สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระสันตะปาปา

ฟรานซิส

Francis
บิชอปเเห่งกรุงโรม
สมณนามFranciscus (ละติน)
เริ่มวาระ13 มีนาคม ค.ศ. 2013
องค์ก่อนสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระนามเดิมฮอร์เฮ มาริโอ เบร์โกกลิโอ
ประสูติ (1936-12-17) 17 ธันวาคม ค.ศ. 1936 (87 ปี)
บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
ข้อมูลอื่น
บวชเมื่อ13 ธันวาคม ค.ศ. 1969
พระอภิไธยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส's signature

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส[1][ก] (อังกฤษ: Francis; ละติน: Franciscus; อิตาลี: Francesco; สเปน: Francisco; พระนามเดิม ฮอร์เฮ มาริโอ เบร์โกกลิโอ[a][ข]; ประสูติ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1936) เป็นประมุขแห่งพระศาสนจักรคาทอลิกและประมุขแห่งนครรัฐวาติกันตั้งแต่ ค.ศ. 2013 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากคณะเยสุอิต เป็นพระองค์แรกที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ เป็นพระองค์แรกที่มาจากซีกโลกใต้ และเป็นพระองค์แรกที่มาจากนอกทวีปยุโรป ตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3 ซึ่งเป็นชาวซีเรีย ผู้ซึ่งครองราชย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 8

เมื่อทรงพระเยาว์[แก้]

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสประสูติในกรุงบัวโนสไอเรส เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ทรงมีพี่น้อง 5 คน พระชนกเป็นคนงานทางรถไฟ[2] พระองค์ทรงได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส และทรงเข้าศึกษาที่เซมินารีในย่านบียาเดโบโต พระองค์ได้เป็นปฏิญาณตนเป็นนักบวชคณะเยสุอิตเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2501 และทรงได้รับใบรับรองด้านสาขาวิชาปรัชญา จาก Colegio Máximo San José ต่อมาพระองค์ได้ทรงงานสอนวิชาวรรณกรรมและจิตวิทยาที่ Colegio de la Inmaculada และ Colegio del Salvador

ในปี พ.ศ. 2510 ทรงจบการศึกษา แล้วรับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ทรงทำงานสอนที่มหาวิทยาลัย Facultades de Filosofía y Teología de San Miguel จนดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางเทววิทยา

ช่วง พ.ศ. 2516 - 2522 ทรงดำรงตำแหน่งอธิการเจ้าคณะแขวงคณะเยสุอิตในประเทศอาร์เจนตินา แล้วย้ายไปเป็นอธิการเซมินารีซานมีเกลจนถึงปี พ.ศ. 2529

สมณศักดิ์[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ตราประจำพระองค์
การทูลฮิส โฮลิเนส (ฝ่าพระบาท)
การขานรับยัวร์ โฮลิเนส (เกล้ากระหม่อม พะย่ะค่ะ/เพคะ)

บาทหลวงฮอร์เฮ เบร์โกกลิโอ ได้รับการอภิเษกเป็นมุขนายกผู้ช่วยแห่งบัวโนสไอเรสและมุขนายกเกียรตินามแห่งเอากา (Auca) และได้สืบตำแหน่งเป็นอาร์ชบิชอปแห่งบัวโนสไอเรสแทนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในหลายหน่วยงานในสภาปกครองโรมัน ได้แก่

การดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา[แก้]

เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงสละตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และได้เปิดทางให้มีการเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่ จึงได้มีการจัดการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปา โดยกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 หลังจากการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 5 โดยพระคาร์ดินัลผู้มีสิทธิ์ออกเสียงจำนวน 115 ท่าน ผลปรากฏว่าพระคาร์ดินัลฮอร์เฮ เบร์โกกลิโอ อาร์ชบิชอปแห่งบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้รับเลือก และทรงเลือกพระนาม "Franciscus" ซึ่งหมายถึงนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี[3][4][5] นับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากทวีปอเมริกาและคณะเยสุอิต[6]

ในวันที่ทรงได้รับเลือกตั้ง สันตะสำนักประกาศว่าพระนามอย่างเป็นทางการของพระองค์คือ "ฟรานซิส" ไม่ใช่ "ฟรานซิสที่ 1" พระองค์จะมีพระนามว่าฟรานซิสที่ 1 ก็ต่อเมื่อในอนาคตมีสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสที่ 2[7]

การเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ[แก้]

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 11 อาคารรวมจิตเพียรธรรม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย นำโดยพระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกประเทศไทย และอาร์ชบิชอปพอล ชาง อิน-นัม เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย ได้ออกแถลงการ เรื่องสมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส จะเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของรัฐบาลไทย ในโอกาสฉลอง 350 ปี มิสซังสยาม[8]

สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส เสด็จถึง ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 เวลา 12.30 น. ด้วยสายการบินอาลีตาเลีย (สายการบินประจำชาติอิตาลี) ได้รับการต้อนรับจากคณะพระสังฆราชทั้ง 11 สังฆมณฑล ทรงทำภารกิจหลายประการในประเทศไทย อาทิ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 เสด็จฯ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีพระที่นั่งอัมพรสถาน เสด็จฯ เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมิสซาสนามกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น[9] จนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 เสด็จออกจากประเทศไทย ด้วยสายการบินไทย เพื่อเสด็จต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น[10]

เชิงอรรถ[แก้]

หมายเหตุ

ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยนิยมสะกดว่า ฟรังซิส[11]

ออกเสียงตามตัวอักษรแบบภาษาสเปนในลาตินอเมริกา : [ˈxoɾxe ˈmaɾjo βeɾˈɣoɣljo] ฮอร์เฮ มาริโอ เบร์โกกลิโอ, ออกเสียงดั้งเดิมแบบภาษาอิตาลี: [ˈdʒɔrdʒe ˈmarjo bɛrˈgɔʎːo] จอร์เจ มารีโอ แบร์กอลโย

  1. สเปน: Jorge Mario Bergoglio
อ้างอิง
  1. "ในหลวง-ราชินี มีพระราชสาส์นยินดี'สันตะปาปา'องค์ใหม่". ไทยรัฐ. 15 มีนาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Pope Francis: the humble pontiff with practical approach to poverty". เดอะการ์เดียน. 13 March 2013. สืบค้นเมื่อ 21 August 2018.
  3. Michael Martinez, CNN Vatican analyst: Pope Francis' name choice 'precedent shattering', CNN (13 March 2013). Retrieved 13 March 2013.
  4. David Batty. "Pope named after Francis of Assisi heralded by gull atop Sistine chimney | World news". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2013-03-13.
  5. "Argentina's Bergoglio becomes Pope Francis – This Just In - CNN.com Blogs". News.blogs.cnn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 2013-03-14.
  6. "New pope chosen: Argentine Jorge Mario Bergoglio who becomes Pope Francis". CTV News. 13 March 2013. สืบค้นเมื่อ 21 August 2018.
  7. Emily Alpert, Vatican: It's Pope Francis, not Pope Francis I, Los Angeles Times (13 March 2013). Retrieved 13 March 2013.
  8. https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_1668930
  9. "โป๊ปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชมีพระราชดำรัส 'โรมันคาทอลิก-พุทธจักรไทย' แน่นแฟ้นงดงาม". ไทยโพสต์. 21 พ.ย. 2562. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. https://www.bbc.com/thai/thailand-50527501
  11. "องค์ที่ 266 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส". หอจดหมายเหตุ มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ. 2 November 2015. สืบค้นเมื่อ 21 August 2018.


ก่อนหน้า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ถัดไป
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
พระสันตะปาปา
(พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง