จักรพรรดิมูรากามิ
จักรพรรดิมูรากามิ 村上天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 946 – 5 กรกฎาคม ค.ศ. 967 | ||||
ราชาภิเษก | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 946 | ||||
ก่อนหน้า | ซูซากุ | ||||
ถัดไป | เรเซ | ||||
ประสูติ | 14 กรกฎาคม ค.ศ. 924 เฮอังเกียว (เกียวโต) | ||||
สวรรคต | 5 กรกฎาคม ค.ศ. 967 เซเรียวเด็งแห่งเฮอังเกียว | (42 ปี)||||
ฝังพระศพ | มูรากามิ โนะ มิซาซางิ (村上陵; เกียวโต) | ||||
คู่อภิเษก | ฟูจิวาระ โนะ อันชิ | ||||
พระราชบุตร และพระองค์อื่น... | |||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิไดโงะ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ อนชิ |
จักรพรรดิมูรากามิ ( ญี่ปุ่น: 村上天皇; โรมาจิ: Murakami-tennō; 14 กรกฎาคม ค.ศ. 924 – 5 กรกฎาคม ค.ศ. 967) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 62[1]ตามที่ได้บันทึกไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]
รัชสมัยของมูรากามิอยู่ในช่วง ค.ศ. 946 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 967[3]
พระราชประวัติ
[แก้]ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ มูรากามิมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) ว่า นาริอากิระ-ชินโน (ญี่ปุ่น: 成明親王; โรมาจิ: Nariakira-shinnō) [4]
นาริอากิระ-ชินโนเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ใน จักรพรรดิไดโงะ และเป็นพระราชอนุชาต่างพระราชมารดาของจักรพรรดิซูซากุ[5]
มูรากามิมีจักรพรรดินีรวม 10 พระองค์ และพระราชโอรสธิดารวม 19 พระองค์[6]
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิมูรากามิ
[แก้]ใน ค.ศ. 944 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารและขึ้นครองราชย์ในสองปีต่อมา
- 16 พฤษภาคม ค.ศ. 946 (ปีเท็งเงียวที่ 9, วันที่ 13 เดือน 4): ในที่ 16 ในรัชสมัยจักรพรรดิซูซากุ (朱雀天皇十六年) พระองค์สละราชบัลลังก์ให้กับนาริอากิระ-ชินโน พระราชอนุชา[7]
- 31 พฤษภาคม ค.ศ. 946 (ปีเท็งเงียวที่ 9, วันที่ 28 เดือน 4): หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิมูรากามิขึ้นสืบราชบัลลังก์ด้วยพระชนมพรรษา 21 พรรษา[8]
ในช่วง ค.ศ. 946 - 949 พระมาตุลา (ลุง) ของพระองค์คือ ฟูจิวาระ โนะ ทาดาฮิระ ได้กลับมาเป็นเซ็สโซอีกครั้งหลังเคยดำรงตำแหน่งนี้มาแล้วในรัชสมัยจักรพรรดิซูซากุ หลังการอสัญกรรมของทาดาฮิระเมื่อ ค.ศ. 949 จักรพรรดิมูรากามิทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฟูจิวาระได้แผ่อำนาจและปกครองประเทศโดยมีสองพี่น้องคือ ฟูจิวาระ โนะ ซาเนโยริ และ ฟูจิวาระ โนะ โมโรซูเกะ บุตรชายทั้งสองของทาดาฮิระเป็นผู้ปกครองประเทศโดยพฤตินัย
- 23 ตุลาคม ค.ศ. 949 (ปีเท็นเรียกุที่ 3, วันที่ 29 เดือน 9): อดีตจักรพรรดิโยเซสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 82 พรรษา[9]
- ค.ศ. 951 (ปีเท็นเรียกุที่ 5): องค์จักรพรรดิทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้รวบรวมโกเซ็งวากาชู; ผลงานนี้ดำเนินการโดยนาชิตสึโบะ โนะ โกนิงในพระบรมราชูปถัมภ์
- 6 กันยายน ค.ศ. 952 (ปีเท็นเรียกุที่ 6, วันที่ 15 เดือน 8): อดีตจักรพรรดิซูซากุสวรรคตเมื่อพระชนมายุเพียง 30 พรรษา[10]
- 16 ตุลาคม ค.ศ. 960 (ปีเท็นโกกุที่ 4, วันที่ 23 เดือน 9): พระราชวังหลวงถูกเพลิงไหม้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ย้ายเมืองหลวงจากนาระไปยังเฮอังเกียวใน ค.ศ. 794[11]
พระองค์มีพระปรีชาสามารถในการเล่นเครื่องดนตรีโบราณของญี่ปุ่นประเภทดีดที่เรียกว่า เค็งโจ
- 5 กรกฎาคม ค.ศ. 967 (ปีโคโฮที่ 4, วันที่ 25 เดือน 5): อดีตจักรพรรดิมูรากามิสวรรคตเมื่อพระชนมายุเพียง 42 พรรษา[11]
รัชสมัยของมูรากามิ
[แก้]ปีในรัชสมัยของมูรากามิมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือเน็งโง[12]
- เท็งเงียว (938–947)
- เท็นเรียกุ (947–957)
- เท็นโตกุ (957–961)
- โอวะ (961–964)
- โคโฮ (964–968)
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิมูรากามิ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 村上天皇 (62)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 70–71.
- ↑ Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 295–298; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 183–190; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 139–142., p. 139, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Titsingh, p. 139; Varley, p. 183; Brown, p. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Varley, p. 183.
- ↑ Brown, p. 28.
- ↑ Brown, p. 295; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Toba II, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
- ↑ Titsingh, p. 139; Varley, p. 44.
- ↑ Brown, p. 296.
- ↑ Brown, pp. 296–297.
- ↑ 11.0 11.1 Brown, p. 297.
- ↑ Titsingh, p. 139.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 14 February 2018.
ข้อมูล
[แก้]- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). (Jien, c. 1220), Gukanshō (The Future and the Past, a translation and study of the Gukanshō, an interpretative history of Japan written in 1219). Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-03460-0
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac, ed. (1834). (Siyun-sai Rin-siyo/Hayashi Gahō, 1652), Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland.
- Varley, H. Paul , ed. (1980). (Kitabatake Chikafusa, 1359), Jinnō Shōtōki ("A Chronicle of Gods and Sovereigns: Jinnō Shōtōki of Kitabatake Chikafusa" translated by H. Paul Varley). New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-04940-4