จักรพรรดิไทโช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิไทโช
Emperor Taishō(cropped).jpg
จักรพรรดิญี่ปุ่น
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469
พิธีราชาภิเษก10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458
พระราชวังหลวงเกียวโต
พระนามหลังสิ้นพระชนม์จักรพรรดิไทโช (大正天皇)
ถวายเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2470
รัชกาลก่อนหน้าจักรพรรดิเมจิ
รัชกาลถัดไปจักรพรรดิโชวะ

ประสูติพระราชวังโทงู อากาซากะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พระบรมนามาภิไธยโยชิฮิโตะ (嘉仁)
สวรรคตพระตำหนักฮายามะ ฮายามะ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิเมจิ
พระราชมารดาพระสนมนารูโกะ
พระสนมซะดะโกะ คุโจ ต่อมาคือจักรพรรดินีเทเม
อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2443
ลายพระอภิไธย

จักรพรรดิไทโช (ญี่ปุ่น: 大正天皇โรมาจิTaishō-tennō, 31 สิงหาคม ค.ศ. 1879 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 1926) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่ 123 และเป็นพระองค์ที่ 2 ที่ปกครองจักรวรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิไทโชมีพระนามจริงว่า โยชิฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 嘉仁โรมาจิYoshihito)

พระราชประวัติ[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิไทโชมีพระนามจริงว่า เจ้าชายโยชิฮิโตะ เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังอโอยามะ กรุงโตเกียว เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิเมจิ ที่ประสูติแต่พระสนมนารูโกะ เนื่องจากเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียว ทำให้พระองค์ได้รับการอภิบาลจากจักรพรรดินีโชเก็ง พระอัครมเหสี ภายหลังประสูติได้ 6 วัน ทรงได้รับราชทินนามเป็น ฮารุโนะมิยะ (明宮) เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2422 เจ้าฮารุมีพระวรกายอ่อนแอมาตั้งแต่ประสูติ ด้วยสาเหตุทางพันธุกรรมจากพระราชบิดา ก่อนหน้าที่พระองค์จะประสูติ พระเชษฐาและพระเชษฐภคินีของพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนถึง 4 พระองค์ โดย 2 พระองค์แท้งในครรภ์และ 2 พระองค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทารก

จักรพรรดิเมจิและจักรพรรดินีโชเก็งและมกุฎราชกุมารโยชิฮิโตะ พร้อมด้วยเหล่าพระสนม ที่สวนอะซุกะยะมะ

เมื่อพระองค์พระชนมายุได้ 5 พรรษา พระองค์ต้องประทับอยู่ที่พระราชวังอะโอะยะมะอย่างสันโดษกับเหล่าข้าราชบริพาร ในแต่ละวันพระองค์ทรงเรียนหนังสือในวิชา การอ่านเขียน, คณิตศาสตร์ และศีลธรรมในช่วงเช้า และกีฬาในช่วงบ่าย แต่พัฒนาการของพระองค์ดำเนินอย่างช้ามาก เนื่องจากพระพลานามัยที่ไม่แข็งแรงและประชวรบ่อย ในปี พ.ศ. 2429 พระองค์เข้ารับการเรียนการสอนร่วมกับเพื่อนร่วมห้องราว 15-20 คนที่ถูกคัดสรรมาจากบรรดาบุตรหลานของเจ้านายชั้นอนุวงศ์และขุนนาง

พระองค์ได้รับประกาศเป็นรัชทายาทเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2430 ในวันคล้ายวันพระประสูติครบ 8 ปีของพระองค์ โดยทรงรับการสถาปนาขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430

ชีวิตส่วนพระองค์[แก้]

เจ้าชายโยชิฮิโตะ อภิเษกสมรสกับซาดาโกะ คูโจ ต่อมาภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินีเทเม ซึ่งเป็นพระธิดาในมิชิทะกะ คุโจ ซึ่งเป็นคนจากวงศ์ตระกูลฟุจิวะระ มีพระโอรสธิดาทั้งหมด 4 พระองค์

พระราชบุตร[แก้]

พระนาม ประสูติ อภิเษกสมรส พระบุตร
จักรพรรดิโชวะ 29 เมษายน พ.ศ. 2444
สวรรคต 7 มกราคม 2532
26 มกราคม พ.ศ. 2467 จักรพรรดินีโคจุง ชิเงโกะ ฮิงาชิกูนิ
เจ้าหญิงซาจิโกะ ฮิซะโนะมิยะ
คาซูโกะ ทากัตสึกาซะ
อัตสึโกะ อิเกดะ
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ
เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนมิยะ
ทากาโกะ ชิมาซุ
เจ้าชายยาซูฮิโตะ ชิจิบุโนะมิยะ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2445
สิ้นพระชนม์ 4 มกราคม 2496
28 กันยายน พ.ศ. 2471 เซ็ตสึโกะ มัตสึไดระ
เจ้าชายโนบูฮิโตะ ทากามัตสึโนะมิยะ 3 มกราคม พ.ศ. 2448
สิ้นพระชนม์ 3 กุมภาพันธ์ 2530
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 คิกูโกะ โทกูงาวะ
เจ้าชายทากาฮิโตะ มิกาซะโนะมิยะ 2 พ.ศ. 2458
สิ้นพระชนม์ 27 ตุลาคม 2559
22 ตุลาคม พ.ศ. 2484 ยูริโกะ ทากางิ ยาซูโกะ โคโนเอะ
เจ้าชายโทโมฮิโตะแห่งมิกาซะ
เจ้าชายโยชิฮิโตะ คัตสึระโนะมิยะ
มาซาโกะ เซ็ง
เจ้าชายโนริฮิโตะ ทากามาโดโนมิยะ

สวรรคต[แก้]

ต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2469 มีประกาศว่าจักรพรรดิไทโชประชวรด้วยอาการพระปับผาสะบวม และสวรรคตลงด้วยอาการพระหทัยวาย ในเวลา 01.25 น. ของวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469 ที่พระราชวังฮะยะมะ จังหวัดคะนะกะวะ พระองค์ได้รับการขนานนามว่า จักรพรรดิองค์แรกแห่งโตเกียว[1]

พระราชอิสริยยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระจักรพรรดิโยชิฮิโตะ
Flag of the Japanese Emperor.svg
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลเท็นโนเฮกะ (天皇陛下)
การขานรับเฮกะ
  • 31 สิงหาคม 1879 – 6 กันยายน 1879: เจ้าชายโยชิฮิโตะ
  • 6 กันยายน 1879 – 3 พฤศจิกายน 1888: เจ้าชายโยชิฮิโตะ เจ้าฮะรุ
  • 3 พฤศจิกายน 1888 – 30 กรกฎาคม 1912: มกุฏราชกุมารโยชิฮิโตะ
  • 30 กรกฎาคม 1912 – 25 ธันวาคม 1926: สมเด็จพระจักรพรรดิ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Seidensticker, Edward. (1990). Tokyo Rising, p. 18.
ก่อนหน้า จักรพรรดิไทโช ถัดไป
จักรพรรดิเมจิ 2leftarrow.png Flag of the Japanese Emperor.svg
จักรพรรดิญี่ปุ่น
(พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2469)
2rightarrow.png จักรพรรดิโชวะ
เจ้าชายมุสึฮิโตะ
ภายหลังคือ จักรพรรดิเมจิ
2leftarrow.png Japan Koutaisi(son) Flag.svg
มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น
(พ.ศ. 2403 - พ.ศ. 2455)
2rightarrow.png เจ้าชายฮิโระฮิโตะ
ภายหลังคือ จักรพรรดิโชวะ