จักรพรรดิโอจิง
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จักรพรรดิโอจิง | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ครองราชย์ 3 มิถุนายน ค.ศ. 269 – 31 มีนาคม ค.ศ. 310 (ธรรมเนียม)[1] | |
ทรงราชย์ | 3 มิถุนายน ค.ศ. 269 |
พิธีราชาภิเษก | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 นะระ |
รัชกาลก่อนหน้า | จิงงู (โดยพฤตินัย)[a] ชูไอ (ธรรมเนียม) |
รัชกาลถัดไป | นินโตะกุ |
ประสูติ | 5 มกราคม ค.ศ. 201[2] อุมิ ฟุกุโอะกะ |
สวรรคต | 31 มีนาคม ค.ศ. 310 นะระ |
พระราชบิดา | จักรพรรดิชูไอ |
พระราชมารดา | จักรพรรดินีจิงงุ |
จักรพรรดินี (โคโง) | นะกะสึฮิเมะ |
ช่วงเวลา | ![]() |
จักรพรรดิโอจิง (ญี่ปุ่น: 応神天皇) เป็นจักรพรรดิในตำนานองค์ที่ 15 ของญี่ปุ่นตามแบบแผนสืบราชสันตติวงศ์[3][4]
ไม่สามารถกำหนดวันที่แน่นอนให้กับพระราชประวัติหรือรัชสมัยของจักรพรรดิโอจิงได้ แต่นักประวัติศาสตร์ถือว่าพระองค์ครองสิริราชสมบัติตั้งแต่ปี ค.ศ. 270 ถึงปี ค.ศ. 310[5] ตาม ศาสนาชินโต และ ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น จักรพรรดิโอจิงเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของ เทพเจ้าฮาจิมัง
พระราชประวัติ[แก้]
จักรพรรดิโอจิงประสูติเมื่อวันที่ 14 เดือน 12 ปีชูไอที่ 9 ตรงกับวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 201 (พ.ศ. 744) เป็นพระราชโอรสองค์เดียวใน จักรพรรดิชูไอ จักรพรรดิองค์ที่ 14 ที่ประสูติแต่ จักรพรรดินีจิงงุ
ขึ้นสืบราชบัลลังก์[แก้]
เมื่อจักรพรรดิชูไอผู้เป็นพระราชบิดาเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 201 (พ.ศ. 744) จักรพรรดินีจิงงุผู้เป็นพระราชมารดาจึงขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเนื่องจากจักรพรรดิโอจิงยังไม่ประสูติ
จนกระทั่งจักรพรรดินีจิงงุสิ้นพระชนม์ในวันที่ 17 เดือน 4 ปีจิงงุที่ 69 ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 269 (พ.ศ. 812)
บรรณานุกรม[แก้]
- ↑ Jingū's reign as Empress is now confined to legends rather than fact. Modern historians have labeled her as an "Empress regent", who was the de facto ruler until Homutawake (Ōjin) became emperor.
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ December 30, 2019.
- ↑ Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
- ↑ "応神天皇 (15)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 6, 2020.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 19–22, 34–36.
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. 36.