอบครัวใหญ่โตมาก ในรัชสมัยของพระองค์มีความพยายามขยายดินแดนด้วยการเข้าพิชิตชนเผ่าท้องถิ่น พระองค์มีพระราชโอรสที่สำคัญยิ่งมากพระองค์หนึ่งนามว่า "เจ้าชายโอซุ" (ยามาโตะ ทาเกรุ) ผู้ครอบครองคูซานางิตอนสิ้นพระชนม์ ภายหลังจึงย้ายสมบัตินี้ไปที่ศาลเจ้าอัตสึตะ และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของไตรราชกกุธภัณฑ์ มีความเป็นไปได้ว่าเคโกทรงมีพระชนมชีพหรือครองราชย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 มากกว่าคริสต์ศตวรรษที่ 1 แต่จำต้องใช้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อยืนยันมุมมองนี้

ตามธรรมเนียม รัชสมัยของเคโกถือกันว่าอยู่ระหว่าง ค.ศ. 71 ถึง 130[6] ในช่วงนั้น พระองค์เป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสธิดาอย่างน้อย 80 พระองค์กับพระมเหสีหลัก (จักรพรรดินี) 2 พระองค์ และพระมเหสีอีก 9 พระองค์ พระราชโอรสองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไปหลังเคโกสวรรคตใน ค.ศ. 130

เรื่องเล่าตามตำนาน

[แก้]

คิกิ หรือ พระราชพงศาวดารญี่ปุ่น บันทึกว่าเคโกเสด็จพระราชสมภพเมื่อประมาณ 13 ปีก่อน ค.ศ. และได้รับพระราชทานนามว่า "โอตาราชิฮิโกะ-โนะ-มิโกโตะ"[3][2] พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ในจักรพรรดิซูอินิงกับ "ฮิบาซุ-ฮิเมะ [ja]" พระมเหสีองค์ที่สอง[3][7] โอตาราชิฮิโกะ-โนะ-มิโกโตะ ถูกอ้างว่าได้รับเลือกเป็นมกุฎราชกุมารแทนพระเชษฐาของพระองค์ด้วยคำถามทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งที่ทั้งสองปรารถนา โอตาราชิฮิโกะ-โนะ-มิโกโตะตอบว่า "จักรวรรดิ" ในขณะที่พระเชษฐาตอบว่า "ธนูและลูกศร"[8] หลังพระราชบิดาสวรรคต โอตาราชิฮิโกะ-โนะ-มิโกโตะจึงขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 71

โคจิกิและนิฮงโชกิบันทึกเรื่องราวคราวขยายอาณาเขตในรัชสมัยของจักรพรรดิเคโกต่างกัน โดยโคจิกิระบุว่า จักรพรรดิส่ง"เจ้าชายโอซุ" (ยามาโตะ ทาเกรุ) พระราชโอรสไปที่คีวชูเพื่อเข้าพิชิตชนเผ่าท้องถิ่น ส่วนนิฮงโชกิบันทึกว่าพระองค์เสด็จไปด้วยตนเองและเอาชนะชนเผ่าท้องถิ่นได้ สองข้อมูลยอมรับว่าภายหลังเคโกส่งยามาโตะ ทาเกรุไปที่แคว้นอิซูโมะ และแคว้นตะวันออกเพื่อเข้าพิชิตพื้นที่และขยายดินแดน[9] ตามธรรมเนียม ยามาโตะ ทาเกรุสวรรคตในปีที่ 43 ของรัชสมัยจักรพรรดิเคโก (ญี่ปุ่น: 景行天皇四十三年)[10] ทรัพย์สมบัติของเจ้าชายผู้สวรรคตถูกเก็บรวบรวมไว้พร้อมกับดาบคูซานางิ และมเหสีม่ายของพระองค์อุทิศบูชาดวงวิญญาณของพระองค์ในศาลเจ้าที่บ้านของพระนาง ต่อมา ของตกทอดและดาบศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ถูกย้ายมาประดิษฐานไปยังพื้นที่ปัจจุบันคือศาลเจ้าอัตสึตะ[10]

จักรพรรดิเคโกได้รับการบันทึกว่ามีความสูงถึง 10 ฟุต 2 นิ้ว (310 เซนติเมตร) โดยมีพระราชโอรสธิดาจากพระมเหสีหลายพระองค์รวมอย่างน้อย 80 พระองค์[8] หากได้รับการยืนยัน ข้ออ้างนี้จะทำให้พระองค์อยู่ในประเภทภาวะยักษ์ แม้ว่ามีแนวโน้มว่าจะเกินจริง เช่นเดียวกับแง่มุมอื่น ๆ ก็ตาม นอกจากยามาโตะ ทาเกรุแล้ว มีพระราชโอรสธิดาอย่างน้อยสามพระองค์เป็นบรรพบุรุษของตระกูลสำคัญ ตามธรรมเนียม จักรพรรดิเคโกสวรรคตใน ค.ศ. 130 ด้วยพระชนมพรรษา 143 พรรษา และเจ้าชาย วากาตาราชิฮิโกะ พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไปในปีถัดมา[2]

ข้อมูลเท่าที่มีอยู่

[แก้]

นักประวัติศาสตร์จัดให้จักรพรรดิเคโกเป็น "จักรพรรดิในตำนาน" เนื่องจากมีข้อมูลสำหรับการตรวจสอบและศึกษาเพิ่มเติมไม่เพียงพอ[11] พระนามเคโก-เท็นโนได้รับการระบุหลังสวรรคตโดยคนรุ่นหลัง[12] มีความเป็นไปได้ว่ารัชสมัยของเคโกอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 มากกว่าคริสต์ศตวรรษที่ 1[13] ช่วงเวลานี้ตรงกับช่วงเค็นโตชิที่มีการเข้าเฝ้าจักรพรรดิถัง จำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อสรุปเรื่องใดก็ตาม เคโกก็เป็นที่รู้จักในเรื่องพระชนมายุเกินจริงเช่นเดียวกับพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งไม่น่าจะเป็นข้อเท็จจริง การครองราชย์ติดต่อกันของจักรพรรดิเริ่มมีการรวบรวมในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และเชื่อกันว่ามีการ "เติมเต็ม" ช่องว่างพระชนมายุ เนื่องจากมีส่วนที่ขาดไปจำนวนมาก[14][15]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

กล่าวกันว่าจักรพรรดิเคโกมีครอบครัวใหญ่โตมาก ประกอบด้วยพระมเหสั 2 พระองค์ พระสนม 9 พระองค์ และพระราชโอรสธิดามากกว่า 80 พระองค์ (ซึ่ง 51 พระองค์ระบุไว้ที่นี่) อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ในปัจจุบันยังคงเป็นที่สงสัยและถกเถียงกันว่าตัวเลขเหล่านี้เป็นจำนวนที่ระบุไว้ตามความเป็นจริงหรือไม่[16]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ July 30, 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
  3. 3.0 3.1 3.2 Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko (the Oriental Library), Issues 32-34. Toyo Bunko. 1974. p. 63. สืบค้นเมื่อ July 30, 2019.
  4. "景行天皇 (12)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ July 31, 2019.
  5. Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 11, 34–36.
  6. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 33.
  7. Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. University of California Press. pp. 248, 261–262. ISBN 9780520034600.
  8. 8.0 8.1 Brinkley, Frank, Dairoku, Kikuchi (1915). A History of the Japanese People: From the Earliest Times to the End of the Meiji Era. Encyclopaedia Britannica Company. p. 85. สืบค้นเมื่อ July 30, 2019. emperor keiko children.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 2. The Japan Society London. p. 109 & 188–214. ISBN 9780524053478.
  10. 10.0 10.1 Ponsonby-Fane, Richard (1953). Studies in Shinto and Shrines. Ponsonby-Fane Society Publications. pp. 419, 433–435.
  11. Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ May 28, 2019.
  12. Brinkley, Frank (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the end of the Meiji Era. Encyclopaedia Britannica Company. p. 21. Posthumous names for the earthly Mikados were invented in the reign of Emperor Kanmu (782–805), i.e., after the date of the compilation of the Records and the Chronicles.
  13. Japan Review: Bulletin of the International Research Center for Japanese Studies, Issue 1. International Research Center for Japanese Studies. 1990. p. 37. สืบค้นเมื่อ July 30, 2019.
  14.  Brinkley, Francis (1911). "Japan/09 Domestic History" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 15 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 252–273, see page 253.
  15. The New Werner Twentieth Century Edition of the Encyclopaedia Britannica: Volume 13. Werner Company. 1906. p. 591. สืบค้นเมื่อ July 30, 2019.
  16. Hosokawa, Bill (1997). Old Man Thunder: Father of the Bullet Train. Sogo Way. p. 9. ISBN 9780965958004. สืบค้นเมื่อ July 30, 2019.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า จักรพรรดิเคโก ถัดไป
จักรพรรดิซูอินิง
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(ค.ศ. 70 - ค.ศ. 130)
จักรพรรดิเซมุ