จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ
จักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ | |
---|---|
พระสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ | |
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 118 | |
ครองราชย์ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2313 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2322 | |
พิธีขึ้น | 29 มกราคม พ.ศ. 2314 พระราชวังหลวงเคียวโตะ |
รัชศก | เมวะ (Meiwa) |
ก่อนหน้า | โกะ-ซะกุระมะชิ (พระปิตุจฉา) |
ถัดไป | โคกากุ (พระราชบุตรบุญธรรมและพระราชบุตรเขย) |
พระบรมนามาภิไธย | ฮิเดฮิโตะ (英仁) |
พระราชสมภพ | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2301 พระราชวังหลวงเฮอัง |
สวรรคต | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2322 พระราชวังหลวงเฮอัง |
สุสานหลวง | สึกิ โนะ วะ โนะ มิซะซะงิ (เกียวโต) |
พิธีฉลองการเจริญวัย | 19 กันยายน พ.ศ. 2311 |
พระราชบิดา | จักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ |
พระสนม | โคะโนะเอะ โคะเระโกะ |
จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ (ญี่ปุ่น: 後桃園天皇, 5 สิงหาคม 1758–16 ธันวาคม 1779) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 118 ของญี่ปุ่น ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์[1][2] พระองค์ได้รับการตั้งพระนามตามพระราชบิดาของพระองค์คือจักรพรรดิโมโมโซโนะ โดยพระนามของพระองค์นำมาจากพระนามของ จักรพรรดิโมโมโซโนะ จักรพรรดิองค์ที่ 117 ผู้เป็นพระราชบิดาเมื่อใส่คำว่า โกะ (後) ที่แปลว่า ที่สอง หรือ ยุคหลัง เข้าไปในพระนามทำให้พระนามของพระองค์มีความหมายว่า จักรพรรดิโมโมโซโนะที่สอง หรือ จักรพรรดิโมโมโซโนะยุคหลัง
เจ้าชายฮิเดฮิโตะขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิในปี 1771 แต่ครองราชย์ได้ไม่นานก็สวรรคตในปี 1779[3] เหตุการณ์ในรัชสมัยของพระองค์ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้งที่เกิดขึ้นในปี 1772 นอกจากนั้น สถานการณ์ทางการเมืองกับโชกุนยังเงียบสงบ ในปลายรัชสมัย จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะต้องเผชิญกับปัญหาการสืบราชบัลลังก์เนื่องจากจักรพรรดิไม่มีผู้สืบทอดที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงรีบรับเอาเจ้าชายคาเนฮิโตะ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นโมโรฮิโตะ) มาเป็นพระราชโอรสบุญธรรมซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป
พงศาวลี
[แก้]พระองค์เป็นโอรสของจักรพรรดิโมโมโซโนะกับนางสนองพระโอษฐ์ ก่อนขึ้นเป็นจักรพรรดิ พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายฮิเดฮิโตะ (英仁親王)
- นางใน : โคโนเอะ โคเรโกะ (近衛維子)
- พระราชธิดาองค์ที่ 1 (第一皇子) : เจ้าหญิงโยชิโกะ (欣子内親王) ต่อมาคือจักรพรรดินีในจักรพรรดิโคกะกุหรือต่อมาคือ ชินเซวะอิง (新清和院)
- พระราชโอรสบุญธรรม (養子)
- เจ้าชายโมโรฮิโตะ (師仁親王) (ต่อมาคือจักรพรรดิโคกากุโอรสองค์ที่ 6 ของ เจ้าชายซุเกะฮิโตะ เจ้าคันอิน)
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ
[แก้]พระราชประวัติ
[แก้]ก่อนที่จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะจะสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายฮิเดฮิโตะ (英仁親王)[4][5] เจ้าชายฮิเดฮิโตะประสูติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1758 และเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของจักรพรรดิโมโมโซโนะ[6] หลังจากที่พระราชบิดาของพระองค์สวรรคตในปี 1762 ตำแหน่งจักรพรรดิก็ตกเป็นของพระปิตุจฉา (ป้า) ซึ่งเป็นที่รู้จักในพระนามจักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ เจ้าชายฮิเดฮิโตะยังเยาว์เกินไปที่จะเป็นจักรพรรดิในขณะนั้น แต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาทในอีก 5 ปีต่อมา[2] จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ สละราชบัลลังก์ให้กับพระนัดดาในวันที่ 9 มกราคม 1771 และเจ้าชายฮิเดฮิโตะก็สืบราชบัลลังก์ในทันที[6]
ในฐานะจักรพรรดิ
[แก้]เพียงปีเศษหลังจากจักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะเสด็จขึ้นครองราชย์ ญี่ปุ่นก็เผชิญกับ "เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ปีเมวะ" เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 1772 มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า พบพื้นที่ปกคลุมไปด้วยเถ้าถ่านและขี้เถ้า กว้างประมาณ 8 กิโลเมตร ยาวประมาณ 15 ไมล์ (24 กิโลเมตร) ทำลายวัดวาอารามและศาลเจ้า 178 แห่ง บ้านขุนนางไดเมียว 127 หลัง บ้านเรือนราษฎร 878 หลัง บ้านข้าราชสำนัก 8705 หลัง ร้านค้า 628 แถว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 6,000 คน ผลพวงจากความพินาศครั้งนี้คือภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลในการฟื้นฟู[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 後桃園天皇 (118)
- ↑ 2.0 2.1 Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 120.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 419–420.
- ↑ Ponsonby-Fane, p. 10
- ↑ Titsingh, p. 419.
- ↑ 6.0 6.1 Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 186.
- ↑ Hall, John. (1955). Tanuma Okitsugu, p. 120.